สังคม

ทร.แถลงสาเหตุ 'ร.ล.สุโขทัย' อับปาง ชี้คลื่นรุนแรง ทำน้ำเข้า ด้านผบ.เรือ ลาออก แสดงความรับผิดชอบ

โดย panwilai_c

9 เม.ย. 2567

498 views

ผบ.ทร. นำทีมแถลงผลสอบ ร.ล.สุโขทัย ล่ม เรื่องดินฟ้าอากาศ-เรือเก่า ชี้ ผบ.เรือหลวงสุโขทัย ตัดสินใจผิดพลาด ขาดความรอบคอบ แต่ไม่ได้เกิดจากความจงใจทำผิด ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหาย เจ้าตัวแสดงความรับผิดชอบ ลาออกจากราชการ



ในการแถลงวันนี้ (9 เม.ย. 67) มีผู้ที่เกี่ยวข้องมานั่ง พร้อมตอบข้อซักถามสื่อมวลชน ในทุกประเด็นข้อสงสัย นำโดย พล.ร.อ.อะดุง พันธ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ / ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพเรือ ประธาน แถลง / พล.ร.ท.สุระศักดิ์ สิงขรวัฒน์ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 ปธส ข้อเท็จจริง / พล.ร.ต.อภิรมย์ เงินบำรุง เจ้ากรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ และ นาวาโทพิชิตชัย เถื่อนนาดี อดีตผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัย



พล.ร.อ.อะดุง เริ่มต้น แสดงความเสียใจอีกครั้งกับครอบครัวผู้เสียชีวิต 24 ราย และ สูญหายอีก 5 ราย จากเหตุเรือหลวงสุโทัยอับปาง และยืนยันว่าที่ผ่านมา ไม่ละเลยในการค้นหาผู้สูญาหาย รวมถึงการดูแลชดเชยครอบครัวผู้เสียชีวิตและสูญหายในทุกด้าน



จากนั้นก็ไล่เรียงการตั้งคณะกรรมการสอบสวน 3 คณะ ทั้งชุดที่ตั้งขึ้นมาเฉพาะสรุปข้อเท็จจริงกรณีเหตุอับปาง และสรุปบทเรียน ชุดที่ 2 ของทัพเรือภาคที่ 1 และชุดที่ 3 ตรวจสอบข้อเท็จจริงในทางละเมิด



ก็ย้ำว่าการตรวจสอบ มีการทำงานที่เป็นอิสระ ทั้งการพิจารณา และใช้วิจารณญาณ โดยข้อมูลสำคัญ ก็มาจากปฏิบัติการของกองทัพเรือสหรัฐฯ ที่สนับสนุนกองทัพเรือ ในการเก็บภาพทั้งภายนอกและภายในตัวเรือ เพื่อสำรวจห้องต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ตามข้อมูลพยาน แต่มีส่วนสำคัญที่แจ้งว่า เครื่องบันทึกกล้องวงจรปิด ได้นำส่งให้กองพิสูจน์หลักฐานกลาง สตช. แต่เครื่องเล่นไม่สามารถอ่านได้ เนื่องจากมีความชำรุดมาก



จากนั้นกองทัพเรือเปิดวีดิทัศน์รายงานผลสอบเหตุการณ์เรือหลวงสุโขทัยล่ม สถานการณ์บนเรือ การติดต่อสื่อสาร และการช่วยเหลือหลังเรือจม สรุปได้ว่า มีผลกระทบสภาพอากาศ คลื่นลม แปรปรวนรุนแรง มีคลื่นสูง 6 เมตร ขณะที่เรือหลวงสุโขทัย สามารถเดินเรือได้ในความสูงของคลื่น 2.5 เมตร ทำให้การควบคุมเรือเป็นไปได้ลำบาก ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นคืนเดือนมืดท้องฟ้ามีเมฆมากมีข้อจำกัดในการตรวจการให้ความช่วยเหลือ



ต่อมา พลเรือตรีอภิรมย์ ระบุต่อว่า กองทัพเรือดำน้ำสำรวจตัวเรือ 4 ครั้ง ใน 3 ครั้งแรกเป็นการปฏิบัติของกองทัพเรือเอง ไม่สามารถเข้าไปในตัวเรือได้เนื่องจากมีความอันตราย ส่วนครั้งสุดท้ายร่วมกับกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา



