สังคม

สำรวจที่ตั้ง 'เขื่อนปากแบง' หลังหลายฝ่ายหวังทบทวนโครงการ หวั่นกระทบสิ่งแวดล้อมน้ำโขง

โดย panwilai_c

20 พ.ย. 2567

91 views

หลังน้ำท่วมหนักจังหวัดเชียงราย ทำให้หลายภาคส่วนตื่นตัวกับสถานการณ์ในแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์น้ำในประเทศไทย ข่าว 3 มิติ ลงพื้นที่สำรวจความคืบหน้าโครงการเขื่อนบางแบ่ง ซึ่งได้มีการเซ็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้าให้กับประเทศไทย แต่ยังไม่มีรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน ทำให้ภาคประชาชน คาดหวังให้มีการทบทวนโครงการเขื่อนปากแบง ที่เชื่อว่าไม่ตอบสนองการใช้ไฟฟ้าในประเทศไทย และยังเป็นห่วงระบบนิเวศลำน้ำโขงที่กระทบต่อเนื่องมาจากเขื่อนในประเทศจีนและเขื่อนทางตอนใต้ของลาว



การล่องเรือท่องเทียวแม่น้ำโขง ยังเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติ เพราะสามารถเดินทางจากอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ข้ามแดนมายังบ้านห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว สามารถซื้อตั๋วโดยสารล่องเรือไปเที่ยวเมืองหลวงพระบาง ทั้งแบบตั๋วรายคน หรือเช่าเหมาลำ โดยจะใช้เวลา 2 วัน ไปถึงเมืองหลวงพระบาง ที่อยู่ห่างไปประมาณ 300 กิโลเมตร ต้องแวะพักที่เมืองปางแบง 1 คืน โดยระหว่างทางลองเรือแม่น้ำโขง จะเห็นวิวสองฝั่งแม่น้ำโขง ทั้งฝั่งเมืองเชียงของ และเมืองห้วยทราย



แม่น้ำโขงหลังน้ำท่วมหนัก กว่า 2 เดือนที่ทำให้ระดับน้ำขึ้นสูงสุดในรอบ 16 ปี เมื่อน้ำลดจะเห็นสองฝั่งโขงกลับมามีวิถีชีวิตในการทำการเกษตรริมน้ำโขง เช่นปลูกถั่วงอก ปลูกผัก รวมถึงการหาไกสาหร่ายแม่น้ำโขง ตลอดระยะทางจนมาถึงปากน้ำอิง ที่อำเภอเวียงแก่น และสุดเขตแดนประเทศไทยที่ผาได้ ต.ม่วงยาย อ.เวียงแก่น ก่อนที่เรือจะแล่นเข้าสู่เขต สปป.ลาว



จากชายแดนไทยไปประมาณ 97 กิโลเมตร สองฝั่งโขงยังเต็มไปด้วยธรรมชาตื มีหมู่บ้านเล็กๆ ตั้งเรียงรายประมาณ 25 หมู่บ้าน นอกจากจะเห็นชายหาดขาว การเกษตรริมโขง ยังเห็นการเลี้ยงสัตว์ เรือที่จอดไว้ใช้ในการเดินทาง และตลอดเส้นทางมีเรือโดยสารแล่นสลับกันไปโดยมีผู้โดยสารเต็มลำส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ



จนช่วงเย็นที่เรือเดินทางมาถึงที่ตั้งของโครงการเขื่อนปากแบง เขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำอีกแห่งของ สปป.ลาว ที่มีกำลังผลิตติดตั้ง 912 เมกะวัตต์ โดยมีแผนจะขายไฟฟ้าเกือบทั้งหมดให้กับประเทศไทย



ที่ตั้งของเขื่อนปากแบง ตั้งอยู่บริเวณดอนเทด อยู่ห่างจากบ้านปากแบง ประมาณ 14 กิโลเมตร ส่วนโครงสร้างเขื่อน มีทั้งทางระบายน้ำ ทางเรือผ่าน โรงไฟฟ้า ทางผ่านปลา โดยส่วนอ่างเก็บน้ำจะเป็นทางเหนือที่มีน้ำเท้อไปทางประเทศไทย ส่วนท้ายน้ำเป็นบ้านปากแบงของ สปป.ลาว



