เศรษฐกิจ
ไปต่อหรือพอแค่นี้ 'Temu' แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซใหม่จากจีน สินค้าไทยจะสู้ได้หรือไม่
โดย paweena_c
14 ส.ค. 2567
85 views
วิเคราะห์ Temu ไปต่อหรือพอแค่นี้ เมื่อแพลตฟอร์ม E-Commerce ใหม่จากจีนบุกตีตลาด สินค้าไทยจะสู้ได้หรือไม่
ตามบทวิเคราะห์ของทาง 'Money Chat' โดยคุณเนาวรัตน์ เจริญประทิน และรศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจนะหว่างประเทศและอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงการเคลื่อนย้ายของทุนจีนเบื้องต้นว่า มันไม่สามารถวิเคราะห์ได้แม่นยำมากนัก ด้วยอาจมีอคติหากเหมารวม แต่หากดูเป็นประเภทไปก็จะเห็นภาพได้ชัดขึ้น
ถ้ามองทุนจีนเป็นวิกฤต ที่น่าห่วงก็มีหลายตัว เช่นแพลตฟอร์มทางเศรษฐกิจที่ไทยเองยังไม่มี ตอนนี้ที่จีนมีแพล็ตฟอร์มตัวหนึ่งที่ตีหลาย ๆ แพล็ตฟอร์มแตกกระจุยกระจาย ซึ่งมีการขยายไปในสหรัฐฯ และยุโรปมานานแล้วนั้น เรดาร์ตอนนี้ก็มาอยู่ที่ไทย ซึ่งแพล็ตฟอร์มนั้นก็คือ 'Pinduoduo' หรืออีกชื่อว่า 'TEMU' ที่ตีอาลีบาบา และเทนเซ็นท์ในจีนได้
แพล็ตฟอร์มของ TEMU มีโมเดลในการตัดพ่อค้าคนกลางออกไป ให้คนติดต่อผู้ผลิตโดยตรง ทำให้ภาคอุตสาหกรรมเสียเปรียบ รวมถึงสินค้าอุปโภค บริโภค และสินค้าบริการด้วย
TEMU ถือเป็นแพล็ตฟอร์มในฝัน เพราะประเด็นที่ถูกบ่นเยอะมากคือปัญหาผู้ค้าคนกลาง ที่ขายราคาต่ำ ๆ แล้วกินส่วนต่างสูง ๆ ซึ่งแพล็ตฟอร์มนี้จริง ๆ แล้วคือการตลาดแบบมัลติเลเวล (Multilevel marketing; MLM) วิธีการโฆษณาคือเก็บรวบรวมความต้องการของลูกค้า แล้วนำเอาความต้องการนั้นไปเสนอขายให้บริษัทที่ผลิตใหญ่ ๆ ให้เขาขายล็อตเยอะ ๆ และราคาถูก
คำถามคือ แล้วโมเดลที่จีนทำนี้ถือเป็นการขายเททิ้งตลาดหรือไม่ หากดูข้อมูลจากธนาคารโลก ค่าส่งออกต่อ GDP ประเทศจีนนั้นอยู่เพียงแค่ 19.94% หรือก็คือ ผลิตมา 100 ชิ้น ขายส่งออกเพียง 20 ชิ้น มันไม่ถือว่าเป็นการขายเทตลาดเลย
สิ่งที่สามารถเป็นโอกาสได้คือ หากคิดมุมกลับ ยังมีผลิตภัณอีกหลายตัวที่ไทยเรายังมีตลาดในจีน เช่น สินค้าอาหารและสินค้าเกษตร ใช้แพล็ตฟอร์มโดยไม่พึ่งพิงเขา และไม่ให้เหมาขาดสินค้า ในทางกลับกัน ให้ติดต่อผู้ประกอบการไทย โรงงานผู้ผลิตไทย โดยเราเองไม่ต้องทำตลาด แต่ใช้ 1,400 ตลาดของเขาแทน เราก็อาจจะใช้แพล็ตฟอร์มให้เป็นประโยชน์ได้
รศ.ดร.ปิติ ยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของประเทศอาเซียนในการพิจารณาความเสี่ยงและประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนของจีนอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจว่าจะร่วมมือกับจีนอย่างไร โดยให้เหตุผลว่าประเทศอาเซียนต้องพัฒนากลยุทธ์ที่ชัดเจนในการจัดการความสัมพันธ์กับจีน และเพิ่มผลประโยชน์สูงสุดจากการลงทุนของจีน ในขณะที่ลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด
ส่วนตัว รศ.ดร.ปิติ กล่าวว่า ทุนจีนคราวนี้อาจเป็นโอกาศดีสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจมาสู่ประเทศอาเซียนได้ผ่านการสร้างงาน การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
ทำให้ประเทศอาเซียนสามารถเข้าถึงตลาดจีนขนาดใหญ่ได้ ผ่านความร่วมมือทางการค้าและการลงทุน สามารถช่วยระดมทุนสำหรับโครงการภายใต้โครงสร้างพื้นฐานในประเทศอาเซียน ปรับปรุงการเชื่อมต่อและการพัฒนาเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตามก็ยังมีความเสี่ยง เช่นเรื่อง 'กับดักหนี้' เนื่องจากประเทศอาเซียนบางประเทศมีหนี้จีนจำนวนมากสำหรับโครงการโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความยั่งยืนของหนี้ รัฐวิสาหกิจของจีนอาจมีข้อได้เปรียบที่ไม่เป็นธรรมเหนือธุรกิจในท้องถิ่นในประเทศอาเซียน ส่งผลให้ตลาดบิดเบือน และอาจนำมาสู่ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ เมื่อจีนเข้ามามีบทบาทในอาเซียนมากขึ้นก็อาจนำไปสู่ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์กับมหาอำนาจอื่นๆ เช่น สหรัฐอเมริกา
แต่สำหรับประเทศไทยที่เป็นประเทศประชาธิปไตยแล้วนั้น ความน่าลงทุนของจีนที่มองมาที่ไทยจึงยิ่งสูงขึ้น ประเทศไทยสามารถค้าขายกับฝั่งไหนก็ได้ ไม่ว่าจะจีน หรือสหรัฐฯ รวมทั้งประเทศไทยยังอยู่ในกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก หรือ IPEF (Indo-Pacific Economic Framework) ที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศอื่น ๆ ที่ร่วมลงทุน และไทยเราก็มีกำลังมากพอ โดยดูจากที่ Temu ไม่ได้อยากนำสินค้าจีนไปขายต่างประเทศอย่างเดียวแน่ ๆ ทาง Temu เองก็อยากได้สินค้าจากไทยไปขายด้วยแน่นอน