เศรษฐกิจ

'พิพัฒน์' พบผู้บริหาร MUFG ศึกษากลยุทธ์การลงทุน จ่อยกระดับกองทุนประกันสังคม

โดย panwilai_c

9 เม.ย. 2567

68 views

สำนักงานประกันสังคม กำลังหาทางยกระดับการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงขึ้น ขณะเดียวกันก็เตรียมหารือกับสถาบันการเงินในประเทศ เพื่อเป็นแหล่งทุนให้แรงงานอาชีพอิสระ พัฒนาหรือต่อยอดอาชีพอิสระให้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมเลขาธิการสำนักงานประกันศึกษา เดินทางไปหาข้อมูล และศึกษากลยุทธ์การลงทุนของสถาบันการเงิน มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟ แนนเชียล กรุ๊ป ที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่ใหญ่ลำดับ 7 ของโลก



MUFG หรือสถาบันการเงินมิตซูบิชิ ยูเอฟ เจ ไฟแนเชียล กรุ๊ป ได้ชื่อว่าเป็นสถาบันการเงินมีขนาดใหญ่เป็นอันดับต้นของญี่ปุ่นและเป็นอันใหญ่อันดับ 7 ของโลก ที่มีธุรกิจทางการเงินหลากหลายทั้งธนาคาร สินเชื่อ และการลงทุนในหุ้นทั้งในและนอกญี่ปุ่น



ที่นี่คือหนึ่งใน 3 สถาบันการเงินในญี่ปุ่น ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ปลัดกระทรวงและเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม มาเพื่อหาข้อมูลและศึกษากลยุทธ์การเงินทุนของกองทุนที่นี่ เพื่อนำไปพัฒนาและต่อยอดการลงทุนของกองทุนประกันสังคมให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น



ผู้บริหารระดับสูงของ MUFG ชี้ให้เห็นการเติบโตของการลงทุน ที่มีธนาคารทั้งในยุโรป เอเชีย หรือแม้แต่ในประเทศไทย ที่บ่งชี้ว่าลงทุนอย่างเข้าใจตลาดจึงเติบโตได้



อย่างไรก็ตาม บริษัทของสังคมในประเทศก็มีส่วนสำคัญ เขาชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นเคยซบเซา เพราะคนเน้นเก็บเงินสดมากกว่าจะลงทุน รัฐจึงกระตุ้นการใช้เงินโดยลดภาษีโอนมรกให้ทายาท นโยบายส่งเสริมแรงงานสตรี หรือผู้สูงอายุ ให้ทำงานที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มรายได้ให้ประเทศ



และนอกจากเพิ่มค่าแรงแล้ว ก็ยังไม่ปลดคนงาน ทำให้เป็นส่วนหนึ่งที่เศรษฐกิจฟื้นตัวและเติบโตเร็วขึ้น



ปัจจุบัน MUFG มีเครือข่ายการลงทุนมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก พนักงานมากกว่า 1 แสน 6หมื่นคน รวมถึงธนาคารแห่งหนึ่งในประเทศไทยด้วย



รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ระบุว่าทิศทางการลงทุนของสถาบันการเงินนี้ ที่เติบโต ไปพร้อมเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่โตขึ้น จึงทำให้สำนักงานประกันสังคมมาศึกษาข้อมูลและรับฟังการวิเคราะห์ตลาดการลงทุนด้วย



ขณะที่ประสบการณ์การกระตุ้นเศรษฐกิจของญี่ปุ่นด้วยหลายวิธีรวมถึงการส่งเสริมให้ผู้หญิงที่ปกติเป็นแม่บ้านหรือทำงานบ้าน ออกมาทำงานมากขึ้นนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเห็นว่าบริบทแตกต่างจากไทยอยู่บ้างตรงที่ผู้หญิงในประเทศไทย ทำงานหนักไม่ต่างจากผู้ชาย และบางอาชีพอาจจะมีหญิงมากกว่าชายด้วยซ้ำ แต่ก็ยังผู้หญิงที่ทำอาชีพอิสระอยู่ จึงเห็นว่าควรสนับสนุนหรือมีเงินทุนให้คนทำงานอิสระได้ยกระดับอาชีพอิสระหรืองานพาร์ทไทม์ ให้มีรายได้มากขึ้น



หนึ่งในประเด็นทางสังคมที่คล้ายกันระหว่างไทยกับญี่ปุ่นคือการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ที่ขาดแคลแรงงานและต่างก็นำเข้าแรงงานชาติมาในอาชีพที่คนในประเทศทำน้อย และตัวเลขเด็กเกิดใหม่ก็ลดลงเช่นกันการเพิ่ม และพัฒนาทักษะแรงงานไว้รองรับสถานการณ์นี้จึงสำคัญไม่น้อย

คุณอาจสนใจ

Related News