สังคม

ปธ.สภาผู้บริโภค ฟาดเดือด! จี้ยึดทรัพย์คนเซ็นอนุมัติ ‘ปลาหมอคางดำ’ จวกรัฐอย่าภูมิใจใช้ภาษีประชาชนแก้ปัญหา

โดย nicharee_m

27 ก.ค. 2567

381 views

พบ ‘ปลาหมอคางดำ’ ในทะเลชุมพรแล้ว กลุ่มปล่อยลูกปูลั่นไม่รีบกำจัดแย่แน่

เมื่อวันที่ 26 ก.ค.2567 จากการประเมินสถานการณ์การเผยระบาดของปลาหมอคางดำนั้นในพื้นที่ ต.ปากน้ำ อ.เมืองชุมพร คาดจะมีการแพร่ระบาดมากที่สุด จากการพบปลาหมอคาดดำแทบทุกลำน้ำและมีปัจจัยทางแหล่งอาหาร สำหรับอีกจุดที่มีความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ พื้นคลองท่าเสม็ด ต.สะพลี อ.ปะทิว จ.ชุมพร โดยแบ่งชุดทำงานเป็น 5 กลุ่มกระจายกันใน 4 พื้นที่ในคลองและ 1 เป็นพื้นที่ในทะเล

ทางด้านนางทิพยรัตน์ ทิพย์มงคล ชาวบ้านจาก ต.บางสน อ.ปะทิว จ.ชุมพร ที่มาช่วยร่วมจับปลาหมอคางดำได้กล่าวถึงสถานการณ์ตอนนี้ในพื้นที่ ม.8 ต.บางสน ที่ตนเองนั้นอาศัย กล่าวว่า ตนเองเคยเสนอกับทางประมงไปแล้วว่าให้จับปลาจากคลองในที่แคบไปก่อนเพราะจะจับง่ายและมีจำนวนมาก หากทำเป็นวันนี้บอกเลยว่าจับยากเพราะคลองมันลึกและกว้าง

นางทิพยรัตน์ ยังกล่าวอีกว่าก่อนนี้ช่วงหน้าน้ำ น้ำก็จะไม่ไหลลงทะเล ปลาและสัตว์น้ำจะเข้ามาวางไข่ในคลองบางเสียบ พื้นที่ ม.8 ต.บางสน อ.ปะทิว ชุมพร มีทั้งปลากระสากปลาดอกไม้ กะพงแดง ปลากระบอกและสัตว์น้ำท้องถิ่นเป็นจำนวนมาก พอน้ำป่ามาก็จะพัดเอาสัตว์น้ำเหล่านี้ลงไปบริเวณชายหาด ตนเองไปจับปลาในช่วงเช้าแต่ละครั้งได้มากกว่า 1 กระสอบแน่นอน

แต่ตอนนี้ทุกอย่างในคลองแทนที่โดยปลาหมอคางดำ ปลาเล็กที่รอน้ำบริเวณหน้าปากคลอง แม้แต่กุ้งกุลาที่เคยไปหากันตามริมคลองก็ไม่มีแล้ว สัตว์ระบบนิเวศได้กำจัดไปหมดแล้ว หลังจากนี้อาหารทะเลก็จะหากินได้ยาก กุ้งเคยที่นำมาทำกะปิ ปลากกระบอก ก็เช่นกันจะไม่มีแล้ว

ถ้าเกิดในคลองที่เป็นที่ฝักไข่สัตว์น้ำไม่หลงเหลือแล้ว ปลาเล็กที่จะลงเติบโตในทะเลจะมีได้ยังไง อีกทั้งบริษัทที่เอาปลาเข้ามาก็มีการปล่อยน้ำลงสู่คลองนี้ด้วย หน่วยงานราชการเองก็หละหลวมกันเกินไปปล่อยให้จนมาสู่การระบาด แล้วตามแก้ไขทีหลังมันก็คงเป็นเรื่องยาก

จากการสังเกตดูในการออกจับปลาของแต่ละชุดที่ได้รับมอบหมายในพื้นที่ต่างกัน แม้วันนี้จะจับมาได้น้อย แต่ใช่ว่าการระบาดของจำนวนปลาหมอคางดำนั้นจะมีน้อย แต่กลุ่มที่ลงเรือไปจับนั้นจับไม่ได้เอง การพบเห็บปลาหมอในคลองนั้นมีจำนวนมากและหลากหลายรุ่น พบตั้งแต่ที่ลูกปลาพ่อปลาอมอยู่ในปากจนถึงขนาด 20 ซม.ขึ้นไป โตเกินกว่าที่จะมีปลาอื่นมามาล่ามันได้

ส่วนทางด้านกลุ่มอนุรักษ์ปูที่เปิดโรงรับจำนำแม่ปูเพื่ออนุบาลไข่ปูและนำไปปล่อยเพื่อแพร่ขยายพันธุ์ปูนั้น ถึงกับคิดไม่ตกกับการระบาดของปลาหมอคางดำที่รอกินไข่ปู

นายนรงค์ ม่วงทองคำ ผู้ก่อตั้งโรงรับจำนำปู เพื่อนำปูที่กำลังมีไข่มาเลี้ยงไว้และรอให้ตัวแม่ปูสลัดไข่ในตัวออกมาจนหมด แล้วอนุบาลไข่ปูเหล่านั้นจนเหมาะสมที่จะปล่อยลงน้ำ โดยบอกว่ากิจกรรมวันนี้ไม่ประสบความสำเร็จเพราะเราจับปลาคางดำได้จำนวนน้อย แต่เราได้เห็นปลาพวกนั้นจำนวนมาก

