สังคม

GISTDA เผยค่าฝุ่นระดับสีแดงมีถึง 14 จังหวัด - ย้อนฟัง 'หมอกฤตไท' ตั้งคำถามเรื่องอากาศ

โดย nattachat_c

11 ธ.ค. 2566

51 views

วันนี้ (11 ธ.ค. 66) เวลา 06.00 น. คุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร มีดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) 106 AQI มีผลกระทบต่อผู้ป่วย หรือร่างกายอ่อนแอ


เมืองที่มี ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) และมลพิษทางอากาศ PM2.5 มากที่สุด 10 อันดับแรก ของประเทศไทย เมื่อเวลา 06.00 น. วันที่ 11 ธ.ค. 66 มีดังนี้


1. เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา, จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 163 

2. Bang Bon, กรุงเทพฯ 158

3. ขอนแก่น, จังหวัดขอนแก่น 158

4. ลำลูกกา, จังหวัดปทุมธานี 158

5. พัทยา, จังหวัดชลบุรี 155

6. Bang Sao Thong, จังหวัดสมุทรปราการ 154

7. Thawi Wattana, กรุงเทพฯ 154

8. พิษณุโลก, จังหวัดพิษณุโลก 152

9. สุโขทัย, จังหวัดสุโขทัย 148

10. บางกรวย, จังหวัดนนทบุรี 146

-------------

เมื่อวานนี้  (10 ธ.ค.66) GISTDA เกาะติดสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ด้วยข้อมูลจากดาวเทียมผ่านแอปพลิเคชั่น “เช็คฝุ่น” โดยเป็นข้อมูล ณ เวลา 11.00 น. ของวันที่ 10 ธันวาคม  พบว่า 52 จังหวัดของประเทศไทย มีค่าฝุ่นเกินมาตรฐานที่ส่งผลต่อสุขภาพระดับสีแดง 14 จังหวัด สูงสุด 5 อันดับแรก คือ สมุทรปราการ , กรุงเทพมหานคร , นนทบุรี , ปทุมธานี และอ่างทอง ในขณะที่อีก 38 จังหวัด เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพในระดับสีส้ม


ดยในส่วนของกรุงเทพมหานคร  เมื่อวานนี้ (10 ธ.ค.66) ค่าฝุ่น PM2.5  เกินมาตรฐานระดับสีแดงทุกเขต สูงสุดอยู่ที่  ยานนาวา บางคอแหลม บางกอกใหญ่ ราษฎร์บูรณะ สาทร เป็นต้น  ซึ่งตลอดทั้งวันเมื่อวานนี้   สภาพอากาศท้องฟ้าทุกเขตของ กทม. มีหมอกและควันปกคลุมเต็มพื้นที่  ตั้งแต่เช้าถึงบ่าย และเริ่มคลายตัวเล็กน้อยในช่วงเย็นโดยช่วงเช้าวานนี้ (10 ธ.ค.66)  กทม.มีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เกินมาตรฐาน 69 พื้นที่ ทุกเขตอยู่ในระดับสีแดงและสีส้ม  สูงสุดอยู่ที่เขตหนองแขม ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81  มีค่าอยู่ที่ 72.3 ไมโครกรัมต่อลูกบาศ์กเมตร   //   ต่อมาช่วงเที่ยง พบว่า กทม.ทุกเขตเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีแดงทุกเขต  สูงสุดที่เขตยานนาวา และค่อยๆทยอยลดลง เหลือ 20 เขตในช่วงบ่าย  //  กระทั่ง ช่วงเย็น เวลา 16.00 น0 พบว่า มี 6 เขตที่อยู่ในระดับสีแดง ได้แก่ เขตบางขุนเทียน ยานนาวา ธนบุรี ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา ภาษีเจริญ / สูงสุด ริมถนนพระราม 3 เขตยานนาวา อยู่ที่ 77.6 ไมโครกรัมต่อลูกบาศ์กเมตร


