สังคม

บุกจับ 'อีกัวนา' คำชะโนด บางส่วนยังมองเรื่องความเชื่อ - เทียบความต่าง 'ตะกอง' กับ 'อีกัวนา'

โดย nattachat_c

17 พ.ย. 2566

150 views

จนท.บุกจับ อีกัวนา คำชะโนด อุดรธานี หลังกรมอุทยานฯ สั่งจัดระเบียบ - เบื้องต้นจับได้ 3  ตัว นำส่งศูนย์อนุรักษ์สัตว์ป่า ตปท.ดูแล – ยังพบขยายพันธุ์แล้วอีกเพียบ เตรียมพูดคุยชาวบ้านถึงความจำเป็นจับย้าย เหตุบางส่วนยังมองเรื่องความเชื่อ


จากกรณีที่ผู้สื่อข่าวได้รับรายงานจากแหล่งข่าวจากกรมอุทยาน ว่า มีนักศึกษาปริญญาโทคนหนึ่งเข้าไปศึกษาและวิจัยในพื้นที่ชุมชนเขาพญาเดินธง จ.ลพบุรี แล้วพบเจอ อีกัวนาเขียวที่บริเวณชุมชนเขาพญาเดินธง จ.ลพบุรี และพบว่ามีการขยายพันธุ์ของอีกัวนาเขียว ซึ่งอีกัวนาเขียว นับเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ (Alien Species)  ซึ่งเอเลี่ยนสปีชีส์ (Alien Species) คือสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นที่ไม่ได้มีต้นกำเนิดในพื้นที่หรือสิ่งแวดล้อมนั้น แต่เป็นสัตว์ควบคุมที่มาจากการนำเข้ามาจากต่างประเทศหรือแพร่กระจายพันธุ์เข้ามา สร้างผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศเดิม และมีการนำเสนอไปแล้วก่อนหน้านี้


กระทั่งวันที่ 15 พ.ย.66 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ออกแถลงการณ์ เรื่อง การแก้ไขปัญหาการแพร่กระจายพันธุ์ของอีกัวน่าเขียว สัตว์ต่างถิ่น โดยสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดดำเนินการสำรวจอีกว่าหน้าเขียวที่ไม่มีผู้ครอบครองทั่วประเทศและดำเนินการดักจับเพื่อนำมาดูแลต่อไป

.

ส่วนอีกที่ที่ทีมข่าวเรื่องเล่าเช้านี้ได้รับข้อมูลคือ บริเวณพื้นที่วัดป่าคำชะโนด อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี ตามรายงานพบว่ามีประชากรมากกว่า 10 ตัว ซึ่งยังไม่มีการสำรวจในการประเมินประชากร


วานนี้ (16 พ.ย.66) นายสมบัติ สุภศร ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่าอนุรักษ์ที่ 10 จ.อุดรธานีเปิดเผยทีมข่าวเรื่องเล่าเช้านี้ ว่า นายไพบูลย์ รัตนะเจริญธรรม ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 จ.อุดรธานี จึงได้พิจารณามอบหมายให้ตน พร้อมด้วย / หัวหน้าสวนรุกขชาติบ้านดุง / หัวหน้าศูนย์อนุรักษ์และช่วยเหลือสัตว์ป่าต่างประเทศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสนธิกำลัง จำนวนประมาณ 20 นาย ออกมาดำเนินการ โดยเข้าร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาการกระจายพันธุ์ การทำลายพืชผล การรบกวนระบบนิเวศน์ของอีกัวน่าเขียว บริเวณพื้นที่คำชะโนด อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี และพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งมีนายสุชาติ ทอนมณี นายอำเภอบ้านดุง เป็นประธานการประชุม ร่วมกับคณะกรรมการบริหารพื้นที่คำชะโนด โดยได้ร่วมประชุมชี้แจงสภาพปัญหา ร่วมกันพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหา ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ ให้นำอีกัวนาเขียวในพื้นที่คำชะโนดออกจากบริเวณพื้นที่โดยด่วน


