สังคม

เช็ก 9 ยี่ห้อลูกชิ้นเถื่อน หลังพบ 2 โรงงานไม่ถูกสุขลักษณะ ผลิตวันละ 500 กก. ส่งขายเกลื่อนเมือง

โดย nattachat_c

23 ม.ค. 2567

1.7K views

วานนี้ (22 ม.ค. 67) ตำรวจปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ปคบ.) สนธิกำลังร่วมกับ เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เข้าตรวจค้นเป้าหมาย 2 จุด ในพื้นที่หมู่ 4 ต.ลาดสวาย อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี  


หลังสืบทราบว่า เป็นสถานที่ผลิตและจัดส่งจำหน่ายลูกชิ้นเถื่อนไม่ถูกสุขลักษณะให้ลูกค้าในพื้นที่กรุงเทพฯ และใกล้เคียง พบทั้ง 2 จุด ดัดแปลงบ้านพักเป็นโรงงานผลิตลูกชิ้นโดยไม่ได้รับอนุญาต มีนายสุนทร และ น.ส.เพชรนภา (สงวนนามสกุล) แสดงตัวเป็นเจ้าของกิจการ


ตรวจสอบภายในโรงงาน พบ...

  • ลูกชิ้นหมูเถื่อนหลากหลายยี่ห้อกว่า 2,400 ถุง
  • เครื่องจักร
  • บรรจุภัณฑ์
  • ส่วนผสมต่างๆ ที่ใช้ในการผลิตลูกชิ้น รวมกว่า 31 รายการ  


พร้อมทั้งตรวจพบ ลูกชิ้นไม่มียี่ห้อ และมียี่ห้อรวม 9 ยี่ห้อ คือ

1. ลูกชิ้นหมู ตราตี๋ใหญ่ฯ  

2. ลูกชิ้นหมูเมืองทอง ตราโกดี KODEE  

3. ลูกชิ้นหมูเมืองทอง ตราที.เค    

4. ลูกชิ้นหมู ตราตี๋เล็ก

5. ลูกชิ้นเนื้อตราตี๋ใหญ่  

6. ลูกชิ้นเนื้อ ตรา เฮง  

7. ลูกชิ้นเนื้อตราเมืองเอก

8. ลูกชิ้นหมู AR

9. ชาย 2 ลูกชิ้นหมู

------------------

จากการตรวจสอบกระบวนการผลิต พบว่า โรงงานไม่ถูกสุขลักษณะ

  • มีพนักงานช่วยกันต้มลูกชิ้นหมู ที่ผ่านการบดปั้นเป็นก้อนกลมในเครื่อง ลงมาต้มในภาชนะอีกต่อ  
  • ก่อนจะบรรจุถุงส่งจำหน่าย
  • ตัวเครื่องต้มลูกชิ้น เมื่อแห้งแล้ว จะมีลักษณะเป็นสนิม และมีเชื้อราขึ้นเต็มเป็นแผ่นสีดำยาว  
  • เครื่องบดหมู
  • การเก็บหมูสับในถังเก็บความเย็นสีแดง ไม่ถูกสุขลักษณะอนามัย มาตรฐานของ อย.

------------------

เจ้าของโรงงานทั้ง 2 คน ยอมรับว่า


ลักลอบผลิตลูกชิ้น โดยไม่ได้รับอนุญาตจากจาก อย. และ สสจ.ปทุมธานี โดยวัตถุดิบส่วนใหญ่ซื้อมาจากตลาดสดทั่วไป นำมาผลิตเป็นลูกชิ้นบรรจุถุง ส่งขายให้ลูกค้าตามตลาดสดในพื้นที่ปทุมธานี, กรุงเทพฯ และพื้นที่ใกล้เคียง เช่น ตลาดรังสิต // ตลาดคลองเตย // ตลาดไท


จากนั้น จะมีผู้ค้ารายย่อยมารับสินค้าไปกระจายต่ออีกทอดหนึ่ง


ซึ่งทั้ง 2 จุด มีกำลังการผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ลูกชิ้น วันละประมาณ 500 กิโลกรัม เฉลี่ยเดือนละ 15,000 กิโลกรัม


เบื้องต้น เจ้าของโรงงาน มีความผิดตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 ฐาน "จำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารที่แสดงฉลากไม่ถูกต้อง" ระวางโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท  


โดยเจ้าหน้าที่ได้เก็บตัวอย่างอาหาร ส่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อตรวจวิเคราะห์ หาสารบอแรกซ์  ชนิด และปริมาณวัตถุกันเสีย และจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค  


ซึ่งหากพบสารต้องห้าม (บอแรกซ์ ) ในอาหาร จะมีความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 ฐาน "ผลิตอาหารไม่บริสุทธิ์" ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

-----------


รับชมผ่านยูทูบได้ที่ : https://youtu.be/7iNF5Wx9JjU


คุณอาจสนใจ

Related News