สังคม

'ธรรมนัส-กาย' ลงพื้นที่สมุทรสาคร ถกสมาคมการประมง 16 จังหวัด แก้ปัญหา 'ปลาหมอคางดำ'

โดย parichat_p

22 ก.ค. 2567

36 views

ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร ถกเครียดสมาคมการประมง 16 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากปลาหมอคางดำ / พร้อมติดตามการรับซื้อปลาหมอคางดำเป็นวันแรก ในราคากิโลกรัมละ 15 บาท

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เดินทางลงพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร ตืดตามการแก้ไขปัญหา ปลาหมอคางดำซึ่งกำลังแพร่ระบาดอย่างหนักในพื้นที่ ซึ่งก่อนการหารือ ร้อยเอกธรรมนัสได้กล่าวกับกลุ่มเกษตรกรและชาวประมงที่มาร่วมติดตามการหารือแนวทางแก้ปัญหาปลาหมอคางดำ ได้พูดถึง


ปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ ซึ่งทางกระทรวงเกษตรฯได้ดำเนินการมาตั้งตั้งแต่ตนเริ่มเข้ารับตำแหน่ง กับนโยบาย จับตายปลาหมอคางดำ โดยขณะนี่มาตรการทีากำลังดำเนินการอยู่คือ ให้กรมประมง ร่วมกับ กรมที่ดิน และการยางแห่งประเทศไทย ในการใช้ประโยน์ปลาหมอคางดำ หลังจากที่จับออกจากระบบนิเวศ โดย การยางแห่งประเทศไทย จะรับซื้อปลาหมอคางดำ ในราคากิโลกรัมละ 15 บาทเพื่อนำไปทำปุ๋ยสำหรับสวนยาง


ขณะเดียวกันได้เตือนกลุ่มเกษตรกรบางราย ชาวบ้านบางรายที่พบพฤติกรรมตะเวนออกรับซื้อปลาหมอคางดำในราคา ถูก เพื่อนำมาขายให้กับภาครัฐ หรือบางรายลักลอบเพาะเลี้ยงปลาหมอคางดำเพื่อจะนำมาขายกับโครงการ ขอเตือนว่าไม่ควรทำเพราะมีความผิด


อัตราโทษกรณีผู้เพาะเลี้ยงกรรมกรรมจำคุกไม่เกินหนึ่งปีปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท ส่วนผู้ที่ปล่อย ปลาหมอคางดำ จะมีโทษ จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 2 ล้าน บาท แต่ที่ผ่านมายังไม่เคยดำเนินการกับผู้ประกอบการรายใด


ขณะที่ปัญหาที่เกิดขึ้น ได้สั่งการกรมประมง ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบหาข้อเท็จจริงว่าการระบาดเกิดขึ้นจากจุดใด แต่ยังไม่มีข้อสรุปว่าการระบาดนั่นเกิดขึ้นจากผู้ประกอบการรายใด


ในเวลา 13.30 น. ทางร้อยเอกธรรมนัส ได้เข้าร่วมหารือกับตัวแทน 16 องค์กรในพื้นที่ เพื่อร่วมหาทางออก โดยมีนายณัฐชา บุญไชอินสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตบางขุนเทียน ในฐานะ คณะทำงานทำงานติดตามผการมาร่วมติดตามการประชุมด้วย


ภายหลังหารือกว่า 2 ชั่วโมง ทางร้อยเอก ธรรมนัส ได้ให้สัมภาษณ์ กับสื่อ ระบุ ว่า เบื้องค้นปัญหานี้ถือเป็นวาระแห่งชาติ ที่กำลังจะเสนอในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี


ทั้งนี่แนวทางการแก้ไขปัญหา ที่จะเริ่มประกาศจริงจังในวันที่หนึ่งสิงหาคมโดยในระหว่างนี้ให้ประมงจังหวัดแต่ละจังหวัดพิจารณาแนวทางการแก้ไขข้อประกาศกรณีเรื่องของเรือประมงเพื่ออนุญาติให้ล่าปลาหมอคางดำได้



มาตรการอื่นเช่นการรับซื้อปลาหมอคางดำมอบหมายให้การยางแห่งประเทศไทยในดำเนินการจีดทำงบประมาณ สำหรับการรับซื้อ ปลาหมอคางดำ ในราคากิโลกรัมละ 15 บาทและมีค่าบริหารจัดการให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในราคา 5 บาท ซึ่งเท่ากับจัดให้มีการรับซื้อปลาหมอคางดำในราคากิโลกรัมละ 20 บาท


ขณะนี้ในที่ประชุมได้มีข้อเสนอเรื่องการใช้วิธีช็อตปลา เรื่องนี่ ทาง ร้อยเอก ธรรมนัส ระบุว่า ข้อเสนอนี้ตนก็จะรับไปพิจารณา แต่ต้องนำไปพิจารณาประกอบข้อกฎหมายและในเรื่องของศีลธรรมทั้งนี้ขอดำเนินการด้วยมาตรการที่วางไว้ก่อนหาก ยังแก้ไขปัญหาการระบาดของปลาหมอครางดำไม่ได้จึงค่อยมาพิจารณาแนวทางอื่นต่อ