สาเหตุของเรือหลวงสุโขทัยจมเพราะน้ำเข้าเรือ แบ่งได้ 2 กรณีคือ น้ำเข้าจากทางท้องเรือ ทำให้เรือจมลงไป เรียกว่าการสูญเสียกำลังลอยทำเรือจม กรณีที่ 2 น้ำเข้าเรือด้านบนเหนือจุดศูนย์ถ่วงของเรือ จะทำให้เรือเสียการทรงตัว เอียงแบบที่เรือหลวงสุโขทัยประสบในช่วงแรก ซึ่งการสำรวจ ก็มุ่งประเด็น ทำไมเรือถึงเอียงก่อนที่จะจมลงก็พบความเสียหายที่เกิดขึ้น หลายแห่ง



ตำแหน่งแรก แผ่นการคลื่น หน้าป้อมปืน 76 มม. ยุบตัวเพราะเจอคลื่นแรง จนดึงแผ่นเหล็กบนดาดฟ้าเปิดทำให้เกิดเป็นช่องรูใหญ่

พื้นที่1 ตารางนิ้ว



ตำแหน่งที่ 2 ความเสียหายของป้อมปืน 76 มม. เนื่องจากโดนวัตถุของแข็งกระแทก ซึ่งไม่พบหลักฐาน เพราะวัตถุที่ว่าไม่ติดค้างที่ป้อมปืนจึงบอกไม่ได้ว่าคืออะไร แต่เชื่อว่าโดนวัตถุขนาดใหญ่กระแทกแน่นอน เป็นช่องที่ทำให้น้ำเข้าเรือได้



ตำแหน่งที่ 3 รูทะลุบริเวณกงที่ 35 กราบซ้าย จำนวน 2 แห่ง สูงจากน้ำ 5 ฟุต โดนวัตถุภายนอกกระแทกเข้าไป รอยดังกล่าวไม่ได้เกิกที่ส่วนรอยเชื่อม จึงไม่ได้เกิดจากการซ่อมทำ ซึ่งรอยกระแทกดังกล่าว ไม่พบวัตถุที่ตกค้างว่ากระแทกจากอะไร ทำเป็นรอยกว้างยาว 1 ฟุต กว้าง 3-4 นิ้ว มีพื้นที้ 80 ตารางนิ้ว



ตำแหน่งที่ 4 ประตูห้องกระชับเชือกที่อยู่ในลักษณะเปิด มีโอกาสน้ำเข้าได้เมื่อประตูเปิด



ตำแหน่งที่ 5 ประตูท้ายห้อง gun bay ด้านป้อมปืน 76 มม.ที่ปิดไม่สนิท



ทั้งหมดนี้สรุปความเสียหายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการทำให้เรือเสียการทรงตัวและอับปาง



ส่วนลำดับเวลาที่เรือวิ่งจาก อ.สัตหีบ จ.ชลบุรีไปหาดทรายรี จังหวัดชุมพร เครื่องขัดข้องนั้นซึ่งกรณีที่เรือเจอคลื่นสูงก็จะพบกรณีนี้อยู่บ้าง เนื่องจากน้ำมันที่อยู่ในถังสกปรก ไปชำระเศษฝุ่น อุดตันหัวฉีด ส่งผลให้หัวฉีดบางส่วนใช้การไม่ได้ ทำให้เครื่องยนต์ไม่สามารถรับภาระได้ อีกทั้งเรือหลวงสุโขทัยก็ใช้งานมากกว่า 40 ปีแล้ว ซึ่งอยู่ในช่วงท้ายที่จะเข้าสู่การปลดประจำการ



ขณะที่ พลเรือโทสุระศักดิ์ ระบุว่า ได้มีการสอบปากคำของผู้ที่เกี่ยวข้อง ความพร้อมของเรือหลวงสุโขทัย ภายหลังการซ่อมทำ ในปี 2564 ได้ทดลองเป็นไปตามมาตรฐานที่กรมอู่ทหารเรือกำหนด และได้ออก ปฏิบัติราชการตามปกติ การตรวจพบความชื้นบริเวณผนังห้อง Sonar ทางกาบซ้ายของตัวเรือ เนื่องจากใช้ราชการมา 1 ปี 9 เดือน การซ่อมบำรุงของกรมอู่ทหารเรือเป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามมาตรฐาน และขณะออกเรือ เรือหลวงสุโขทัยมีความพร้อมในการปฏิบัติงาน



