อาชญากรรม

จับกุมผู้ต้องหา 17 ราย ขบวนการทุจริตสอบแข่งขันบรรจุเป็นข้าราชการตำรวจ

โดย kanyapak_w

29 มี.ค. 2566

250 views

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จับกุมขบวนการทุจริตสอบแข่งขันบรรจุเป็นข้าราชการตำรวจ



​สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร., พล.ต.ท.นิรันดร เหลื่อมศรี ผู้ช่วย ผบ.ตร., พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก., พล.ต.ต.ญาณพงศ์ โสมาภา รอง ผบช.ศ., พล.ต.ต.มนตรี เทศขัน ผบก.ป., พ.ต.อ.เอนก เตาสุภาพ รอง ผบก.ป., พ.ต.อ.บุญลือ ผดุงถิ่น รอง ผบก.ป., พ.ต.อ.ศราวุธ จันต๊ะวงศ์ ผกก.2 บก.ป. ได้สั่งการให้  เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.2 บก.ป. ดำเนินการจับกุมขบวนการทุจริตสอบแข่งขันบรรจุเป็นข้าราชการตำรวจ ​ร่วมกันจับกุม ผู้ต้องหา 17 ราย ดังนี้




​1. นายดาชัยฯ (สงวนนามสกุล) อายุ 52 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ จ.861/2566

ลงวันที่ 23 มีนาคม 2566        

​2. นายอดิศักดิ์ฯ (สงวนนามสกุล) อายุ 49 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ จ.866/2566

ลงวันที่ 23 มีนาคม 2566        

​3. นายคำสวยฯ (สงวนนามสกุล) อายุ 56 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ จ.863/2566

ลงวันที่ 23 มีนาคม 2566                  

​4. นายอนันตชัยฯ (สงวนนามสกุล) อายุ 33 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ จ.865/2566

ลงวันที่ 23 มีนาคม 2566                

​5. นายกิตติกรฯ (สงวนนามสกุล) อายุ 42 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ จ.866/2566

ลงวันที่ 23 มีนาคม 2566            

​6. นายทรงพลฯ (สงวนนามสกุล) อายุ 45 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ จ.867/2566

ลงวันที่ 23 มีนาคม 2566            

​7. นางวรรณฤดีฯ (สงวนนามสกุล) อายุ 39 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ จ.868/2566

ลงวันที่ 23 มีนาคม 2566          

​8. นายปัณณธรฯ (สงวนนามสกุล) อายุ 41 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ จ.869/2566

ลงวันที่ 23 มีนาคม 2566            

​9. นายขัตติยะฯ (สงวนนามสกุล) อายุ 44 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ จ.870/2566

ลงวันที่ 23 มีนาคม 2566          

​10. นายวีรพลฯ (สงวนนามสกุล) อายุ 46 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ จ.871/2566

ลงวันที่ 23 มีนาคม 2566          

​11. นายอานนท์ฯ (สงวนนามสกุล) อายุ 37 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ จ.872/2566

ลงวันที่ 23 มีนาคม 2566        

​12. นางสาวสรยาฯ (สงวนนามสกุล) อายุ 35 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ จ.873/2566

ลงวันที่ 23 มีนาคม 2566            

​13.นายกรันย์ธร (สงวนนามสกุล) อายุ 27 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ จ.874/2566

ลงวันที่ 23 มีนาคม 2566

14. นายศุภาษกรฯ (สงวนนามสกุล) อายุ 54 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ จ.875/2566

ลงวันที่ 23 มีนาคม 2566          

​15. นางสาวสุจิตราฯ (สงวนนามสกุล) อายุ 38 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ จ.876/2566 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2566            

​16. นางดวงเนตรฯ (สงวนนามสกุล) อายุ 61 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ จ.877/2566

ลงวันที่ 23 มีนาคม 2566              

​17. นายสุวรรณฯ (สงวนนามสกุล) อายุ 64 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ จ.878/2566

ลงวันที่ 23 มีนาคม 2566          


​ในความผิดฐาน “เป็นอั้งยี่ และร่วมกันเอาไปเสีย ทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งเอกสารใดของผู้อื่นในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน”



