สังคม

อนามัยโพลชี้ พ่อแม่กังวลผลข้างเคียง ไม่พาลูกฉีดวัคซีน - เผยผลวิจัยเทียบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ - ใต้ผิวหนัง

โดย thichaphat_d

16 พ.ค. 2565

51 views

วานนี้ (15 พ.ค.) นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กที่ยังคงต้องเฝ้าระวังและป้องกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในช่วงของการเปิดภาคเรียนแบบ On-Site ทุกชั้นเรียน เด็กควรได้รับวัคซีนเพื่อลดความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อ                          

แต่จากผลการสำรวจอนามัยโพลเรื่อง “ความมั่นใจของผู้ปกครองต่อการฉีดวัคซีนในเด็กอายุ 5 - 11 ปี ระหว่างวันที่ 22 เมษายน – 11 พฤษภาคม 2565 พบว่า ตอนนี้เด็กอายุ 5 - 11 ปี ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มแรกแล้ว และจะฉีดให้ครบ ร้อยละ 54.1 และยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนเลย ร้อยละ 28.7

โดยเหตุผลที่ทำให้กลุ่มผู้ปกครองไม่พาเด็กเข้ารับการฉีดวัคซีน คือ ยังมีความกังวลว่าเด็กอาจมีอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง ร้อยละ 77.2 และไม่มั่นใจในประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของวัคซีน ร้อยละ 55.3 รวมทั้งยังกังวลว่าเด็กที่ไม่แข็งแรงหรือมีโรคประจำตัว อาจได้รับผลกระทบที่รุนแรงจากวัคซีน ร้อยละ 37


ด้าน ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ไบโอเทค โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ระบุว่า

ผลวิจัยที่ศุนย์วิจัยคลินิก ศิริราช ร่วมกับ ทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี BIOTEC สวทช. พบว่า วัคซีนเข็มกระตุ้นแบบฉีดเข้ากล้าม กับ ใต้ผิวหนัง ในกลุ่มผู้สูงอายุที่ได้รับวัคซีน AZ มา 2 เข็ม สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโอมิครอนได้ดีทั้งคู่

โดยกลุ่มที่ฉีดเข้ากล้ามจะได้ภูมิที่สูงกว่ากลุ่มใต้ผิวหนัง ประมาณ 3 เท่า ในกรณีที่ฉีดกระตุ้นด้วย Moderna และประมาณ 1.5 เท่า ในกรณีที่ฉีดกระตุ้นด้วย Pfizer โดยตัวเลขดังกล่าวดูเหมือนจะสอดคล้องกับปริมาณวัคซีนที่ใช้ โดย Moderna ฉีดเข้ากล้ามมากกว่าผิวหนัง 5 เท่า (100 vs 20 mcg) ขณะที่ Pfizer ฉีดเข้ากล้ามมากกว่าผิวหนัง 3 เท่า (30 vs 10 mcg)

ผลข้างเคียงจากการฉีดใต้ผิวหนังดูเหมือนจะน้อยกว่าตามคาดครับ ซึ่งทีมวิจัยสรุปว่า การฉีดใต้ผิวหนังโดยเฉพาะด้วย Moderna อาจเป็นทางเลือกให้พิจารณาในกรณีที่มีวัคซีนจำกัด และ ต้องการลดผลข้างเคียงจากวัคซีน


รับชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/J29RitoBGwE

คุณอาจสนใจ

Related News