  ทั้งนี้เป็นผลมาจาก สภาพอากาศในช่วงวันที่ 10-18 ธันวาคมนี้ การระบายอากาศค่อนข้างไม่ดี สภาวะใกล้พื้นผิวสลับเปิด จึงคาดว่าจะทำให้ความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็กมีแนวโน้มทรงตัว  สำหรับผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ ควรลดทำกิจกรรมกลางแจ้งและหาอุปกรณ์ป้องกัน  

-----------
นพ.กฤตไท ธนสมบัติกุล อาจารย์ประจำศูนย์ระบาดวิทยาคลินิก และสถิติศาสตร์คลินิก ภาพวิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทย์ศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอด ซึ่งออกมาเผยแพร่เรื่องราวชีวิตในขณะป่วยมะเร็งปอดระยะสุดท้าย ผ่านเพจ สู้ดิวะ


อยู่ในเชียงใหม่มา 10 ปี อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีฝุ่นเกินค่ามาตรฐาน ส่วนตัวเมื่อส่งชิ้นเนื้อไปตรวจ พบว่ามีพันธุกรรมที่กลายพันธุ์ หลักการเรื่องกลายพันธุ์ของมะเร็ง คือมีเซลล์ที่ผิดปกติ หรือยีนส์ที่ผิดปกติ แต่ถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยอื่นๆ แน่นอนว่าเมื่อมองในเรื่องของมะเร็งปอด ปัจจัยที่จะกระตุ้นคือการสูบบุหรี่ และพวกฝุ่น


บอกจุดยืนก่อนว่าจริงๆตัวผมไม่ได้เชี่ยวชาญระบบการเมืองการปกครอง แต่ในฐานะประชากรคนหนึ่งที่ศึกษาหาความรู้เรื่องพวกนี้ อยากเห็นสักอย่างหนึ่งที่หน่วยงานภาครัฐกำลังแอคชั่นในการแก้ไขเรื่องนี้ ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาเร่งด่วนทุกปี เราไม่ได้พูดถึงการแก้ระยะกลาง ระยะยาว แต่เป็นเรื่องเร่งด่วนทุกปี โดยการแก้ปัญหาเช่น การแจกแมสก์ การฉีดน้ำลดฝุ่นควันที่ตัวมอนิเตอร์ ซึ่งมันตลก


ผมมองว่าการที่เราจะจัดการกับเรื่องนี้ได้คือเราต้องให้ความสำคัญกับมันก่อน ไม่ใช่ว่าบ้านเราไม่เก่ง หรือไม่มีคนที่มีฝีมือที่มีประสบการณ์หลายท่านที่พร้อมทำได้ แต่ยังไม่เห็นองค์กรที่จริงจังกับเรื่องนี้จริงๆ


มันจะมีห้องๆหนึ่ง ที่มีคนมีอำนาจ 10 คน 20 คน ออกมาทุบโต๊ะออกนโยบายที่จะแก้ปัญหาทั้งประเทศ ทั้งที่เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าปัญหาเกิดจากอะไร มาจากควันรถ จากการเผาป่า แค่ชาวบ้านเผาจะทำให้ฝุ่นขึ้นเกินค่ามาตรฐานจริงหรือไม่ หรือว่าเป็นของโรงงานอุตสาหกรรม หรือ มาจากประเทศเพื่อนบ้าน แล้วเราจะมีวิธีการจัดการกับมันในระยะยาวได้อย่างไร เราจะหวังให้เด็กที่กำลังเกิดมาไอคิวน้อยอย่างนี้เหรอ


ทั้งนี้ผมเข้าใจว่าเราอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งความสำคัญด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นมีมากการเรื่องสุขภาพของประชาชน

-----------



รับชมผ่านยูทูบได้ที่ : https://youtu.be/pBJdm9ivUUI

คุณอาจสนใจ

Related News