ด้านความเพียงพอเสื้อชูชีพต่อจำนวนกำลังพลในเรือ รวม 120 ตัว มาใช้ในราชการในเรือหลวงสุโขทัย การออกเรือครั้งนี้ มีกำลังพลขึ้นเรือ 105 นาย เสื้อชูชีพจึงเพียงพอ และมีการประกาศให้กำลังพลสมทบมารับชูชีพแล้วจำนวน 3 ครั้ง แต่กำลังพลสมทบไม่ได้ไปรับขณะที่กำลังพลประจำเรือบางนายไม่มีชูชีพเพราะไม่ได้สวมตั้งแต่แรก เพราะเมื่อไปผนึกน้ำแล้ว จึงไม่สามารถลงไปนำเสื้อชูชีพมาใช้ได้



ความพร้อมของแพชูชีพ โดยหลวงสุโขทัยมีแพชูชีพจำนวน 6 แพอยู่ทางกาบซ้าย 3 แผงกาบขวา 3 แพ ขณะเกิดเหตุกำลังพลสามารถปลดแพกาบขวาได้ 2 แพ ส่วนอีก 4 แพอยู่ในพื้นที่เสี่ยงอันตรายเข้าถึงได้ยาก แต่เมื่อเรืออับปาง แพชูชีพทั้งหมดก็หลุดออกจากแท่นติดตั้ง



ความพร้อมของกำลังพล ผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัย พิจารณาว่า ภารกิจครั้งนี้ไม่ใช่ภารกิจในการรบเต็มรูปแบบ จึงจัดกำลังพลประจำเรือออกปฏิบัติราชการจำนวน 75 นายจากจำนวน 100 นาย เพื่อจัดที่พักอาศัยบนเรือให้แก่กำลังพลจากหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินและหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งจำนวน 30 นาย ที่โดยสารไปกับเรือ เมื่อถึงภาวะที่ต้องปฏิบัติงานในสภาพอากาศ คลื่นลมที่รุนแรง ทำให้ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของกำลังพลลดลง ทั้งยังต้องป้องกันความเสียหายที่เกิดหลายสถานที่ในห้วงเวลาเดียวกัน จึงทำให้การป้องกันความเสียหายของเรือกระทำได้อย่างจำกัด



การป้องกันความเสียหายเรือหลวงสุโขทัยมีอุปกรณ์ป้องกันความเสียหายครบตามอัตราที่กำหนดและพร้อมใช้งาน เมื่อพบว่ามีน้ำเข้าเรือจนมีการสั่งการแก้ปัญหาด้วยการผลึกน้ำทันที แต่ไม่สามารถออกไปตรวจสอบความเสียหายภายนอกตัวเรือได้ เนื่องจากสภาวะคลื่นลมแรง ทำให้ไม่ทราบความเสียหายภายนอกตัวเรือ ซึ่งกำลังพลของเรือหลวงสุโขทัยได้ทุ่มเทสัพกำลังในการป้องกันความเสียหายเต็มที่สุดความสามารถเพื่อแก้ไขวิกฤต



ผลกระทบจากสภาพอากาศคลื่นลมในวันเกิดเหตุ สภาพอากาศแปรปรวนเปลี่ยนแปลงฉับพลัน จากที่มีการพยากรณ์ไว้ ซึ่งมีเรือขนาดใหญ่จำนวนหลายลำอับปาง ในห้วงเวลาใกล้เคียงกัน เป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้เรืออับปางหลายลำและมีน้ำเข้าเรือจนเป็นเหตุเรือโคลงมาก และเป็นอุปสรรคต่อการช่วยเหลือกำลังพลที่ประสบภัย จึงมีการสูญเสียกำลังพล



ส่วนการตัดสินใจนำเรือกับฐานทัพสัตหีบ ของผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัย ซึ่งมีระยะทางไกล ใช้เวลาในการเดินทางมากกว่านำเรือเข้าเทียบท่าเรือบางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยพิจารณาว่า คลื่นลมบริเวณหน้าท่าเรือมีความรุนแรง ซึ่งท่าเรือไม่สามารถเทียบท่า และไม่มีเรือลากจูงสนับสนุนการเทียบท่า การเข้าเทียบท่าอาจเป็นอันตรายต่อเรือและในเวลานั้นผู้บังคับการเรือสุโขทัย ยังไม่ทราบ ข้อมูลการฉีกขาดของแผ่นเหล็กกันคลื่นบริเวณหน้าป้อมปืน จึงเห็นว่าหากนำเรือกลับจะทุเลาความรุนแรง ซึ่งถือเป็นการตัดสินใจภายใต้ข้อมูลที่มีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งผู้บังคับการโดยรวมสุโขทัยเห็นว่าเป็นหนทางปฏิบัติที่ดีที่สุด



รับชมทางยูทูบที่ : https://youtu.be/Ffp5AkAm0YI

คุณอาจสนใจ

Related News