เศรษฐกิจ

“หนี้กำลังจะเสียพุ่ง” ผู้จัดการเครดิตบูโรชี้ ไทยอยู่ในสภาพ “ภูเขาหนี้”

โดย paweena_c

20 ก.ย. 2567

277 views

ภูเขาหนี้!  ผู้จัดการใหญ่เครดิตบูโร ชี้หนี้กำลังจะเสียพุ่ง เดือนเดียวๅ1.7 แสนล้าน  เชื่อเข้มการปล่อยกู้ถึงสิ้นปี ชี้สินเชื่อเพิ่มทุกประเภท

นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือเครดิตบูโร โพสต์ข้อความเกี่ยวกับสถานการณ์หนี้เสียครัวเรือน ว่าสถานการณ์น่าเป็นห่วง และเรากำลังอยู่ในสภาพภูเขาหนี้ รวมถึงหนี้กำลังจะเสียพุ่งขึ้นเดือนเดียว 1.7 แสนล้านบาท และเชื่อว่าสถาบันการเงินจะมีมาตรการที่เข้มข้นขึ้นสำหรับการปล่อยกู้

ผมขอนำเรียนข้อมูล ล่าสุดเดือนกรกฎาคม 2567 จากฐานข้อมูล สถิติที่ไม่มีตัวตน (no privacy) หรือเดือนที่เจ็ดของปีที่บรรดาลูกหนี้ยังอยู่ในสภาพมีหลุมรายได้และภูเขาหนี้ดังนี้ครับ

1. ตัวเลขหนี้ครัวเรือนในฐานข้อมูล สถิติ เครดิตบูโร เท่ากับ 13.6 ล้านล้านบาทแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดือนมิถุนายน 2567 เลย ที่พอจะเพิ่มได้บ้างคือ Nano finance +4.7% เทียบเดือนต่อเดือน

2. NPL (หนี้เสีย) ขยับเพิ่มจาก 1.16 ล้านล้านบาทมาเป็น 1.19 ล้านล้านบาท คิดเป็น 8.7% ของหนี้รวม อันนี้เคยประมาณการณ์ว่าคงจะไปถึง 1.2 ล้านล้านบาทไม่ช้าไม่นาน กล่าวคือไหลต่อแต่คงไม่ไหลบ่าแบบน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำโคลนถึงหลังคา

3. SM (หนี้กำลังจะเสีย) ครับเที่ยวนี้ที่น่าสนใจ กล่าวคือ มิถุนายน 2567 ปรับลดลงมาจากไตรมาสก่อนอย่างมากจนเหลือ 5 แสนล้านบาท แต่ผ่านไป 1เดือน เข้าเดือนกรกฎา คมมันกลับกระโดดมาเป็น 6.7 แสนล้านบาทครับ เพิ่ม 1.7 แสนล้านบาท

สินเชื่อบ้านเพิ่มจาก 1.43 แสนล้านบาทเป็น 1.69 แสนล้านบาทโตขึ้น 18% สินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มจาก 8.5 หมื่นล้านบาทเป็น 1.13 แสนล้านบาทโตขึ้น 33% สินเชื่อธุรกิจที่คนตัวเล็กตัวน้อยกู้ จาก 2.6 หมื่นล้านบาทมาเป็น 4.4 หมื่นล้านบาท โตขึ้น 69% สินเชื่อรถยนต์, บัตรเครดิตนิ่ง ๆ กับลดลง

สงครามการสู้รบระหว่างหนี้ปกติไหลมาเป็นหนี้กำลังจะเสีย หนี้กล่าวถึงเป็นพิเศษ หรือหนี้ SM โดยมีอาวุธคือการปรับโครงสร้างหนี้เชิงป้องกัน Preemptive Debt Restructure หรือที่เรียกว่า DR. ภายใต้มาตรการการให้กู้อย่างมีความรับผิดชอบหรือ RL มีความเข้มข้นมาก ในเวลานี้ และจะเพิ่มมากขึ้นแน่ๆจนถึงสิ้นปีแน่นอน

แต่เอ๊ะ.. ตัวเลขของหนี้เรื้อรัง, หนี้เรื้อรังรุนแรง ที่เข้ามาตรการช่วยเหลืออันเป็นเรือธงของการสู้รบตอนนี้ไปได้เท่าไหร่แล้วอ่ะ เพราะ Ploan แบบหมุนเวียนของลูกหนี้รายได้น้อยที่มีลักษณะ จ่ายดอกสะสมมาในอดีตที่มากกว่าจ่ายเข้าต้นนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของ Ploan ที่มีการไหลมาเป็น SM เพิ่มอย่างมีนัย สำคัญ ในเดือนเจ็ดนี้

คุณอาจสนใจ

Related News