ข่าวโซเชียล

สัตวแพทย์หญิง วอนอย่าต่อว่า หมอทำแต่งาน พลาดหลงเชื่อแก๊งคอลเซนเตอร์ เนียนเป็น DSI ถูกดูดเงินสูญ 2 แสน

โดย thichaphat_d

6 พ.ย. 2565

780 views

วานนี้ (5 พ.ย.) ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ได้โพสต์เล่าเรื่องราวเพื่อเป็นอุทาหรณ์ โดยระบุว่า “กลโกงมิจฉาชีพ แก๊ง DSI ปลอม เล่าเป็นอุทาหรณ์ อยู่ในเหตุการณ์ยังกับอยู่ในหนัง

โดยได้พาสัตว์เลี้ยงไปตรวจสุขภาพ ที่โรงพยาบาลสัตว์ใกล้บ้านที่ไปประจำ พอไปถึงโรงพยาบาล จนท. บอกว่า หมอ P (นามสมมติ) ไปธนาคารด่วน มีเรื่องเงินหายไปจากบัญชี ให้เรากลับมาใหม่ ไม่รู้หมอจะเสร็จเมื่อไหร่ เราก็โอเค งั้นกลับก่อนก็ได้ ขับรถกลับ

ผ่านไปเกือบสิบนาทีตอนที่จะถึงบ้านแล้ว โรงพยาบาลสัตว์โทรมาอีกรอบว่าหมอมาแล้ว จึงขับไปอีกรอบ

หมอ P ปกติจะรักกับเด็กๆ ของเรามาก ชอบจัดท่าทางถ่ายรูปให้ แอบหอมแก้ม แต่วันนี้หมอกระวนกระวายรีบฉีดยา แล้วไปนั่งห้องข้างๆ วีดีโอคอลใหญ่เลย (มีกระจกที่มองเห็นอยู่) เราว่ามันแปลกๆ ตอนที่หมอออกมาอ่านผลเลือด หมอมาแบบรีบๆ เราทักหมอไปคำนึง “หมอได้เงินคืนรึยัง”

หมอเบาเสียงลง แล้วพูดกำชับกับเราว่าอย่าไปบอกใครนะคะ ตอนนี้มี DSI โทรมาคุยเป็นชั่วโมงแล้ว บอกว่าต้องช่วยเคสที่คนเอาข้อมูลของหมอไปเปิดบัญชีขายยาบ้า เพราะหมอเคยทำบัตรประชาชนหาย ถ้าบอกคนอื่น เดี๋ยวจะติดคุกสามปี ตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างการสอบสวนห้ามบอกใครทั้งนั้น

ตนจึงคิดว่าน่าจะมิจฉาชีพ แต่ทางหมอบอกว่า ไม่น่าจะใช่ เพราะทางโน้นรู้รายละเอียดเราหมดเลย ว่าเราชื่ออะไร ที่อยู่ที่ไหน เบอร์อะไรบ้าง

แม้ตนจะอธิบายว่า ข้อมูลแบบนี้มันหาซื้อกันได้ ที่หมอใช้โทรศัพท์ต่างๆ หลังบ้านเค้าก็เอาข้อมูลเรา พฤติกรรมของเราไปขายให้คนอื่นไปทำการตลาด ขายประกัน มันไม่ใช่เรื่องยากที่จะมีข้อมูลพวกนี้

จากนั้น หมอดูช็อค ไม่อยากจะเชื่อ มีคนใส่ชุดตำรวจมาวีดีโอคอลกับหมอด้วย งงมากมันเป็น DSI ไม่ใช่หรอ แล้วจะมาวีดีโอคอลทำไม ตลกมาก หมอจะให้ข้อมูลอะไรพวกนี้ ต้องมีหมายเรียกเท่านั้น ลูกน้องที่บริษัทเคยมีคนถูกหลอกด้วย ของแบบนี้มันดูน่าเชื่อ ไม่งั้นมันไม่มีคนถูกหลอกเป็นร้อยล้านหรอก

จากนั้นหมอเริ่มตื่น และเรียกสติว่าทำอะไรไปแล้วบ้าง ซึ่งตอนนี้โจรยังอยู่ในสายที่วางในห้องตรวจ

โจรให้หมอไปซื้อมือถือแอนดรอยด์เครื่องใหม่มา โหลดแอปธนาคารกรุงไทย แล้วให้โอนเงินทั้งหมดในทุกบัญชีของตัวเอง เข้าบัญชีตัวเองในธนาคารกรุงไทย แล้วให้หมอโหลดแอป ชื่อ “DSI ปลอดภัย” ที่เครื่องนี้แล้วรันโปรแกรมจะได้ตรวจสอบที่มาของเงิน

