สังคม
'สุริยะ' แถลงเบ้าลูกปืนพังทำล้อประคองหลุด เป็นข้อบกพร่องของโรงงาน ลั่นจะไม่ให้เกิดขึ้นอีก
โดย nattachat_c
4 ม.ค. 2567
37 views
วานนี้ (3 ม.ค.66) กระทรวงคมนาคม นำโดย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาชี้แจง และหารือถึงแนวทางป้องกันเหตุ ประกอบด้วย รฟม. / กรมการขนส่งทางราง / บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (EBM) ฯลฯ
ก่อนที่จะตั้งโต๊ะแถลงถึงกรณีดังกล่าว โดยนายสุริยะ ระบุว่า ได้ข้อมูลถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นค่อนข้างชัดเจนแล้ว ว่าสาเหตุเบื้องต้น พบว่า เกิดจากเบ้าลูกปืน (Bearing) ของล้อประคอง (Guide Wheel) ด้านล่างฝั่งขวา ซึ่งอยู่ด้านนอกของคานทางวิ่ง เสียหาย หลุดออกจากแคร่ล้อ ทำให้ล้อประคองหลุดร่วงลงมา
จากนั้นนายสุรพงษ์ รมช.คมนาคม ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า หลังจากลงพื้นที่จุดเกิดเหตุ เข้าไปดูที่อู่ซ่อม และได้ประชุมกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ว่าเกิดจาก Defect หรือข้อบกพร่องของโรงงานผู้ผลิต // ส่วนสาเหตุเชิงลึกของล้อหลุดต้องใช้เวลาในตรวจสอบโดยละเอียด
ตามกำหนดของรถชั่วโมงการใช้งานจริงๆของล้ออยู่ที่ 320,000 กิโลเมตร แต่เราใช้ได้เพียง 62,000 กิโลเมตรแล้วเกิดเหตุ หมายความว่าใช้ได้เพียง 20% เท่านั้น // ซึ่งทุกขบวนตัองมีการตรวจสอบ 100% และต้องโฟกัสไปที่แบริ่งในส่วนของตัวลูกปืน
ส่วนแพลนต่อจากนี้ ทุกขบวนต้องมีการเช็คแบบ 100% และ ให้ร่นระยะเวลาการตรวจเช็ค และเปลี่ยนลูกปืนของล้อ จากปกติ ห่าง 1 มล. ถึงมีการเปลี่ยน แต่ให้ปรับเป็น 0.5 มล.
เมื่อถามว่าหากระบุว่า ข้อบกพร่องมาจากโรงงานที่ผลิตล้อ จากนี้ต้องมีการหยุดใช้เลยหรือไม่ นายสุรพงษ์ ระบุว่า ล้อที่หลุดออกมาเป็นล้อไกด์ไลน์ เป็นล้อประคองข้าง ล้อนี้ไม่ใช่ล้อหลัก // แต่ล้อหลักอยู่ด้านในรางอยู่ในร่อง และขณะนี้ได้สั่งตรวจล้อสำรองจาก ล็อตเดียวกันนี้แล้ว และให้ระงับใช้ล้อสำรองจากล็อตนี้ทั้งหมด // ซึ่งการระงับนี้ไม่ส่งผลต่อการให้บริการ // ทั้งนี้ ยืนยันว่า ช่วงเวลาเกิดเหตุ ได้มีการตรวจเช็คระบบแล้วว่าชั่วโมงบำรุงรักษาตรงตามรอบ // จีงมั่นใจได้ว่า Defect จากโรงงานผู้ผลิต
นายสรุพงษ์ กล่าวว่า สำหรับระบบโมโนเรล มีการใช้หลายประเทศ โดยบริษัทแม่คือประเทศฝรั่งเศส // สำหรับเหตุการณ์นี้ ถือเป็นเคสแรกในไทย // เป็นเคสที่ 3 ของโลกที่ล้อหลุด // ส่วนเกิดขึ้นครั้งแรกสำหรับเหตุการณ์ล้อรถไฟฟ้าหลุดคือที่ประเทศบราซิลเมื่อ 4 ปีที่แล้ว และครั้งที่ 2 คือเมื่อ 2 ปีที่แล้วที่ประเทศจีน
ทั้งนี้ทั้งนั้น ในส่วนของระบบโมโนเร็วมีข้อดีคือระยะเลี้ยวสั้น // ไต่ความลาดชันได้ดีกว่า // ส่วนข้อเสียอย่างที่เห็น แต่ทำอย่างไรไม่ให้เกิด จึงได้ปรับมาตรการต่างๆในการตรวจเช็ค จากเดิมทุก 15 วัน เป็น 7 วัน เพื่อมีการตรวจสอบให้ถี่ขึ้น
