สังคม

สวยจนต้องอวด! 'สถาบันวิจัยดาราศาสตร์-นักถ่ายรูป' อวดภาพพระจันทร์เต็มดวง 'ซูเปอร์บลูมูน'

โดย nattachat_c

31 ส.ค. 2566

33 views

ทีมข่าวรายงาน ว่า คืนวันที่ 30 ถึงเช้าวันที่ 31 ส.ค. 2566 มี 2 ปรากฏการณ์ของดวงจันทร์ ได้แก่ 'ซูเปอร์ฟูลมูน' (Super Full Moon) หรือ ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี มีระยะห่างจากโลกประมาณ 357,334 กิโลเมตร และในคืนดังกล่าวยังเป็นดวงจันทร์เต็มดวงครั้งที่สองของเดือน หรือ 'บลูมูน' (Blue Moon)


ดวงจันทร์เต็มดวงจะมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย หากเปรียบเทียบกับดวงจันทร์เต็มดวงช่วงเวลาปกติ จะมีขนาดใหญ่กว่าประมาณ 7% และความสว่างเพิ่มขึ้นประมาณ 15%


เวลาที่เหมาะสมในการสังเกตปรากฏการณ์เกี่ยวกับดวงจันทร์ในครั้งนี้ คือช่วงเย็นวันที่ 30 ส.ค.66 ตั้งแต่เวลาประมาณ 18.09 น. เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้า ของวันที่ 31 ส.ค. 66 ดูได้ด้วยตาเปล่าทางทิศตะวันออก นอกจากนี้ ยังมีดาวเสาร์ปรากฏสว่างเคียงข้างดวงจันทร์อีกด้วย


การที่ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากขึ้น ขนาดปรากฏใหญ่ขึ้น จึงมองเห็นสว่างยิ่งขึ้น เหมาะแก่การถ่ายภาพดวงจันทร์ โดยเฉพาะภาพเปรียบเทียบขนาดกับวัตถุบริเวณขอบฟ้า


โดยเพจ NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โพสต์ภาพที่ถ่ายจากอุทยานดาราศาสตร์สิรินธร เชียงใหม่ โดยระบุข้อความว่า #ซูเปอร์บลูมูน และ #ดาวเสาร์ ในม่านเมฆ สวยเกินบรรยายจริงๆ ครับ ภาพจาก #SamsungS23ultra Samsung


ต่อมาได้เผยแพร่ภาพภาพ #ซูเปอร์บลูมูน คืนวันที่ 30 ส.ค. เวลาประมาณ 20.15 น. ระยะห่างจากโลกประมาณ 357,185 กิโลเมตร เปรียบเทียบกับดวงจันทร์เต็มดวงในช่วงไกลโลกที่สุด เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 เวลาประมาณ 01:40 น. ระยะห่างจากโลกประมาณ 405,813 กิโลเมตร แสดงให้เห็นขนาดปรากฏที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน

-------------

ขณะที่สมาชิก ภายใน กลุ่ม ชมรมคยรักมวลเมฆ ต่างโพสต์ภาพอวด Super Blue Moon ที่ตนเองถ่ายไว้ได้


ส่วนสมาชิกอีกราย ชาวสงขลา โพสต์ภาพ Super Blue Moon สีเหลืองอร่าม อยู่ด้านหลังพระพุทธรูปองค์ใหญ่


ส่วนเพจ PR.Thailand โพสต์ภาพ Super Blue Moon พร้อมระบุข้อความว่า “ค่ำคืนนี้ 30 ส.ค. ที่วัดห้วยปลากั้ง จ.เชียงราย”

-------------



รับชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/FlhF8KSFPOc



คุณอาจสนใจ

Related News