สังคม

'อธิบดีประมง' เผยปี 60 เจอปลาหมอคางดำในบ่อบริษัทดัง - อึ้ง! น้ำร้อนปลาอื่นตายหมด แต่คางดำสุดอึด ไม่ตาย

โดย nattachat_c

22 ก.ค. 2567

51 views

จากวิกฤตการแพร่ระบาดของ 'ปลาหมอคางดำ' ในแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พยายามเร่งแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน พร้อมหาต้นตอของการระบาด


นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง เปิดเผยถึงกรณีการขออนุญาตนำเข้า เพื่อนำมาวิจัยปรับปรุงพันธุ์ ปลาหมอคางดำของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ตั้งแต่ปี 2549 ว่า กระทั่ง เดือนธันวาคม 2553 ซีพีเอฟสามารถนำปลาหมอคางดำเข้ามาได้ ผ่านด่านตรวจประมงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จากนั้น แจ้งว่างานวิจัยไม่ประสบความสำเร็จ จึงกำจัดและทำลายซากปลาทั้งหมด ในเดือนมกราคม 2554 แต่ต่อมา เริ่มพบการระบาดของปลาหมอคางดำในปี 2555 แล้วขยายวงกว้างขึ้นจนรุนแรงอย่างยิ่งในขณะนี้


อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า แม้ส่วนตัวจะเป็นอธิบดี มาได้แค่ 4 เดือน แต่จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม พบว่า ในปี 2560 เจ้าหน้าที่กรมประมงขอเข้าตรวจสอบที่บ่อเพาะเลี้ยงของซีพีเอฟที่ ต.ยี่สาร อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เพื่อตรวจหาสาเหตุเกี่ยวกับการระบาดของปลาหมอคางดำ โดยมีการทอดแหในบ่อเพาะเลี้ยง พบว่า มีปลาหมอคางดำในบ่อ จึงได้เก็บตัวอย่างจากครีบและชิ้นเนื้อ มารักษาไว้ที่ห้อง เก็บตัวอย่างของกรมประมง


ทั้งนี้ กรมได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดการระบาดของปลาหมอคางดำ รุกรานระบบนิเวศแหล่งน้ำ และสร้างผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และชาวประมง ตามคำสั่งของที่ประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการ แพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ ให้ทราบข้อเท็จจริง ภายใน 7 วันทำการ แล้วรายงานต่อร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรฯ ต่อไป

------------

วานนี้ (21 ก.ค. 67) เวลา 12.30 น. ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ไปยังบอเลี้ยงปลากะพง ของนายบุญศรี ขันคำ อายุ 71 ปี หมู่ที่ 5 ต.บางปูใหม่ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ หลังจากได้รับแจ้งว่า พบปลาหมอคางดำอยู่แน่นเต็มบ่อ มีลักษณะตัวใหญ่มาก บางตัวหนักถึงครึ่งกิโลกรัม


และที่พิเศษสุดต่างจากแหล่งอื่น คือ ปลาหมอคางดำที่บ่อนี้อยู่ได้ในน้ำร้อน หมายถึงน้ำที่มีอุณหภูมิสูงกว่าพื้นดินหรืออากาศทั่วไป ขณะที่สัตว์น้ำชนิดอื่นตายหมดยกบ่อ เช่น ปูทะเล ปลากะพง


นอกจากปลาหมอคางดำแล้ว ยังพบปลาหมอมายันอีกด้วย ในระหว่างที่ลงมือทอดแหจับอยู่ มีลูกปลาหมอคางดำตัวเล็กๆ กระโดดไป-มา อยู่ตลอด ส่วนปลาหมอคางดำนั้น มีขนาดตัวใหญ่ สีสันสวยงาน เป็นสีรุ้ง คาดว่าน่าจะเป็นตัวผู้ที่เพิ่มสีตัวเอง เป็นการดึงดูตัวเมียให้สนใจเข้ามาผสมพันธุ์


น.ส.ธนภร เจียรสุข นายกสมาคมการประมงคลองด่าน ได้นำลูกปลาหมอคางดำ ที่จับใส่ขวดน้ำพลาสติกใสมาให้ดู กล่าวว่า บ่อนี้ มีพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ เจ้าของบ่อจับปลาหมอคางดำ ขึ้นมาได้ประมาณ 100 กว่ากิโลกรัม ซึ่งยังจับขึ้นมาไม่หมด ทำให้คิดต่อไปได้ว่า ถ้าพวกมันอยู่ในทะเลจะขยายพันธุ์มีปริมาณมากมายขนาดไหน


และที่บ่อแห่งนี้ ปลาหมอคางดำที่พบมีขนาดใหญ่มากตั้งแต่เคยเห็นมาในหลายสถานที่ นอกจากนี้ ยังพบปลาหมอมายัน ลักษณะมีจุดดำที่ปลายหางอยู่ในบ่ออีกด้วย เป็นสัตว์สายพันธุ์ต่างถิ่น หรือ เอเลี่ยนสปีชีส์ (Alien Species) ซึ่งก็เป็นปัญหากับเกษตรกรเช่นกัน

---------------


รับชมผ่านยูทูบได้ที่ : https://youtu.be/2E_hzwm8oxs



คุณอาจสนใจ