เมื่อถามว่าช่วงนี้เกิดเหตุกับรถไฟฟ้าระบบโมโนเรลบ่อยครั้ง แล้วระบบนี้ยังคงเหมาะสมกับการใช้ในประเทศไทยหรือไม่ นายสุรพงษ์ เป็นคำถามที่ตนคั้งคำถามเช่นเดียวกัน ซึ่งต้องตรวจสอบในเชิงลึกตามกรอบเวลา 1 เดือน ซี่งจะดูทั้งเรื่องอุณหภูมิ และจากนี้ต้องตั้งเป็คำถาม ? ไว้ ว่าเหมาะสมหรือไม่ // หากเหมาะสม เหมาะสมแบบใด // แต่เบื้องต้นมีการตั้งสมมุติฐานในการตรวจสอบไว้แล้วในประเด็นของเรื่องอุณหภูมิ // ความชื้น // ระยะเวลาในการวิ่งต่อเนื่อง // ทั้งหมดนี้ต้องออกมาเป็นรายละเอียดทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และหลักวิศวกรรมศาสตร์
ขณะที่ นายสุริยะ รมว.คมนาคม กล่าวเสริม ว่า ส่วนตัวไม่เชื่อว่าเกิดจากเรื่องของอุณหภูมิ เพราะเชื่อว่ามีการทดสอบและศึกษาปัจจัยเกี่ยวกับอุณหภูมิมาก่อนอยู่แล้ว
เมื่อถามว่าช่วงทดสอบการเดินรถ มีรายงานปัญหาจากเรื่องอุณหภูมิหรือไม่ ประเด็นนี้ นายพิเชษฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง ระบุว่า ตอนที่ทดสอบการเดินรถ เราวิ่งรถช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย และช่วงเกิดเหตุล่าสุดไม่ใช่ช่วงหน้าร้อน และไม่ใช่ช่วงอุณหภูมิสูงสุด // แต่เราได้ส่งชิ้นส่วนข้อล้อไปตรวจสอบด้วย LAB แล้วว่ามีการเบิร์นบริเวณท่อลูกปืนหรือไม่ เบื้องต้น อุณหภูมิไม่เกินขอบเขตของวัสดุ
ส่วนที่สงสัยว่าระบบโมโนเรลไม่ดี ในอดีตที่ผ่านมาทุกระบบมีจุดเปราะบางที่ต้องระมัดระวังอยู่แล้ว ซึ่งเราทราบแล้วว่ากับประเทศไทยเปราะบางจุดไหน // จากนี้ต้องระมัดระวังในส่วนนี้ให้มากขึ้น // ซึ่งจุดนี้ผู้ผลิตทราบแล้ว และจะทยอยเปลี่ยนให้ทั้งหมดภายใน 6 เดือนจากโรงงานใหม่
ขณะที่ นายสุริยะ รมว.คมนาคม กล่าวช่วงท้ายว่า กระทรวงคมนาคมขอยืนยันความปลอดภัยในระบบรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และจะดำเนินทุกมาตรการไม่ให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอีกทั้งการป้องกัน ตรวจสอบ ในด้านความปลอดภัยการเดินรถและกำหนดมาตรการ กฎระเบียบลงโทษผู้รับเหมา เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนทั้งที่ใช้บริการรถไฟฟ้า และใช้ชีวิตเดินทางสัญจรในพื้นที่ของรถไฟฟ้า ในอนาคตจะมีการพิจารณาถึงเรื่องการตัดคะแนนหรือพิจารณาขึ้นบัญชีแบล็คลิสต์ เพื่อสร้างมาตรฐานให้กับผู้ประกอบการ
ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเหลืองตั้งแต่วานนี้ (3 ม.ค.67) มีการเดินรถ เพียง 5 ขบวน ปกติวิ่ง 21 ขบวนจากทั้งหมด 30 ขบวน โดยปรับรูปแบบการให้บริการโดยมีความถี่ทุก 30 นาที // แต่เบื้องต้นคาดว่าในวันเสาร์ที่ 6 ม.ค.นี้ การเดินรถจะกลับมาให้บริการปกติ ระยะเวลา 10 นาทีต่อขบวน // และในวันจันทร์ ที่ 8 ม.ค. ในชั่วโมงเร่งด่วน จะใช้เวลา 5 นาที ต่อขบวน // ซึ่งช่วงนี้ให้บริการฟรี ส่วนคนที่จ่ายเกิดจากการเข้าใจผิดและได้มีการคืนเงินให้ผู้โดยสาร