พฤติการณ์ สืบเนื่องจากเมื่อวันท่ี่ 29 สิงหาคม 2565 สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้อนุมัติและมอบหมาย


ให้กองบัญชาการศึกษาดำเนินการจัดสอบแข่งขันบุคคลภายนอก ผู้มีวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบเท่า เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการตำรวจชั้นประทวน พ.ศ.2565 (กลุ่มงานอำนวยการและสนับสนุน) รวมจำนวน 725 อัตรา


​ต่อมาในวันที่ 5 กันยายน 2565 กองบัญชาการศึกษา ได้มีการประกาศรับสมัครเพื่อสอบแข่งขัน         ดังกล่าว โดยกำหนดวันสอบข้อเขียนในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งในการทดสอบจะใช้วิธีสอบข้อเขียน มีข้อสอบ 4 ชุด เป็นข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 150 ข้อ 150 คะแนน  


​ต่อมาภายหลังจากการสอบข้อเขียนเสร็จสิ้นในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2565 ได้ปรากฏข่าว จากสื่อสังคมออนไลน์ว่ามีการทุจริตการสอบดังกล่าวโดยมีการเผยแพร่โพยเฉลยคำตอบผ่านทางไลน์และเฟซบุ๊ก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรววจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว



​จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวพบว่า ในจำนวนกระดาษคำตอบของผู้สอบผ่านข้อเขียน 1,160 คน มีกระดาษคำตอบของผู้สอบผ่านข้อเขียนที่น่าสงสัย จำนวน 141 คน ซึ่งไม่มีร่องรอยการขีดเขียน หรือทดเลขในกระดาษปัญหาข้อสอบแต่มีร่องรอยการฝนกระดาษคำตอบแบบลอกโพย และจากการตรวจสอบโพยเฉลย ที่เผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์ พบว่าเป็นโพยเฉลยของข้อสอบในการสอบแข่งขันครั้งนี้จริง โดยมีโพยเฉลยข้อสอบจำนวน 4 ชุด ซึ่งตรงกับปัญหาข้อสอบทั้ง 4 ชุด




​ทั้งนี้ จากการให้ผู้สอบผ่านข้อเขียน ทำแบบทดสอบอีกครั้ง ปรากฎว่ามีผู้ที่สอบผ่านข้อเขียน ทำข้อสอบดังกล่าวไม่ได้ โดยมีผู้สอบยอมรับว่าได้ทุจริตการสอบจริงและขอสละสิทธิ์จากการเป็นผู้สอบข้อเขียนได้ จำนวน 163 คน ซึ่งจากการสอบถามผู้สอบที่ทุจริตการสอบ ทำให้ทราบข้อเท็จจริงว่ามีกลุ่มบุคคลติดต่อ เสนอขายโพยเฉลยข้อสอบให้ผู้สอบ ซึ่งมีทั้งโพยเฉลยแบบตัวเลข และโพยเฉลยแบบให้จำข้อความคำตอบสั้นๆ ผู้สอบจึงได้ซื้อโพยเฉลยดังกล่าวก่อนเข้าสอบเเข่งขัน โดยโอนเงินค่าซื้อโพยเฉลยข้อสอบให้ผู้ติดต่อขาย นายหน้าเป็นทอดๆ



​ภายหลังจากทราบข้อเท็จจริงดังกล่าว กองบัญชาการศึกษา จึงมอบหมายให้ พล.ต.ต.ประเสริฐ             ศิริพรรณาภิรัตน์ รองผู้บัญชาการศึกษา/ประธานอนุกรรมการสอบข้อเขียน และ พ.ต.อ.อุเทน นุ้ยพินรองผู้บังคับการอำนวยการ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ กรรมการและเลขานุการ เข้ากล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน กก.2 บก.ป. ให้ดำเนินคดีกับกลุ่มผู้กระทำความผิดดังกล่าว




​ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดย กองบังคับการปราบปราม จึงได้ทำการสืบสวนสอบสวน จนทราบว่า การทุจริตการสอบดังกล่าว จะมีนายหน้าติดต่อไปยังผู้เข้าสอบ อ้างว่าสามารถจัดหาโพยเฉลยข้อสอบได้ โดยเรียกค่าดำเนินการรายละ 200,000 – 600,000 บาท ซึ่งจะมีรูปแบบโพยเฉลยข้อสอบ 2 แบบ คือ



1. โพยชุดตัวเลข ซึ่งมี 4 ชุด โดยโพยแต่ละชุด จะมีข้อสอบข้อที่ 20 เป็นข้อกำกับว่าเป็นชุดปัญหาข้อสอบใด ให้ใช้กับชุดเฉลยคำตอบใด ซึ่งผู้เข้าสอบจะซุกซ่อนนำโพยเฉลยข้อสอบติดตัวเข้าไปในห้องสอบ



2.โพยที่แสดงคำสำคัญของคำตอบซึ่งจะเลือกใช้คำที่ง่ายต่อการจดจำให้ผู้เข้าสอบจำคำตอบไปใช้ในการทำข้อสอบ



​นอกจากนี้ยังตรวจสอบพบว่า กลุ่มขบวนการทุจริตเสนอขายโพยข้อสอบ มีการแบ่งหน้าที่กันทำ โดยจะมีกลุ่มนายหน้า ทำหน้าที่ติดต่อขายโพยข้อสอบให้กับผู้เข้าสอบ, กลุ่มผู้เฉลยข้อสอบ ทำหน้าที่เฉลยข้อสอบ, กลุ่มที่นำข้อสอบไปมอบให้ทีมเฉลย เป็นตัวกลางในการนำข้อสอบไปส่งมอบ และกลุ่มเจ้าหน้าที่เก็บรักษาข้อสอบหรือพนักงานโรงพิมพ์ข้อสอบทำหน้าที่เอาข้อสอบออกไปเผยเเพร่เพื่อทำโพยเฉลย ทั้งนี้ผู้ซื้อโพยเฉลย ได้ยืนยันว่าเริ่มได้รับโพยเฉลยข้อสอบ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2565 เวลาประมาณ 12.00 น. ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวปัญหาข้อสอบได้ถูกจัดพิมพ์ที่โรงพิมพ์เสร็จเรียบร้อยรอส่งมอบให้




เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์สอบมารับเอาไปเพื่อนำไปใช้ในการสอบในวันรุ่งขึ้น




ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) จึงได้ทําการรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดำเนินการจับกุม บุคคลที่เกี่ยวข้องกับขบวนการดังกล่าว ในเบื้องต้นสามารถออกหมายจับผู้ร่วมขบวนการได้ทั้งสิ้น 18 ราย ต่อมาในวันที่ 28 มีนาคม 2566 ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดย กองบังคับการปราบปราม จึงได้ลงพื้นที่จับกุมผู้ต้องหาในพื้นที่ 9 จังหวัด (กรุงเทพฯ, มหาสารคาม, กาฬสินธุ์, ศรีสะเกษ, พะเยา, ลำปาง, ประจวบคีรีขันธ์, พัทลุง, นราธิวาส) สามารถจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับได้ทั้งสิ้น 17 ราย




​พร้อมกันนี้ยังได้ทำการตรวจยึดของกลาง โทรศัพท์มือถือ 12 เครื่อง, เท็บแล็ต 1 เครื่อง, สมุดบัญชีธนาคาร 9 เล่ม, คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค 1 เครื่อง, อาวุธปืน 1 กระบอก, เครื่องกระสุนปืน 74 นัด และเอกสารที่เกี่ยวข้องอื่นๆ นำส่งพนักงานสอบสวน กก.๒ บก.ป. ดำเนินการตามกฎหมาย




​สำหรับ ผู้ต้องหารายอื่นที่ยังหลบหนีการจับกุมทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเร่งติดตามตัว มาดำเนินคดีตามกฎหมายให้ได้โดยเร็วและจะดำเนินการสืบสวนขยายผลหาตัวผู้ที่เกี่ยวข้องกับขบวนการดังกล่าวมาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป




คุณอาจสนใจ