หมอก็เดินไปวางสายโทรศัพท์โจร แล้วเอามือถืออีกเครื่องมาให้ดู แอปรันโปรแกรมไปแล้ว ปิดเครื่องไม่ได้ ต่อเน็ทผ่านไวไฟแต่เครื่องล็อคทำอะไรไม่ได้เลย ถอดแบตไม่ได้ หน้าจอ CI สีน้ำเงินเข้มมีตราราชการด้วย แถมชื่อ ‘DSI ปลอดภัย’ อีก จึงเชื่อว่าเป็นโจรแน่นอน

จึงบอกให้หมอเอามือถือตัวเองโทรไปอายัดบัญชีกรุงไทยเดี๋ยวนี้ ส่วนตัวเราเองโทร 191 ไปถามข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้แน่ชัดว่าโจรแน่ไหม ซึ่งแน่นอนว่าโจรชัวร์ ตำรวจบอกว่าถ้าโหลดแล้วก็รันแอปของโจร มันจะไปรันปลดล็อคดูดข้อมูลส่วนตัวทุกอย่างแล้วก็จะรันแอปกรุงไทยให้โอนเงินออกไปจนหมด

เราที่พยายามปิดเครื่องแอนดรอยด์ที่รันแอปอยู่ไม่ได้ซักที เลยตัดสินใจขอค้อนมาแล้วเดินไปทุบมือถือจนพังที่นอกโรงพยาบาล เพื่อพยายามสกัดการส่งข้อมูล

ส่วนคอลเซนเตอร์กรุงไทยที่หมอโทรไป ก็ให้รอสายนานมาก แล้วก็ถามข้อมูลเรื่อยเปื่อย บอกว่าให้อายัดบัญชีเดี๋ยวนี้ก็ต้องบอกสามสี่รอบกว่าจะทำ ซึ่งกว่าจะอายัดเสร็จ เงินในบัญชีก็เหลือ 0 บาทแล้ว ทั้งหมดเกิดขึ้นในเวลาไม่ถึง 15 นาที

ข้อเตือนใจ

- ของจริงที่มาพยายามหลอก มันจะดูน่าเชื่อถือมาก ใส่ชุดตำรวจวีดีโอคอลมาคุยกับเรานานๆ ส่งไลน์มาพร้อมกับเอกสาร ราชการหมายจับ บลาๆ หน้าผู้ต้องสงสัย เห็นของจริงที่หมอเปิดให้ดูแล้วก็เข้าใจได้ว่าทำไมมันถึงเสียกันเป็นร้อยล้าน ปลอมเนียนมากจริงๆ

- ยังไม่พอมันทำให้เรารู้สึกปลอดภัยด้วยการให้เราโอนเงินไปเก็บที่บัญชีของตัวเองไม่ใช่บัญชีคนอื่น ก่อนจะให้เราไปซื้อมือถือมาโหลดแอป

- ตำรวจบ้าอะไรจะต้องวีดีโอคอลให้ดู จะมาจ่ายเงินย้อนหลังค่าโทรศัพท์ให้

- มิจฉาชีพทุกวันนี้ใกล้ตัวมาก เมื่อต้นปีตอนข่าวยังไม่ดังมาก มีน้องในบริษัทถูกหลอกเอาเงินเก็บไปหมด

- อาทิตย์ก่อน แม่บอกว่าเมื่อกี้มีคนบอกว่าโอนเงินผิด บอกให้แม่โทรคุยกับตำรวจ เราบอกว่าตลกละแม่ไม่ต้องคุยกับพวกนี้ บอกให้เค้าไปแจ้งความเองไปทำเรื่องเองแม่ไม่ต้องทำอะไรนะ

- ของที่มันปลอดภัยจริงๆ มันจะต้องพยายามย้ำอีกทีนึงด้วยการตั้งชื่อแอพว่า DSI ปลอดภัย ทำไมวะ ควรตั้งคำถามถ้าเห็นชื่ออะไรแบบนี้

-เสียใจเบาๆ ที่เราน่าจะทักหมอตั้งแต่ตอนฉีดยาน้อง ถ้าเป็นตอนนั้นหมอน่าจะยังไม่โหลดแอป เราต้องออกมาก่อนเพราะกำลังจะมีอีกนัดต้องรีบกลับบ้าน หมอยังติดสายอยู่ยาวๆ กับธนาคาร ได้แต่เขียนคำแนะนำหมอว่าไป แจ้งความ อายัดทุกบัญชี เปลี่ยนบัญชีตัวเอง ทำบัตรประชาชนใหม่

-สงสารหมอมากจริง ข่าวมิจฉาชีพมีอยู่ทุกวัน มีเพื่อนเตือนเพื่อน มีครอบครัวเตือนครอบครัวกันนะทุกคน

