สังคม
กทม.แจง ปมถูกแฉเครื่องออกกำลังกาย 10 ล้าน ยัน สตง.ตรวจแล้ว จัดซื้อถูกต้อง
โดย panwilai_c
5 มิ.ย. 2567
162 views
กำลังกลายเป็นประเด็น ร้อน หลังจากที่ เพจ ชมรม STRONG ต้านทุจริตประเทศไทย ออกมาแฉข้อมูล โครงการจัดซื้อเครื่องออกกำลังกายภายในศูนย์กีฬาวารีภิรมย์ และศูนย์กีฬาวชิรเบญจทัศ 2 แห่ง ของ กทม. ล่าสุด สส.ก้าวไกล คุณแบงค์ ศุภณัฐ ออกมาเปิดเผยข้อมูลเพิ่มตัวเลขการจัดซื้อพบว่า ราคาลู่วิ่งยุค ผู้ว่าฯชัชชาติ แพงกว่า ยุค ผู้ว่าฯอัศวิน ถึง3 เท่า และ แพงกว่าราคาตลาด สูงเกือบ 10 เท่า และส่อทุจริตด้วย
จุดเริ่มต้น มาจากเพจชมรม STRONG ต้านทุจริตประเทศไทย โพสต์ข้อมูลเมื่อวานนี้ บอกว่า เครือข่าย STRONG ต้านทุจริตประเทศไทยพบเห็นความผิดปกติในการจัดซื้อเครื่องออกกำลังกาย ส่อแพงจริงภายใน ศูนย์กีฬาวารีภิรมย์ และ ศูนย์กีฬาวชิรเบญจทัศ - Wachirabenchathat รวมกัน 2 ที่เกือบ 10 ล้านบาท
แบ่งเป็นที่ศูนย์วารีภิรมย์ 4,999,990 บาท และ ศูนย์วชิรเบญจทัศ 4,998,800 บาท
นอกจากนี้ ยังมีโพสต์อื่นๆ ตามมา บอกว่า ใครอยากลองลู่วิ่งราคา7.5แสน จักรยานปั่น4.8แสน ดัมเบลชุดละ2.7แสน เชิญที่ศูนย์กีฬา อ่อนนุช มิตรไมตรี เฉลิมฯ72 วารีฯ วชิรเบญจทัศของ กทม.
อีกโพสต์ บอกว่า ปี 67 กทม.จัดซื้อเครื่องออกกำลังกาย 7 โครงการ เกือบ 80 ล้าน 2 บริษัท สลับกันได้งาน วาล็อค และ แกรนด์สปอร์ต
นอกจากนี้ มีภาพเอกสาร แสดงราคากลางในการจุดซื้ออุปกรณ์ อย่าง ของ ศูนย์วารีภิรมย์ 4,999,990 บาท จัดซื้อเครื่องออกกำลังกาย 11 รายการ ประกอบด้วย
1.อุปกรณ์ลู่วิ่งไฟฟ้า 1 เครื่อง 759,000 บาท
2.จักรยานนั่งเอนปั่นแบบมีผนักพิง 1 เครื่อง 483,000 บาท
3.จักรยานนั่งปั่นแบบนั่งตรง 2 เครื่อง เครื่องละ 451,000 บาท
4.อุปกรณ์บริหารกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหน้า 1 เครื่อง 466,000 บาท
5.อุปกรณ์บริหารกล้ามเนื้อขาด้านหน้าและขาด้านหลัง 1 เครื่อง 477,500 บาท
6.อุปกรณ์บริหารกล้ามเนื้อห้วงไหล่ อก และหลังแขน 1 เครื่อง 483,000 บาท
7.อุปกรณ์บริหารกล้ามเนื้ออเนกประสงค์ 1 เครื่อง 652,000 บาท
8.ชุดดัมเบลพร้อมชั้นวาง 1 เครื่อง 276,000 บาท
9.อุปกรณ์บาร์โหนฝึกกล้ามเนื้ออเนกประสงค์ 1 เครื่อง 302,490 บาท
10.เก้าอี้ฝึกกล้ามเนื้อหน้าท้อง 1 เครื่อง 103,000 บาท
11.เก้าอี้ฝึกตัมเบลดัมเบลแบบปรับระดับได้ 1 เครื่อง 96,000 บาท
1. จักรยานนั่งเอนปั่นแบบมีพนักพิง 3 เครื่อง ราคา 1,449,000 บาท เครื่องละ 483,000 บาท
2. จักรยานนั่งปั่นแบบนั่งตรง 2 เครื่อง ราคา 902,000 บาท เครื่องละ 451,000 บาท
3. อุปกรณ์ บริหารกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหน้า 1 เครื่อง ราคา 466,000 บาท
4.อุปกรณืบริหารกล้ามเนื้องขาด้านหน้า และด้านหลัง 1 เครื่อง 477,500 บาท
เป็นต้น ตอนนี้คนเข้าไป แสดงความจำนวนมาก