จากนั้นคณะเจ้าหน้าที่จึงร่วมกันเข้าตรวจสอบพื้นที่และดำเนินการดักจับอีกัวนาเขียว ด้วยอุปกรณ์จับอีกัวนา เป็นบ่วงคล้อง และสวิงยาว จับได้จำนวน 3 ตัว ขนาดยาวประมาณ 50 ซม. 2 ตัว อีก 1 ตัว ขนาดความยาวประมาณ 20 ซม. ซึ่งเจ้าหน้าที่จะนำไปดูแลที่ศูนย์อนุรักษ์และช่วยเหลือสัตว์ป่าต่างประเทศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อ.สังคม จ.หนองคายต่อไป ส่วนอีกัวนาเขียวที่ยังไม่สามารถจับได้ จะร่วมกันวางแผนในการดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป


ทั้งนี้ สถานการณ์ของอีกัวน่าเขียวในพื้นที่คำชะโนด พบว่ายังมีอยู่เฉพาะบริเวณคำชะโนด มีการขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนขึ้น มีทั้งตัวพ่อ แม่ และลูก โดยขนาดใหญ่เท่าที่มีข้อมูล คือ 60-70 ซม. แต่ยังไม่พบการกระจายพันธุ์ในพื้นที่ใกล้เคียง และยังไม่พบว่ามีการกระจายเข้าไปทำลายพืชผลการเกษตรของราษฎรแต่อย่างใด // ส่วนสาเหตุที่มีอีกัวน่าเขียวในพื้นที่คำชะโนด เนื่องจากมีผู้ลักลอบนำมาปล่อย หลายปีก่อนนี้ซี่งเจ้าหน้าที่ยังไม่ข้อมูลว่าใครเป็นผู้มาปล่อย


นอกจากนี้ผู้สื่อข่าวได้รับรายงานว่า อีกัวนาที่พบในพื้นที่คำชะโนด พบว่ามีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งมีประเด็นของความเชื่อ (อีกัวนาเป็นลูกหลานของสิ่งศักดิ์สิทธิ์) เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่วัดประชาชนไปกราบไหว้บูชา แล้วการที่ จนท.ไปจับชาวบ้านเห็นด้วยหรือไม่นั้น


เรื่องนี้นายสมบัติ ระบุว่า เบื้องต้นได้คุยเพียงกับพ่อค้าแม่ค้าที่ขายของบริเวณหน้าวัดคำชะโนด หลายคนเห็นชอบให้จับออกไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นประเด็นในเรื่องขอความเชื่อ ยังไม่ได้คุยกับชาวบ้านโดยละเอียด ซึ่งวันนี้  (17 พ.ย.) คาดว่า จนท.จะเข้าไปคุยกับชาวบ้านรวมทั้งสอบถามเรื่องผลกระทบอีกครั้งว่าได้รับผลกระทบอะไรจากอีกัวนาเขียวขยายพันธุ์ในพิ้นที่หรือไม่


ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ก่อนเข้าปฏิบัติการดังกล่าวเจ้าหน้าที่ได้บอกกล่าวต่อพ่อปู่ศรีสุทโธ เจ้าย่าศรีปทุมมาแล้ว

-------------
จากกรณีที่ผู้สื่อข่าวได้รับรายงานจากแหล่งข่าวจากกรมอุทยาน ว่า มีนักศึกษาปริญญาโทคนหนึ่งเข้าไปศึกษาและวิจัยในพื้นที่ชุมชนเขาพญาเดินธง จ.ลพบุรี แล้วพบเจอ อีกัวนาเขียวที่บริเวณชุมชนเขาพญาเดินธง จ.ลพบุรี และพบว่ามีการขยายพันธุ์ของอีกัวนาเขียว ซึ่งอีกัวนาเขียว นับเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ (Alien Species)  // กระทั่งวันที่ 15 พ.ย.66 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ออกแถลงการณ์ เรื่อง การแก้ไขปัญหาการแพร่กระจายพันธุ์ของอีกัวนาเขียว สัตว์ต่างถิ่น โดยสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดดำเนินการสำรวจอีกว่าหน้าเขียวที่ไม่มีผู้ครอบครองทั่วประเทศและดำเนินการดักจับเพื่อนำมาดูแลต่อไป