-เลขบัตรประจำตัวประชาชน ถ้าเคยถูกฉ้อโกงแบบนี้เราน่าจะมีสิทธิ์ไปขอเปลี่ยนได้ น่าจะปลอดภัยระยะยาวมากกว่ากับประชาชน ถ้ากลัวเรื่องการยืนยันตัวตนควระมีระบบภาครัฐในการตรวจสอบออนไลน์ได้ทันท่วงทีว่าของจริงหรือปลอม หรือมีระบบยืนยันตัวตนที่ดีกว่าเลขประชาชน


-วิชาชีพทางการแพทย์ที่เป็นที่เพ่งเล็งของโจรเพราะเงินเยอะ ไม่ค่อยอ่านข่าวทำแต่งาน ควรมีการประสานงานกับ สภาวิชาชีพ กระทรวงหรือ สสจ ให้มีการให้ข้อมูลปกป้อง คนในวิชาชีพ

-ประเทศใกล้เคียงเช่นสิงคโปร์ที่มี มิจฉาชีพแบบนี้ระบาด ทางภาครัฐทำป้ายใหญ่ๆ เตือนประชาชนในที่สาธารณะ บ้านเราน่าจะทำเชิงรุกมากขึ้นมากกว่าออกตามสื่อกระแสหลัก อย่าลืมว่าสมัยนี้คนไม่ดูทีวี ไม่เล่นเฟซบุ๊กมีเยอะมาก

-คอลเซ็นเตอร์ถ้ามีลูกค้าแจ้งว่าขอล็อคบัญชี อายัดบัญชี ไม่ควรที่จะถามเหตุผลเยิ่นเย้อ ถ้ายืนยันตัวตนได้แล้วควร take action ทันที หนึ่งวินาทีมีค่า

-แอปกรุงไทยควรกลับไปดูเรื่องความปลอดภัยของแอปว่า ทำไมเป็นแอปในดวงใจของแก๊งมิจฉาชีพ ทำไมถึงเขียนแอปรันโค้ด ทำ remote control ได้อีกที


จากนั้น ผู้สื่อข่าวได้คุยกับ สัตวแพทย์หญิงผู้เสียหาย คุณหมอ เล่าว่าสูญเงินไปจำนวน 207,000 บาท แก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ต้องหาคดีค้ายาเสพติดที่ถูกจับกุม โดยมีชื่อคุณหมอ เป็นผู้ทำสัญญาเช่ารถ และผู้ต้องหาให้การซัดทอดว่ามีการเปิดบัญชี มีเงินหมุนเวียนเกี่ยวกับการกระทำความผิด


และยังออกอุบายว่า คดีนี้เป็นคดียาเสพติดมูลค่า 3 พันกว่าล้าน ซึ่งคดีนี้เป็นความลับ ไม่อาจแพร่งพรายได้ เนื่องจากมีผู้อยู่เบื้องหลังตำแหน่งใหญ่ๆที่ต้องหาหลักฐานสำคัญมาจับต้นตอให้ได้ จึงขอให้เก็บเป็นความลับ เพราะถ้าคดีแพร่งพราย แล้วสืบรู้ว่า ทางคุณหมอมีความผิดฐานแพร่งพรายความลับราชการ จำคุก 3ปี  

และทางแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ยังสร้างหลักฐานปลอม ทั้งคำร้องขอออกหมายจับ ใบสัญญาเช่ารถ หน้าสมุดบัญชี ที่มีชื่อ-นามสกุล จริง ของคุณหมอ และพูดจาทั้งข่มขู่ หวาดล้อม จนหลงเชื่อทำตาม ทั้งการออกไปซื้อโทรศัพท์ใหม่ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น สุดท้ายถูกดูดเงินไปในที่สุด

สาเหตุที่ คุณหมอหลงเชื่อ เพราะแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ให้โอนเงินเข้าบัญชีตัวเอง (ธนาคารกรุงไทย) จึงคิดว่าไม่น่าจะเป็นอันตราย เพราะยังไงเงินก็อยู่ในบัญชี  ไม่รู้มาก่อนว่ามีแอปดูดเงิน (วอนอย่าต่อว่า หมอไม่รู้จริงๆ ทำแต่งาน)

และเมื่อรู้ตัวว่าถูกหลอก ได้พยายามติดต่อไปยังธนาคาร เพื่ออายัดบัญชี แต่คอลเซ็นเตอร์ใช้เวลาในการติดต่อ พูดคุยกันพักหนึ่ง สุดท้ายอายัดเงินไม่ทัน วอนธนาคารหามาตรการปรับปรุง ไม่ได้โทษธนาคาร แต่ก็ควรหามาตรการช่วยเหลือลูกค้า ที่ถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกลวง


https://youtu.be/weAbntOr5M8

คุณอาจสนใจ

Related News