ก่อนจะย้ำว่า ในวันนี้ที่หยุดใช้เราไม่ได้เป็นห่วงตัวรถ แต่เป็นห่วง ว่าหากเกิดเหตุแบบนี้ขึ้นอีก กลัวคนที่อยู่
ช่วงนี้นักข่าวถามนายสุริยะ ว่า ลองไปขึ้นรถไฟฟ้าสายสีเหลืองดูอีกครั้งเพื่อเรียกความเชื่อมั่นเรื่องความปลอดภัยหรือไม่ นายสุริยะ ตอบว่า “พร้อมไป”
นอกจากนี้ยังมีอีกประเด็นที่ผู้สื่อข่าวถามกระทรรวงคมนาคม คือเรื่องรถไฟฟ้าสายสีชมพู ซึ่งนายสุริยะ กล่าวว่า ในส่วนของรถไฟสายสีชมพูที่เกิดเหตุก่อนหน้านี้ได้ยืนยันไปหมดแล้วว่า เกิดจากการดึง ชีตไพล์ (Sheet pile) พร้อมย้ำว่าเป็นอุบัติเหตุจริงๆ ซึ่งรถไฟฟ้าสายสีชมพู ขณะนี้วิ่งได้ทั้งหมด 26 สถานี จาก 30 สถานี // ส่วนการซ่อมแซมคาดว่าจะเสร็จเร็วๆนี้
ขณะที่ผู้ว่า รฟม. ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ภายในสิ้นเดือนนี้ ซ่อมแซมเสร็จอย่แน่นอน กำลังรออะไหล่เข้ามา โดยระยะทางในการซ่อมทั้งหมดคือ 4,200 เมตร // เวลาในการซ่อมคือ 21 วัน เพราะซ่อมได้คืนละ 200 เมตร ซึ่ง เสร็จสมบูรณ์ภายในสิ้นเดือนมกราคมนี้อย่างแน่นอน
ช่วงท้าย นายสุริยะ กล่าวว่า ตั้งแต่ปีใหม่ทำไมมังกรดุจัง ขณะเดียวกันพบว่าที่ประเทศญี่ปุ่นเกิดซึนามิและเกิดเหตุด้านการบิน ตนได้สั่งการเจ้าหน้าที่อากาศโยธินรีบไปศึกษาและขอข้อมูลเบื้องต้นกับประเทศญี่ปุ่น และรีบมารายงานป้องกันไม่ให้เกิดเหตุกับประเทศไทย
------------
กรณีเหตุล้อประคองหลุดร่วงจากบวนรถไฟฟ้าสายสีเหลือง หล่นลงมาใส่รถแท็กซี่ที่กำลังสัญจรผ่าน บน ถนนเทพารักษ์ กม.3 ก่อนถึงสถานีไฟฟ้าสายสีเหลืองศรีเทพาไม่ถึง 100 เมตร เมื่อวันที่ 2 ม.ค.67 ที่ผ่านมา
วานนี้ (3 ม.ค.67) เวลา 01.30 น. เพจ รถไฟฟ้ามหานครสายสีเหลือง ประกาศปรับการการเดินรถ ระบุว่า “วันที่ 3 ม.ค. 2567 รถไฟฟ้ามหานคร ‘สายสีเหลือง’ ปรับรูปแบบการเดินรถ ขบวนรถไฟฟ้าให้บริการทุก 30 นาที (ผู้โดยสารโปรดพิจารณา วางแผนการเดินทาง ขออภัยในความไม่สะดวกครับ) ติดต่อ สอบถามแอดมินได้ที่ @pinkyellowline
หลังจากโพสต์แจ้งปรับการเดินรถ พบว่า ประชาชนที่ใช้บริการต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นบอกว่ารอรถเป็นเวลานาน // เห็นแจ้งว่า 30 นาที แต่บางสถานีบอกว่า 55 นาที เช่น ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งแล้ว บอกว่า
“ตอนนี้รอ 55 นาทีแล้วค่ะ การประชาสัมพันธ์ห่วยแตกมาก // เราลงจากสายสีเขียวมา ถามจนท.บอกเปิด แต่ไม่บอกว่าเดินรถทุก 55 นาที ทำงานไม่โคกันเลย เข้าใจนะว่าคนละหน่วยงาน แต่ทำงานไม่ Professional มาเจอป้ายแปะโง่ๆหน้าสถานี รอ 55 นาที