หลังจากนี้ต้องรีบกำจัด หน่วยงานก็ต้องมีความชัดเจนเรื่องราคาและสถานที่การรับซื้อเพื่อเป็นแรงจูงใจให้กับชาวบ้านให้ออกล่า เพราะชาวบ้านเองตอนนี้ก็เริ่มรับรู้ถึงผลกระทบจาการที่สัตว์น้ำบางอย่างเริ่มหาได้ยากขึ้น

ทั้งนี้ นายนรงค์ ได้กล่าวถึงข้อกังวลมาตลอดว่าการปล่อยปูของตัวเองในทุกๆ 3 วันเพื่อแพร่พันธุ์นั้นจะรอดเหลือบ้างไหม เพราะทุกครั้งที่ปล่อยจะเห็นปลาหมอคางดำมารวมกันเป็นฝูงเพื่อรอกินเหล่าพันธุ์ปูที่ตนเองอนุบาลมา


‘อ.อ๊อด’ ค้าน! ใช้ “ไซยาไนด์” กำจัดปลาหมอคางดำ

รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ หรือ “อ.อ๊อด” อาจารย์ นักวิชาการสาขาเคมีอินทรีย์ และผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและกิจการเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้สัมภาษณ์กรณีที่จะใช้สารไซยาไนด์ในการกำจัดปลาหมอคางดำ ไว้อย่างน่าสนใจ

โดย รศ.ดร.วีรชัย มองว่า ไม่ควรใช้ และควรเป็นวิธีสุดท้ายหากหมดหนทางอื่น เพราะสารไซยาไนด์ จะไปจับกับเหล็กและเม็ดเลือดแดงซึ่งปลาเองก็มีเม็ดเลือดแดง หมายความว่า สารไซยาไนด์ จะตกค้างอยู่ในตัวของปลา หากมีใครนำไปรับประทานก็จะได้รับสารสารไซยาไนด์ ไปด้วย


ประธานสภาผู้บริโภค ฟาดแรง! อธิบดีกรมประมงต้องรับผิดชอบ ชี้ควรยึดทรัพย์มาชดเชยความเสียหายให้เกษตรกร พร้อมฝากถึงกระทรวงเกษตรฯ อย่าภูมิใจ ที่เอางบกลางมาใช้ซื้อปลาหมอคางดำเพื่อแก้ปัญหา เพราะนั้นเป็นเงินภาษีของประชาชน

วานนี้ (26 กรกฎาคม 2567) มีการเสวนาเรื่อง “หายนะสิ่งแวดล้อม กรณีปลาหมอคางดำ: การชดเชยเยียวยาความเสียหาย ฟื้นฟูระบบนิเวศและปฏิรูประบบความปลอดภัยทางชีวภาพ”

น.ส.บุญยืน ศิริธรรม ชาวประมงพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม ประธานสภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวว่า วันนี้เขาไม่มีปลาให้เลือกกิน เพราะในพื้นที่ไม่มีปลาอื่นอยู่เลย ปลากระบอก ปลาพื้นถิ่นถูกปลาหมอคางดำกินหมด ในฐานะชาวประมงต้องการได้วิธีทำลาย จับ หรือจัดการอย่างไรไม่ให้มันระบาดต่อ ไม่ใช่บอกให้ประชาชนจับกิน ปลามันไม่มีเนื้อ และกระดูกแข็งติดคอ

นอกจากนี้ คุณบุญยืน ยังเสนอว่า ความเสียหายนั้นประเมินได้ยาก อย่างผู้เพาะเลี้ยง ตอนนี้เพาะไม่ได้ ปล่อยปลากะพงลงไป แต่ปลาหมอมันมากกว่าก็ถูกกินหมด ส่วนคนที่คิดว่า ตัวเองได้รับความเสียหาย ให้โทรร้องเรียนได้ที่ สภาองค์กรของผู้บริโภค สายด่วน 1502

ช่วงหนึ่งบรรยากาศเวทีเป็นไปอย่างเข้มข้น เรียกว่าค่อนข้างดุเดือด โดยคุณบุญยืน สะท้อนว่าปัญหาปลาหมอคางดำมีมานานหลายปีแล้ว แต่ชาวบ้านคนต่างจังหวัดพูดปัญหา ไม่มีคนฟัง ไม่มีคนสนใจ พอปลาหมอคางดำระบาดมาถึงกรุงเทพ ภาครัฐถึงจะเริ่มคนสนใจกันปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้ คนที่ต้องรับผิดชอบ คือคนที่ถืออำนวจรัฐ ที่มือไม้อ่อนยอมเซ็นให้นำปลาหมอเข้ามาในไทย

ขณะเดียวกันคุณบุญยืน ยังไม่เห็นด้วยที่จะนำงบกลาง มาใช้ซื้อปลาหมอคางดำ เพราะเป็นเงินภาษีประชาชน สิ่งที่ควรทำ ต้องไปยึดทรัพย์ผู้มีอำนาจรัฐ ที่ปล่อยให้เกิดการระบาด จนสร้างความเสียหายอยู่ในขณะนี้

ช่วงท้ายคุณบุญยืน ยังบอกว่า เกลียดมากพวกที่บอกปลาหมอคางดำกินได้ ตนเองเป็นชาวประมง ไม่ได้โง่ รู้ว่าปลาหมอคางดำกินได้ แต่มันไม่อร่อย ปลามันไม่มีเนื้อ




รับชมผ่านยูทูบ : https://youtu.be/YPVVYJfcrOw

คุณอาจสนใจ