และที่เป็นประเด็นร้อนแรงมากขึ้น ทำให้ ทาง กทม. ทั้ง ผู้ว่าฯชัชชาติ และรองผู้ว่าศานนท์ เตรียมจะมีการแถลงข่าวชี้แจง วันพรุ่งนี้ ที่ศาลาว่าการ กทม. เนื่องจาก สส.แบงค์ ศุภณัฐ มีนชัยนันท์ สส.กทม. พรรคก้าวไกล ออกมาโพสต์ ข้อมูลเพิ่ม บอกว่า
ขอบคุณชมรมSTRONG ที่ออกมาเปิดโปงเมื่อวานครับจริงๆเรื่องนี้ผมตามส่องมาตั้งแต่เมื่อต้นปี โดยได้ส่งหนังสือลงวันที่ 19/1/67 ให้กทม.ชี้แจงแล้ว 1 โครงการ คือ โครงการปี 65 สมัยผู้ว่าอัศวิน ซึ่งพบว่ารายการที่กทม.ซื้อนั้น แพงกว่าราคาตลาด (ยี่ห้อเดียวกัน รุ่นเดียวกัน สเปคเดียวกัน) โดยเฉลี่ยถึง 4เท่า เลยขุดเพิ่มอีกหลายโครง
และเมื่อวันที่ 3 พ.ค. ที่ผ่านมา ผมให้ทาง กมธ.ติดตามงบประมาณ ส่งหนังสือตรงไปยังผู้ว่า กทม.เพื่อให้ชี้แจง โครงการซื้อครุภัณฑ์ 10โครงการ ช่วงปี 65-67 โดยเป็นโครงการซื้อเครื่องออกกำลังกายรวม 9 โครงการ รวมมูลค่า 74 ล้าน เพราะต้องสงสัยว่าอาจมีการทุจริต เนื่องจากราคากลางที่กทม.ใช้นั้น มีการปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องจนน่ากลัว (แพงกว่ายุคแรกๆ 3เท่า จาก 254,000>> 759,000) ทำให้ราคาของที่กทม.จัดซื้อสูงกว่าราคาตลาด 5-10เท่า แต่ ทาง กทม.ยังไม่มีการส่งหนังสือชี้แจงกลับมายัง กมธ.
สส.แบงค์ บอกด้วยว่า จริงๆ โครงการซื้อเครื่องออกกำลังกาย ช่วงปี 2562-2567 มีไม่น้อยกว่า 110 ล้านบาท เป็นของสมัยผู้ว่าอัศวินอย่างน้อยๆ 25ล้าน ส่วนผู้ว่าชัชชาติอีก 87ล้านบาท
และถ้าไปดู ในรายการ ราคา เครื่องออกกำลังกาย แต่ละชิ้น อย่าง ราคาลู่วิ่ง ยุคผู้ว่าอัศวิน (2559-2565) ราคาตัวละ 254,000 (ปี 62) แล้วมีการปรับราคากลางขึ้นมาเป็น 500,000 (ปี 63) มีการปรับลงมาตัวละ 334,000 (ต้นปี 65)
พอมายุคผู้ว่าชัชชาติ (2565-2567) ราคาลู่วิ่ง ปรับราคาขึ้นมาเป็น ตัวละ 518,000 ใน ปี 65 และตั้งแต่ปี 66 ราคาได้กลางกระโดดไปที่ ตัวละ 759,000 บาท โดยมีหลายโครงการที่ใช้ลู่วิ่งราคา 759,000 บาท บอกพิกัดด้วย ไม่ใช่แค่ ที่ ศูนย์กีฬาวารีภิรมย์ และศูนย์กีฬาวชิรเบญจทัศ
แต่มีทั้ง
- ศูนย์มิตรไมตรี
- ศูนย์วัดดอกไม้
- ศูนย์วารีภิรมย์
- ศูนย์เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา
และศูนย์อื่นๆที่คาดว่ามีได้รับเครื่องออกกำลังกาย ราคาสูงเกินราคาตลาด 5-10เท่า ตั้งแต่ปี 62-67 ด้วย ได้แก่
- ศูนย์เยาวชนดอนเมือง
- ศูนย์เยาวชนหนองจอก
- ศูนย์เยาวชนบ่อนไก่
- ศูนย์เยาวชนลุมพินี
- ศูนย์เยาวชนคลองสามวา
- ศูนย์เยาวชนทวีวัฒนา
- ศูนย์เยาวชนเกียรติกาย
- ศูนย์เยาวชนชัยพฤกษมาลา
- ศูนย์เยาวชนอัมพวา
นอกจากราคาจะพุ่งแบบก้าวกระโดดแล้ว สส.แบงค์ ยังระบุด้วยว่า มีการล็อคผลงาน ทำให้ช่วงหลังๆ คนเสนอราคาแข่งกัน จะเป็นหน้าเดิมๆ 3 บริษัท
แท็กที่เกี่ยวข้อง กทม. ,ชี้แจง ,ทุจริต ,เครื่องออกกำลังกาย ,จัดซื้อเครื่องออกกำลังกาย