บางรายบอกว่า “แจ้งว่ารถมาทุก 30 นาที พอมาถึงสถานีเปลี่ยนเป็น 50 นาที ควรแจ้งทางเพจล่วงหน้ามั้ยคะ ไม่ใช่แจ้งหน้าสถานี ลูกค้าไปถึงสถานีแล้ว ต้องมาเปลี่ยนแพลนกลางทางไม่พอ แถมยังเสียค่าบริการรถก่อนหน้าไปแล้วอีกเพื่อเดินทางมา ขัดข้องไม่ว่าค่ะ แต่ควรแสดงความรับผิดชอบต่อลูกค้าให้มากกว่านี้นะคะ”
ขณะที่อีกรายเข้ามาตั้งคำถามว่า “สรุป กี่นาทีแน่คะ ควรมี ตาราง บอกเวลา ที่แน่นอน จะได้รู้ว่า เรา จะไป ถึงสถานี ยังไง ใกล้เคียงเวลา รถมา”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากเกิดเหตุเพจหลัก “รถไฟฟ้ามหานครสายสีเหลือง” ไม่มีการชี้แจงถึงสาเหตุเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น // มีเพียงโพสต์ปรับการเดินรถเท่านั้น // จนประชาชนเข้ามาตั้งคำถามกันและบอกว่าให้ทางเพจชี้แจง เช่นผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งเข้ามาแสดงความคิดเห็นในเพจระบุว่า “แจ้งเรื่องอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ลงในเพจด้วยค่ะ ผู้โดยสารจะได้ทราบถึงสาเหตุที่ต้องปรับเวลาการเดินรถ ทำอะไรอย่ากลัวความจริงค่ะ ความจริงมันก็คือความจริง เหตุมันเกิดแล้ว ก็แก้ไขกันไป แต่ไม่ใช่ปิดบัง”
ต่อมาเวลา 17.28 น. ทางเพจได้ประกาศอีกรอบปรับเวลา จาก ให้บริการทุก 30 นาที เป็น 20 นาที โดยยกเว้นค่าโดยสาร ตั้งแต่เวลา 06.00 - 24.00 น.
ช่วงเดียวกันนี้ทีมข่าวลงพื้นที่สำรวจบรรยากาศ การใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองของประชาชนสถานีศรีเทพา และสถานที่ศรีด่านพบว่าประชาชนค่อนข้างใช้บริการน้อยคาดว่าเพราะระยะเวลาการให้บริการนานกว่าปกติ // จากการสังเกตของทีมข่าวพบว่าไม่มีการติดป้ายประกาศให้ประชาชนทราบว่ารถให้บริการทุกๆกี่นาที // มีเพียงเสียงประกาศของเจ้าหน้าที่เมื่อรถใกล้ถึงสถานีเท่านั้น // แต่ได้ข้อมูลตรงกันว่ามีการปรับเวบลาให้บริการเป็นทุกๆ 20 นาที
ทีมข่าวได้คุยกับประชาชนท่านหนึ่ง ที่ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง คือคุณลุงวิเศษณ์สัมพันธ์ กันหะ ขณะนั้นเพิ่งลงจากรถไฟฟ้า เล่าว่า ตนเพิ่งนั่งมาจากสถานีแยกลำสาลี มาสถานีศรีเทพา รอรถ 18 นาที // แต่เมื่อช่วงเช้าตนนั่งจากสถานีศรีเอี่ยมมาสถานีศรีเทพา ใช้เวลารอรถ 30 นาที
ทั้งนี้ ไม่ทราบมาก่อนว่า มีการประกาศว่ารถจะมาทุกๆ 30 นาที // ขึ้นมาถึงสถานีแล้วถึงทราบ // แม้จะรีบแต่ก็ได้ขึ้นมาแล้วจึงต้องรอต่อไป
เมื่อถามว่าเป็นกังวลหรือไม่ที่ต้องใช้บริการเพราะเพิ่งเกิดเหตุ เจ้าตัวบอกว่าไม่เป็นกังวล กล้าใช้บริการเหมือนเดิมเพราะเชื่อว่าน่าจะมีการแก้ไขแล้ว
----------------
รับชมผ่านยูทูบได้ที่ : https://youtu.be/m376qTlTKXk