สังคม

จับตาวันแรก พายุฤดูร้อน ถล่มไทย 26-29 มี.ค. เตือน ภาคอีสานเตรียมรับมือ

โดย kanyapak_w

26 มี.ค. 2566

2.2K views

(26 มี.ค.) กรมอุตุนิยมวิทยารายงาน พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางได้แผ่ลงมาปกคลุมถึงประเทศเวียดนามตอนบน ประเทศลาวตอนบน และทะเลจีนใต้แล้ว คาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือในวันนี้ (26 มี.ค. 66) ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 26 - 29 มีนาคม 2566



โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย



ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ สำหรับลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง



ฝุ่นละอองในระยะนี้ : ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบนมีการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงค่อนข้างมาก เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อน ส่วนภาคกลางตอนล่างรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลและภาคตะวันออกมีการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์น้อย เนื่องจากมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมทำให้บริเวณดังกล่าวอากาศระบายได้ดี



ภาคเหนือ



อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน

อุณหภูมิต่ำสุด 19-26 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม.



ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน

โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง

ส่วนมากบริเวณจังหวัดบึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 39-41 องศาเซลเซียส

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.



ภาคกลาง



อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน

อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 37-40 องศาเซลเซียส

ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.



ภาคตะวันออก



อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่

ส่วนมากบริเวณจังหวัดจันทบุรี และตราด

อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 33-40 องศาเซลเซียส

ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร



ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)



เมฆบางส่วน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่

ส่วนมากบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ยะลา และนราธิวาส

อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส

ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร



ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)



อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่

ส่วนมากบริเวณจังหวัดกระบี่ ตรัง และสตูล

อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส

ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร



กรุงเทพและปริมณฑล



อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน

อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส

ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.




ทั้งนี้ ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 4 (83/2566)(มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 26 - 29 มีนาคม 2566)



บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางได้แผ่ลงมาปกคลุมถึงประเทศเวียดนามตอนบน ประเทศลาวตอนบนและทะเลจีนใต้แล้ว คาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือในวันนี้ (26 มี.ค. 66) ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 26 - 29 มีนาคม 2566 โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน



ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย



โดยจะมีผลกระทบดังนี้


วันที่ 26 มีนาคม 2566



ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ:  จังหวัดบึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี




วันที่ 27 มีนาคม 2566



ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ:   จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด

ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี



ภาคตะวันออก:   จังหวัดสระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด



วันที่ 28 มีนาคม 2566



ภาคเหนือ:  จังหวัดน่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์



ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ:  จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ

ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี



ภาคกลาง:   จังหวัดลพบุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล



ภาคตะวันออก:  จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด



วันที่ 29 มีนาคม 2566



ภาคเหนือ: จังหวัดพิษณุโลก และเพชรบูรณ์



ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ:  จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ



ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี



ภาคกลาง:  จังหวัดนครสวรรค์ สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล



ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด







คุณอาจสนใจ

Related News