สังคม
สภาทนายความ จ่อฟ้อง รัฐ-เอกชน ทำ 'ปลาหมอคางดำ' ระบาด ยันมีหลักฐานครบ
โดย petchpawee_k
1 ส.ค. 2567
66 views
สภาทนายความแถลง ขณะนี้มีข้อมูลพร้อมยื่นฟ้องแพ่ง ผู้นำเข้าปลาหมอคางดำได้แน่นอน กำหนดยื่นฟ้อง 16 สิงหาคม นี้
วานนี้ (31 ก.ค.) สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ แถลงข่าว ผลการตรวจสอบปัญหาการแพร่ระบาดปลาหมอคางดำ ภายหลังมีตัวแทน 17 เครือ ข่ายประมง ที่ได้รับผลกระทบมาขอความช่วยเหลือทางกฎหมายกับสภาทนายความ พร้อมแนวทางการดำเนินคดีฟ้องร้องกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โดย ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวถึงกรณี การแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำซึ่งได้ทำการศึกษาข้อมูลมาระยะหนึ่งและได้ข้อสรุป จำเป็นต้องดำเนินการตามข้อกฎหมายกับบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานภาครัฐและบริษัทเอกชน โดยมีการฟ้องทั้งคดีทางแพ่งกับผู้ที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของปลาหมอคังดำในประเทศไทยโดยดำเนินคดีแบบกลุ่มเรียกค่าเสียหายจากการได้รับผลกระทบให้ชาวประมงและเรียกค่าเสียหายจากการที่ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายจากผู้ก่อให้เกิดมลพิษ
พร้อมการดำเนินคดีทางปกครองกับหน่วยงานภาครัฐที่อนุญาตละเลยละเว้นในการปฎิบัติหน้าที่ตามกฏหมายกำหนดทำให้เกิดการแพร่ระบาดของปลาหมอครางดำเป็นการละเมิดทางปกครองและให้หน่วยงานอนุญาตขจัดการแพร่ระบาดและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่สูญเสียไปโดยให้เรียกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการฟื้นฟูจากผู้ที่ก่อให้เกิดการระบาดของปลาหมอคางดำ
ยืนยันว่าในขณะนี้มีข้อมูลหลักฐานเพียงพอสำหรับการยื่นฟ้องบริษัทผู้นำเข้าปลาหมอคางดำ ซึ่งขอให้ความมั่นใจกับกลุ่มเกษตรกร
ด้านนายสัญญาภัชระ สามารถ อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า ในด้านกรณีของสิ่งแวดล้อมการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ ขณะนี้มีประชาชนผู้ได้รับผลกระทบเข้ามาร้องขอความช่วยเหลือทางด้านกฎหมายจากสภาทนายความ 17 จังหวัด เรื่องนี่ต้องมีหน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบ จึงเป็นที่มาของการดำเนินคดีปกครองกับหน่วยงานรัฐเพื่อให้เป็นบรรทัดฐานต่อสังคม ในกรณีที่มีเหตุซึ่งก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อทรัพยากรประเทศจะต้องมีผู้ที่รับผิดชอบ
ด้านว่าที่ร้อยตรีสมชาย อามีน ประธานอนุกรรมการสิ่งแวดล้อมฝ่ายคดีและปฏิบัติการสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายสามารถดำเนินการได้ใน 2 ลักษณะที่เป็นคดีแพ่ง คือ หนึ่งกลุ่มหน่วยงานรัฐที่มีการอนุญาตให้มีการนำเข้าสัตว์เข้ามาจนเกิดการระบาด และสองจากภาคเอกชนที่ เป็นผู้ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในประเทศไทย ซึ่งข้อมูลที่ใช้ประกอบในการดำเนินคดี คือชนิดของปลาและชนิดพันธุ์ปลาที่พบมีการแพร่ระบาดในแหล่งน้ำพบว่าเป็นชนิดและสายพันธุ์เดียวกันกับที่มีภาคเอกชนนำเข้ามา
ส่วนของหน่วยงานที่อนุญาตให้มีการนำเข้ามาจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในกรณีการละเลยการปฎิบัติหน้าที่ และมีหน้าที่ในการฟ้อง ภาคเอกชน เรียกเรื่องค่าเสียหายที่ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติได้รับผลกระทบและเงิน ค่าชดเชยที่รัฐจะต้องนำเงินงบประมาณมาใช้ในการแก้ปัญหา อย่างเช่นกรณีมีการเบิกงบ 450 ล้าน เพื่อการรับซื้อปลาหมอคางดำ และงบประมาณส่วนอื่นๆ ที่ดำเนินการไปก่อนหน้า
นายปรเมษฐ์ แดนดงยิ่ง รองประธานกรรมการคดีปกครอง กล่าวถึงแนวทางดำเนินการในกรณีการดำเนินคดีปกครองกับหน่วยงานภาครัฐ ขั้นตอนได้รวบรวมข้อมูลหลักฐานต่างๆ ครบถ้วนเพื่อนำส่งให้ศาลพิจารณาว่าหน่วยงานใดที่ต้องมีการรับผิดชอบในกรณีที่เกิดการแพร่ระบาดของกระเพาะข้างดำซึ่งมีข้อกฎหมายที่กำหนดหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐอยู่แล้ว
นายกสิธาดา คล้อยดี ตัวแทนเครื่อข่าย รักอ่าวไทยตอนบน และกลุ่มชาวประมงจาก จ.เพชรบุรี หนึ่งในเครือข่ายที่เดินทางมาร่วมขอความช่วยเหลือจากสภาทนายความฯ กล่าวถึงกรณีการเข้ามาช่วยเหลือด้านกฎหมายของสภาทนายความฯ ถือเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยเหลือกลุ่มประชาชนเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพประมงซึ่งได้รับผลกระทบจากปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2560
แม้ว่าในขณะนี้หน่วยงานภาครัฐมีมาตรการดำเนินการแต่ยังไม่เป็นผลเพราะมาตรการเป็นเพียงแค่ครั้งคราว ไม่มีความชัดเจนและไม่ต่อเนื่องจึงมีข้อเสนอหนึ่งจากกลุ่มเครือข่ายที่เล็งเห็นว่าอยากให้รัฐบาล ยกระดับปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำและประกาศเป็นเขตภัยพิบัติเพื่อให้แต่ละจังหวัดสามารถนำงบประมาณเข้ามาชดเชยเยียวยาและแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
รับชมผ่านยูทูบได้ที่ : https://youtu.be/u8hOveevWp8
แท็กที่เกี่ยวข้อง ปลาหมอคางดำ ,หมอคางดำ ,สภาทนายความ