ซึ่งทั้งหมดเป็นพื้นที่โครการที่จะตั้งขวางลำน้ำโขง จากสภาพปัจจุบัน มีทั้งลำน้ำ และดอนทรายขนาดใหญ่ที่อยู่ตรงข้าง ขนาบไปด้วยภูเขา จึงถูกเลือกให้เป็นที่ตั้งของเขื่อนและโรงงานผลิตไฟฟ้า



สำหรับโครงการปากแบ่ง ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2559 เดิมผู้พัฒนาโครงการคือ บริษัทไชน่า ต้าถัง โอเวอร์ซี อินเวสเมนต์ จำกัด (China Datang Overseas Investment Co.,Ltd ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติจีน แต่ปัจจุบันผู้พัฒนาโครงการ เปลี่ยนมาเป็นบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF โดยตลอด 8 ปี ของโครงการเขื่อนปากแบง เครือขายประชาชนลุ่มน้ำโขง ได้ยื่นหนังสือขอให้ยกเลิกโครงการ รวมถึงได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองในปี 2560 ซึ่งต่อมาแม้ศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้อง และต่อสู้ถึงชั้นศาลปกครองสูงสุดไม่รับฟ้องในปี 2564



แต่ภาคประชาชนก็ยังมีความพยายามเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องยกเลิกโครงการเขื่อนปากแบง โดยเฉพาะล่าสุดหลังมีการลงนามซื้อขายสัยญาไฟฟ้าเมื่อปี 2566 พบว่าเงื่อนไขสัญญาเงินกู้มีเงื่อนไขให้รอรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยหรือ กฟผ.จะต้องรายงานภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ ภาคประชาชนไทยจึงคาดหวังให้มีการทบทวนโครงการนี้อีกครั้ง



จากการชี้แจงของกฟผ.ในที่ประชุมคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติฯ สภาผู้แทนราษฎร ได้แสดงความกังวลในเรื่องนี้ด้วย เพราะจากข้อตกลงการซื้อไฟฟ้า กำหนดให้คู่สัญญาไปทำรายงานผลกระทบข้ามพรมแดน ซึ่งต้องทำผลกระทบให้รอด้าน หากไม่มีการเปิดเผยรายงานศึกษาอย่างโปร่งใส ภาคประชาชนก็ยังเรียกร้องให้ยกเลิกการซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนปากแบงด้วย



การพิจารณาที่จะฟ้องสัญญาการซิ้อขายไฟฟ้าที่เข้าข่ายธุรกิจที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ จึงเป็นอีกทางออกหนึ่งที่ภาคประชาชนกำลังพิจารณา



การล่องเรือท่องเที่ยวไปยังหลวงพระบางในครั้งนี้จึงเป็นโอกาสสำคัญในการสำรวจที่ตั้งเขื่อนปากแบ่ง ก่อนพลบค่ำเรือจะแล่นถึงบ้านปากแบง เมืองท่องเที่ยว ที่แม้จะอยู่ท้ายเขื่อน และอาจไม่กระทบเรื่องน้ำเท้อ กลายเป็นอ่างเก็บน้ำ แต่การมีเขื่อนกั้นลำน้ำ ทำให้การเดินเรือท่องเที่ยวที่เป็นรายได้หลักของหมู่บ้านนี้อาจถูกปิดตายในอนาคต และการที่ประชาชนลาวไม่สามารถส่งเสียงเรียกร้องอะไรได้ ประชาชนไทยที่จะเป็นทั้งผู้ได้รับผลกระทบจากาภาวะน้ำเท้อไปถึงอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย คนไทยจะเป็นผู้ใช้ไฟฟ้า ซึ่งอาจจะไม่ได้เป็นไฟฟ้าราคาถูก จึงเป็นความรับผิดชอบของคนไทยที่จะส่งเสียงดังกับเขื่อนปากแบงที่กำลังส่งผลกระทบข้ามพรมแดนนี้ด้วย

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