ขณะที่ นายณัฐชา บุญไชอินสวัสดิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตบางขุนเทียน สมาชิกพรรคก้าวไก่ได้เสนอในที่ประชุมว่าในเรื่องการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำควรเสนอเป็นวาระแห่งชาติ และประกาศเขตภัยพิบัติหรือไม่เพื่อให้ประชาชนที่ได้รับผลกระมีการเยียวยา เรื่องนี้จะมอบหมายให้ทางประมงจังหวัดไปหาข้อมูลเพื่อนำมาเสนอปลัดกระทรวงพิจารณาว่า เข้าข่าย หลักเกณฑ์ของการประกาศเขตภัยพิบัติตามข้อกฎหมายกำหนดหรือไม่


ส่วนประเด็นการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำซึ่งในขณะนี้กรมประมงได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลข้อเท็จจริงโดยโดยมีการเรียกผู้ประกอบการ 11 รายซึ่งเคยขออนุญาตนำเข้าปลาคังดำ มาให้ข้อมูล ยังไม่มีการสรุปชี้ชัว่าการระบาดเกิดจากผู้ประกอบการรายใด ซึ่งจะครบกำหนดเวลาวันอังคาร 30 กรกฏาคม หากได้ข้อสรุปแล้วจะออกมาชี้แจงต่อสาธาร ซึ่งหากพบว่าเกิดจากผู้ประกอบการรายใดอาจต้องมีการดำเนินการและเรียกค่าเสียหายเพื่อชดเชยต่อประชาชน แต่ตอนนี้ทุกอย่างยังไม่ชัดเจนไม่ขอระบุว่าผู้ประกอบการที่มีการกล่าวถึงต้นตอของการแพร่ระบาดในครั้งนี้หรือไม่


ต่อมา ทางคณะทำงานเดินทางลงพื้นที่ไปติดตามการรับซื้อปลาหมอคางดำที่ แพปลาวิชาญ เหล็กดี ที่ ตำบลบางหญ้าแพรก ซึ่งเป็นหนึ่งในแพปลาที่ประมงจังหวัดเปิดเป็นแหล่งรับซื้อปลา ขณะนี้แต่ละวัน จุดนี้จะมีชาวประมงอวนรุนจับปลาหมอคางดำหลายขนาดมาส่งขายในราคากิโลกรัมละ 15 บาท แล้วส่งต่อไปยังโรงงานแปรรูปอาหารสัตว์หรือส่งให้การยางฯ สำหรับนำไปทำปุ๋ยหมัก


นาย นิมิตร หลี้แปด เรือประมงอวนรุนบอกว่า ตอนนี้ปลาหมอคางดำเริ่มลดลงบ้าง แต่ก็ยังเยอะอยู่ ส่วนการจับ ต้องใช้เรือรุนเพื่อให้จับปลาได้ทั้งตัวเล็กและตังใหญ่ และง่ายในการจับเนื่องจากปลาชนิดนี้อยู่ที่บริเวณน้ำตื้นและอาศัยตามตอไม้ แต่ละรอบที่ออกไปจับปลาช่วงนี้จะได้ปลาหมอคางดำครั้งละ 60 ถึง 100 กิโลกรัม


จากคำบอกเล่าของชาวประมงหลายราย แนวทางที่รัฐได้เข้ามาช่วยเหลือดำเนินการในขณะนี้ถือว่าเริ่มเห็นผล จากเมื่อก่อนแหล่ง ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครมีแต่ ปลาหมอคางดำ แต่ตอนนี้เริ่มเห็นตัวอ่อนของสัตว์น้ำชนิดอื่นๆกลับมาแล้ว


ทั้งนี้การระบาดของปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำตามธรรมชาติของจังหวัดสมุทรสาคร มีการระบาดใน 3 อำเภอ หลายคลอง เช่น อำเภอเมืองสุทรสาคร คลองพิทยาลงกรณ์ /คลองสุนัขหอน /คลองมหาชัย /แม่น้ำท่าจีน /รวมถึงแม่นำสาขา อำเภอบ้านแพ้ว/อำเภอกระทุ่มแบนที่พบในคลองสาธารณะ ซึ่งทางประมงจังหวัดสมุทรสาครได้เปิดจุดรับซื้อ ปลาหมอคางดำ 6 จุด ในอำเภอเมืองสมุทรสาครสามจุด /อำเภอบ้านแพ้วสองจุด และอำเภอกระทุ่มแบน 1 จุด ตั้งแต่เดือน กุมภาพันธุ์ 2567 จนถึง 20 กรกฏาคม ได้รับซื้อปลาหมอคางดำมาแล้ว 565 ตัน จากประมงอวนรุน 360 ตัน จากกลุ่มบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 190 ตัน มีการกระจายเพื่อการใช้ประโยชน์ เช่นส่งขายให้โรงงานปลาป่นซึ่งรับซื้อในราคากิโลกรัมละเจ็ดถึง 10 บาท เกษตรกรในพื้นที่ใช้เป็นเหยื่อเลี้ยงปลาประมาณ 500,000 กิโลกรัม สำนักงานที่ดินรับซื้อ เพื่อนำไปนำไปทำน้ำหมักชีวภาพแจกจ่ายกลุ่มเกษตรกร



รับชมทางยูทูบที่ : https://youtu.be/KfquPcCd_zA

คุณอาจสนใจ

Related News