สังคม

เตือนชาวบ้าน จับตุ๊กแก ผิดกฎหมายสัตว์สงวน

โดย onjira_n

25 เม.ย. 2565

583 views

สืบเนื่องจากมีการลงข่าวผ่านทาง เพจ วารินชำราบบ้านเฮา อุบลราชธานี เปิดเผยว่า ตุ๊กแก บางสายพันธุ์ เป็นสัตว์สงวน ของกลางเป็น ตุ๊กแก 320 ตัว จับผู้ต้องหา ข้อหากระทำผิด พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 มาตรา 17 ฐาน ร่วมกันมีไว้ในความครอบครองซึ่งซากของสัตว์ป่าที่ห้ามนำเข้าหรือส่งออก โดยไม่ได้รับอนุญาต มาตรา 22 ฐาน ร่วมกันนำเข้าซากของสัตว์ป่าที่ห้ามนำเข้าหรือส่งออก โดยไม่ได้รับอนุญาต พ.ร.บ.ศุลกากร ฐาน ร่วมกันนำสิ่งของต้องจำกัดเข้ามาโดยไม่ผ่านพิธีการทางศุลกากร พร้อมของกลางตุ๊กแก จำนวน 320 ตัว สถานที่เกิดเหตุ บริเวณท่าจอดเรือปากห้วยม่วง ตำบลเหล่างาม อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี



ต่อมาผู้สื่อข่าวได้สอบถามไปยังเจ้าหน้าที่ศุลกากรเขมราฐ อำเภอเขมราชฐ จังหวัดอุบลราชธานี รับทราบข้อมูลว่า จากประเด็นดังกล่าว หลายคนยังไม่รู้ข้อกฏหมายที่ดีและเข้าใจพอ โดยเฉพาะชาวบ้านตามชนบท ซึ่งยังคิดว่าการทำร้าย เลี้ยง หรือ เพื่อการส่งออกหรือนำเข้ามาในประเทศ เป็นสิ่งที่ผิดกฆมาย พรบ.คุ้มครองสัตว์ป่า และ เป็นกฎหมายคุ้มครองสัตว์สงวน ของกรมป่าไม้ และ ผิดกฎหมายศุลกากรอีกด้วย



โดยกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กำหนดข้อกฎหมายไว้ว่า ตุ๊กแก 19 ชนิด คือ 1. ตุ๊กแกเขาหินทราย 2. ตุ๊กแกบ้านสีเทา 3. ตุ๊กแกบินหางแผ่น 4. ตุ๊กแกบินหางเฟิร์น 5. ตุ๊กแกป่าคอขวั้น 6. ตุ๊กแกป่าโคนนิ้วติด 7. ตุ๊กแกป่าจารุจินต์ 8. ตุ๊กแกป่าจุดลายผีเสื้อ 9. ตุ๊กแกป่าดงพญาเย็น 10. ตุ๊กแกป่าตะวันออก 11. ตุ๊กแกป่าใต้ 12. ตุ๊กแกป่าไทรโยค 13. ตุ๊กแกป่าน้ำหนาว 14. ตุ๊กแกป่าพม่า 15. ตุ๊กแกป่ามลายู 16. ตุ๊กแกป่าลายจุด 17. ตุ๊กแกป่าลายสี่ขีด 18. ตุ๊กแกหลังจุดคู่ 19. ตุ๊กแกหัวโต เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองภายใต้ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า 2535 หากจับมีโทษจำคุก 4 ปี ปรับ 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ



ทั้งนี้ สำหรับการที่มีเจ้าหน้าที่จับกุมและตุ๊กแกส่งออกและนำเข้ามาจากต่างประเทศ หรือ ประเทศเพื่อบ้าน ยังถือว่าเป็นความผิดกฎหมายศุลกากรการที่นำเข้าซากพืชซากสัตว์หรือสิ่งมีชีวิต ไม่ผ่านพิธีการทางศุลกากร ไม่ได้รับอนุญาตถือมีความผิดขั้นสูง และ ยังมีความผิดด้านปศุสัตว์อีกด้วย ว่า สัตว์ที่นำเข้ามาถือเป็นกลุ่มสัตว์ไม่ผ่านการตรวจโรค เป็นกลุ่มเสี่ยงในการนำเชื้อโรคเข้ามาระบาดในประเทศ ซึ่งผู้ใดลักลอบเข้ามาหรือส่งออกต้องมีความผิด พรบ.กฏหมายควบคุมโรคสัตว์ของกรมปศุสัตว์ ที่มีโทษทั้งจับและปรับที่สูงไม่แพ้ พรบ.คุ้มครองสัตว์ป่า เช่นกัน


คุณอาจสนใจ

Related News