ช่อง 3 ตามหาผู้ว่าฯ เลือกตั้ง

เปิดวิสัยทัศน์ 5 ผู้สมัคร "ผู้ว่าฯ กทม." ต่อปัญหาคนไร้บ้าน สะท้อนความเหลื่อมล้ำในเมืองกรุงฯ

โดย pattraporn_a

4 พ.ค. 2565

64 views

คนไร้บ้าน คนเร่อน และคนจนเมือง แม้จะมีจำนวนไม่มากในสัดส่วนประชากรของกรุงเทพมหานคร แต่พบว่ามีจำนวนมากเพิ่มขึ้น จากสถานการณ์โควิด และเป็นปัญหาความเหลื่อมล้ำในกรุงเทพมหานคร และเป็นภาพลักษณ์สำคัญว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในกรุงเทพ ที่ผู้สมัคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ต่างเห็นตรงกันว่าต้องจัดการใหัได้ 


โดย นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ ผู้สมัคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หมายเลข 16 ใช้ภาษามือในการแนะนำตัว สำหรับผู้พิการทางการได้ยิน ที่เธออยากเห็นกรุงเทพมหานครเป็นเมืองแห่งความเท่าเทียม และไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง โดยเฉพาะคนไร้บ้าน ที่ทราบจากมูลนิธิอิสรชนว่าในกทม.มีถึง 4,500 คน


ทั้งนี้ ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ทั้ง 23 คนที่มาร่วมเปิดวิสัยทัศน์ กรุงเทพเมืองที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง มองเห็นตรงกันว่า ปัญหาคนเร่ร่อน คนไร้บ้าน ที่ผ่านมาจัดหาพื้นที่ให้อยู่ยาก จึงอาจต้องใช้การจัดระบบสวัสดิการให้เข้าถึงทั้งการรักษาสุขภาพ และอาชีพให้มีรายได้ด้วย


ซึ่ง นายธเนตร วงษา ผู้สมัครหมายเลข 14 มองว่า คนไร้บ้านในกรุงเทพ มีประมาณ 80,000 คน รวมถึงในชุมชนแออัดที่มีประมาณ 21 ชุมชน จึงอยากนำคนเหล่านั้นออกมาชุมชนละ 1 คน เพื่อฝึกฝนวิชาชีพให้มีความชำนาญ เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจว่าคนเหล่านี้ประสบความสำเร็จได้


ขณะที่ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัคร หมายเลข 8 พบว่าในช่วงเวลา 05:00 น. ของทุกวันว่า มีทั้งคนไร้บ้าน คนเร่ร่อน ผู้ป่วยจิตเวช คนขายบริการ ซึ่งเห็นว่าหัวใจการแก้ไขปัญหาคือ “ไร้บ้านแต่ต้องไม่ไร้สิทธิ ไร้โอกาส” กทม. ต้องมีการลงทะเบียนร่วมกับกระทรวงมหาดไทยให้คนเหล่านี้มีสิทธิเข้าถึง พร้อมทั้งมีศูนย์ช่วยดูแลเพื่อพักกลางคืนและทำความสะอาดร่างกาย


ด้าน นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ผู้สมัคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ย้ำว่า ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ต้องไม่รังเกียจคนไร้บ้าน เพราะทุกคนเท่ากัน คนในเมืองต้องได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียมกัน ต้องมีที่พักพิงและฝึกอาชีพให้ คนไร้บ้านหลายคนประสบปัญหาเรื่องจิตเวช จึงตั้งใจให้มีศูนย์บริการสาธารณสุขที่มีนักจิตบำบัดอย่างทั่วถึง ปัญหาคนไร้บ้านต้องดูแลเยียวยาให้อุ่นใจ คิดว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวคนกรุงเทพฯ


ขณะที่ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ผู้สมัคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หมายเลข 1 เห็นว่า คนไร้บ้านมีทั้งจากการว่างงาน ต้องแก้ไขศูนย์ฟื้นฟู มีการทำงานร่วมกันกับกรมคุ้มครองสวัสดิการแรงงาน ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ ส่วนคนไร้บ้านแบบสมัครใจ ต้องไม่ไร้สิทธิ ทั้งบัตรทอง บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และทุกสิทธิในฐานะประชาชน และผู้ที่ป่วยต้องมีกระบวนการรักษาเยียวยา และต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังอย่างแท้จริง

คุณอาจสนใจ

Related News