วานนี้ (16 พ.ย.66) นายสุทธิพงษ์ แกมทับทิม ผู้อำนวยการศูนย์อนุรักษ์สัตว์ป่า สบอ. 1 สาขาสระบุรี และนายกฤติน หลิมตระกูล ผอ. สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลพบุรี ได้ลงพื้นที่บ้านนายสมศักดิ์ แย้มเนียม บ้าน เลขที่ 109 หมู่ 3 ตำบลพัฒนานิคมอำเภอพัฒนานิค  จังหวัดลพบุรี เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจประชาชน และวางแผนสำรวจประชากรของอีกัวนา รวมทั้งความหนาแน่นการกระจายตัว ใกล้บ้านเรือนประชาชนโดยเฉพาะบริเวณที่มีต้นไม้สูงใกล้แหล่งน้ำ และบางส่วนพบเห็นตามพื้นที่ไร่สวนของประชาชน


กรมอุทยาน ให้ข้อมูลว่า จำนวนประชากรอีกัวนาที่สำรวจได้ในพื้นที่ จ.ลพบุรี เมื่อวานนี้ (16 พ.ย.66) พบทั้งหมด 71 ตัว และยังคงดำเนินการสำรวจนับประชากรอีกัวนาเขียวอย่างต่อเนื่อง


โดยวานนี้ (16 พ.ย.66) สามารถจับอีกัวนาเขียวได้จำนวนทั้งหมด 5 ตัว และจะดำเนินการดักจับอย่างต่อเนื่อง สำหรับอีกัวนาที่จับได้เจ้าหน้าที่จะนำได้ไปไว้ที่ศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าภาคกลางจังหวัดนครนายก


ขณะเดียวกันอีกัวนาที่จับได้ เมื่อวานนี้ (16 พ.ย.66) เจ้าหน้าที่ได้ทำการ Swab หาเชื้อแบคทีเรียซัลโมเนล่าอีกด้วย


ส่วนก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 14 พ.ย. ที่ผ่านมา ที่ทีมข่าวลงพื้นที่ เจ้าหน้าที่ได้ทำการเก็บตัวอย่างอีกัวนาเขียว จำนวน 2 ตัว ด้วยวิธีการ rectal swab เพื่อตรวจหาเชื้อแบคทีเรียซัลโมเนล่า ได้ทำการส่งตัวอย่างกับสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ คาดว่าผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ จะออกประมาณ 7 วันทำการ ซึ่งตรงกับวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 และวางแผนที่จะเข้าไปเก็บในพื้นที่อื่นๆเพิ่มเติม


สำหรับเรื่องโรคติดต่อระหว่างอีกัวนาสู่คนนั้น (โรคซาโมเนลโลซิส) จากก่อนหน้าที่มีการตรวจหาเชื้อ Salmonellosis ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Enterobacteriaceae ที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียได้นั้น เชื้อดังกล่าวสามารถพบได้เป็นปกติในทางเดินอาหารโดยเฉพาะลำไส้ใหญ่ของอีกัวนา หรือสัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่นๆ ในธรรมชาติ เช่น งู กิ้งก่า เต่า เมื่อสัตว์เหล่านี้ขับถ่ายอุจจาระออกมาภายนอก จึงมีการปนเปื้อน ปะปนอยู่ในสิ่งแวดล้อม น้ำ ดิน ได้ จากการศึกษาพบว่า 85% ของเต่า 77% ของกิ้งก่า และ 92% ของงู  จะเป็นพาหะของเชื้อ Salmonella spp. ซึ่งตัวสัตว์เองมักไม่แสดงอาการป่วย แต่เชื้อสามารถทำให้เกิดอาการป่วยในมนุษย์ได้ แต่อาการป่วยก็ขึ้นอยู่กับจำนวนเชื้อที่ได้รับเข้าไป ภูมิคุ้มกัน และสุขภาพของผู้ที่ได้รับเชื้อ โดยคนที่มีสุขภาพแข็งแรง ร่างการปกติดี มักไม่มีอาการรุนแรง อาจหายได้เอง อาการป่วยที่มักพบ คือ ท้องร่วง ปวดท้อง มีไข้ ภายหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 12-72 ชั่วโมง แต่ในกรณีที่ผู้ได้รับเชื้อมีผู้คุ้มกันต่ำ ผู้ป่วยHIV ผู้ได้รับเคมีบำบัด ได้รับยาสเตียรอยเป็นเวลานาน ผู้ป่วยเบาหวาน หรือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 1 ปี คนชรา จะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง และอาการมักรุนแรง ถึงอย่างนั้นโรคซาโมเนลโลซิสก็ไม่ใช่โรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่ร้ายแรงถึงขั้นหวาดกลัว หรือตื่นตระหนกเกินไป ถ้าระมัดระวังและปฏิบัติตัวเมื่อสัมผัสโดยตรงกับสัตว์เลื้อยคลาน หรือสัมผัสทางอ้อมจากสิ่งปนเปื้อนของมูลสัตว์ จึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับตัวอีกัวนาเขียว หรือสัตว์เลื้อยคลานอื่นๆ ควรมีการสวมใส่ถุงมือยางเพื่อป้องกันเชื้อโรค ล้างมือหรือส่วนต่างๆ ของร่างกายด้วยสบู่หลังจากสัมผัสอีกัวนา หรือมูลของมัน หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ที่ยังไม่สุก เพราะในเนื้อสัตว์ดิบก็สามารถพบเชื้อซาโมเนลโลซิสได้เช่นกัน และควรล้างผักและผลไม้ให้สะอาดก่อนรับประทาน เพราะเชื้อซาโมเนลโลซิสสามารถปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมได้ ทั้งนี้หากพบอีกัวนา ใกล่บริเวณบ้านควรล้างทำความสะอาดบ้าน หรือภาชนะต่าง ๆ ที่มีอีกัวนามาอยู่ในบริเวณนั้นด้วย

