สังคม
DSI ค้นคลังสินค้าวังน้อย ขยายผลหาหลักฐานขบวนการหมูเถื่อน สวมสิทธิ์เป็นหมูไทย
โดย panwilai_c
12 ธ.ค. 2567
148 views
กรมสอบสวนคดีพิเศษ เปิดปฏิบัติการ "พระนครหมูเถื่อน " โดย นำหมายค้นศาลอาญเข้าค้นหาเอกสารและหลักฐาน ที่ศูนยกระจายสินค้าวังน้อย บริษัทซีพีแอกซ์ตรา ในคดีพิเศษที่ 126/2566 หลังจากก่อนหน้านี้พบหลักฐานว่า มีการนำหมูเถื่อนที่สำแดงเท็จว่าเป็นปลา ส่งไปเชียงใหม่เพื่อสวมสิทธิ์เป็นหมูไทย แล้วส่งกลับมาขายให้ศูนย์กระจายสินค้าที่นี่
ผลการตรวจค้นวันนี้ พบว่ามีเนื้อหมูบดที่เชี่อมโยงกับเชียงใหม่ประมาณ 1 ตัน จากทั้งหมดกว่า 15 ตู้คอนเทนเนอร์ ขณะที่หัวหน้าพนักงานสอบสวนระบุว่าจะต้องสอบสวนเพิ่มเติมว่า ที่เหลือถูกนำส่งที่ใดบ้าง หรืออาจมีการอำพรางนำส่งในชื่อผู้บริษัทอื่นหรือไม่
พันตำรวจตรี ณฐพล ดิษยธรรม ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคดีคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนขบวนการนำเข้าหมูเถื่อน กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI นำหมายค้นศาลอาญา เข้าตรวจค้น ที่ศูนย์กระจายสินค้า และคลังสินค้าวังน้อย ของบริษํทซีพีแอกซ์ตร้า จำกัด ซึ่งเดิมคือบริษัทสยามแมคโคร ที่ตำบลพยอม อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ก่อนหน้านี้ดีเอสไอ ติดตามแกะรอยการนำเข้าหมูเถื่อนตั้งแต่ปี 2564-2565 พบว่ามีบางส่วนนำเข้าโดยบริษัทมายเฮาสด์ เทรดดิง โดยการว่าจ้างของบริษัทเวลท์ซี แอนด์ เฮลทซี ฟูด ซึ่งหมูที่นำเข้ามาใช้วิธีสำแดงเท็จว่าเป็นสัตว์ทะเล เพื่อเลี่ยงภาษีและเลี่ยงข้อห้ามการนำเข้าหมูจากต่างประเทศ จากนั้นส่งหมูไปโรงเชือดและห้องแช่เย็นของบริษัท วีพีเอฟ กรุ๊ป จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อนำหมูแช่แข็งไปตัดแต่งชิ้นเนื้อหมูปะปนกับเนื้อหมูของเกษตรกรไทยที่เชือดในโรงเชือดดังกล่าว โดยดีเอสไอพบหลักฐานว่า เนื้อหมูจากโรงเชือดดังกล่าว ถูกส่งขายให้ศูนย์กระจายสินค้า ที่อำเภอวังน้อย ดังกล่าว เพื่อกระจายต่อไปยังห้างที่อยู่ในหลายจังหวัดทั่วประเทศ
พันตำรวจตรี ณฐพล ระบุว่าการตรวจค้นวันนี้ได้รับความร่วมมือด้วยดี ทั้งการให้ตรวจเอกสารและนำตรวจห้องแช่เย็นเก็บสินค้า โดยผลการตรวจค้นพบว่า ที่ศูนย์กระจายสินค้าที่นี่ รับหมูบดมาจากจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ 1100 กิโลกกรัม หรือประมาณ 1 ตัน โดยผู้บริหารศูนย์กระจายสินค้าวังน้อย ได้นำเอกสารหลักฐานมาแสดง 2 ส่วน ส่วนแรกคือ หลักฐานการนำเข้าหมูบด จากบริษัท วีพีเอฟ จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีเอกสารการอนุญาตจากกรมปศุสัตว์รองรับ
และเอกสารอีกชุด เป็นการซื้อหมูจากบริษัทอื่น ที่ไม่ได้มาจากเชียงใหม่ และมีเอกสารการอนุญาจากกรมปศุศัตว์รับรองเช่นกัน
พันตำรวจตรีณฐพล ระบุว่าการที่พบหลักฐานการส่งสินค้าจากบริษัท วีพีเอฟ กรุ๊ป ประมาณ 1 ตัน ยังไม่สอดคล้องกับข้อมูลที่พบว่า สินค้าจากบริษัท วีพีเอฟ กรุ๊ป ถูกส่งออกจากเชียงใหม่ มากถึง 15 ตู้คอนเทนเนอร์ จึงต้องสืบสวน สอบสวนขยายผลเพิ่มเติมว่าสินค้าที่เหลือถูกส่งไปที่อื่นหรือไม่
ขณะเดียวกัน ก็มีความเป็นไปได้ว่าสินค้าดังกล่าว จะถูกส่งมาที่ศูนย์กระจายสินค้าฯ โดยใช้ชื่อบริษัท เวลท์ธีแอนด์ เฮลท์ธี เหมือนที่พบหลักฐานการโอนเงินก่อนหน้านี้ ซึ่งข้อเท็จจริงเรื่องนี้จะตรวจสอบอย่างละเอียด โดยดีเอสไอ จะกลับไปตรวจสอบข้อมูลที่จังหวัดเชียงใหม่ในเดือนหน้า สำหรับบริษัท เวลท์ธีแอนด์เฮลทธี่ ซึ่งเป็นผู้นำเนื้อหมูส่งขายให้ บริษัทซีพีแอก์ตร้า หรือเดิม บริษัทสยาม แมคโคร ระหว่างปี 2564 และ 2565 นั้น ขณะนี้บริษัทซีพีแอกซ์ตร้า ได้ฟ้องคดีทางแพ่ง ต่อบริษัทเวลท์ธี่ และยกเลิกการซื้อขายระหว่างกันมา 2 ปีแล้ว ส่วนดีเอสไอ ได้ดำเนินคดีอาญาต่อ บริษัทเฮลท์ธี่ และเชื่อมโยงไปถึงเจ้าหน้าที่รัฐด้วย