-------------
วานนี้ (16 พ.ย.) ผู้ใช้เฟซบุ๊ก 'TK Samaa' โพสต์ภาพพร้อมข้อความ ระบุ


"เนื่องจากช่วงนี้มีข่าวเกี่ยวกับอีกัวนาบ่อยมากๆ


อีกัวนาเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ระบาดหนักหลายพื้นที่ และบางพื้นที่ก็เริ่มหาวิธีกำจัดแล้ว


แต่มีอย่างนึงที่แอบกังวลอยู่คือ ในไทยเราเองก็มีกิ้งก่าขนาดใหญ่เช่นกัน น้องคือ ตะกอง ซึ่งตะกองเป็นสัตว์ที่มีในประเทศไทยอยู่แล้ว และติด พ.ร.บ.คุ้มครองค่ะ ห้ามล่า ห้ามเลี้ยง เกรงว่าอนาคตน้องตะกองอาจได้รับผลกระทบจากการล่าอีกัวนาเนื่องจากมีหน้าตาที่คล้ายกันมากๆ


ล่าสุดเห็นมีคนจับตะกองจะเอามากิน เพราะเข้าใจผิดคิดว่าน้องคืออีกัวนาเอเลี่ยนสปีชีส์ที่กำลังเป็นข่าว เราเลยอยากจะมาบอกวิธีแยกทั้ง 2 ชนิดนี้ค่ะ


จุดสังเกตหลักๆ เลยคือ อีกัวนาจะมีเกล็ดวงกลมขนาดใหญ่บริเวณแก้มทั้ง2ข้าง และมีเหนียงใต้คาง แต่ตะกองไม่มีทั้ง2อย่างที่กล่าวมาค่ะ


เซฟน้องตะกองด้วยนะคะ"


พร้อมยังคอมเมนต์รูปภาพของลูกตะกอง กับลูกอีกัวนา โดยระบุว่า "อันนี้รูปวัยเด็กค่ะ ค่อนข้างต่างกันชัดเจนกว่าตอนโต"

-------------

วานนี้ (16 พ.ย.) นายสัตวแพทย์ภัทรพล มณีอ่อน หรือ หมอล็อต หัวหน้ากลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้โพสต์ในเฟซบุ๊กส่วนตัว “ภัทรพล ล็อต มณีอ่อน”


ได้โพสต์ภาพขณะเจ้าหน้าที่ดำเนินการเข้าจับอีกัวนา บริเวณหมู่บ้านศรีพงศ์ ซอยลาซาล 46 ในพื้นที่บางนา โดยระบุ


"LotterAlternatives: พอได้รับแจ้งเหตุทางสายด่วน 1362 เจ้าหน้าที่กลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานฯ เข้าดำเนินการจับอิกัวนา ที่สร้างความเดือดร้อน บริเวณหมู่บ้านศรีพงศ์ ซอยลาซาน 46 แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร #SurvivalTogether."

-------------



รับชมผ่านยูทูบได้ที่ : https://youtu.be/pUcXecqMeWk

















คุณอาจสนใจ

Related News