สังคม

คุม 'ทนายตั้ม-เมีย' ฝากขัง พร้อมเปิดพฤติการณ์ ฉ้อโกง-ร่วมฟอกเงิน

โดย panwilai_c

8 พ.ย. 2567

21 views

การขยายผลหาพยานหลักฐาน ในคดีจับนายษิทรา เบี้ยบังเกิด หรือทนายตั้ม และภรรยา ตลอดช่วงบ่ายวันนี้ตำรวจสอบสวนกลางได้นำกำลัง เข้าตรวจค้นสำนักงานทนายษิทรา ซึ่งตั้งอยู่ที่อาคารสูง 58 ชั้น ย่านสาธร ขณะที่นายษิทรา และภรรยาได้ถูกควบคุมตัวจากกองปราบปราม ไปฝากขัง ที่ศาลอาญารัชดา โดยทีมทนายยื่นขอประกันตัวภรรยา แต่ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว



พนักงานสอบสวนกองปราบปรามนำตัวนายษิทธา เบี้ยบังเกิด หรือทนายตั้ม อายุ 44 ปี ผู้ต้องหาที่ 1 ข้อหา ฉ้อโกง , ร่วมกันฟอกเงินและสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงิน และได้มีการกระทำความผิดฐานฟอกเงินเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกัน และ นางปทิตตา เบี้ยบังเกิด อายุ 41 ปี ภรรยาทนายตั้ม เป็นผู้ต้องหาที่ 2 ในข้อหาร่วมกันฟอกเงินและสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงิน และได้มีการกระทำความผิด ฐานฟอกเงินเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกัน มายื่นคำร้องฝากขังครั้งที่ 1 โดยนายษิทรา ไม่ประสงค์ยื่นขอประกันตัว ส่วนภรรยา ได้ให้ทนายยื่นประกันตัว แต่ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว



ตามพฤติการณ์คำร้องขอฝากขังระบุว่า ก่อนเกิดเหตุ น.ส.จตุพร อุบลเลิศ ผู้เสียหาย ได้ว่าจ้างผู้ต้องหาที่ 1 ให้เป็นที่ปรึกษากฎหมายต่อมาผู้ต้องหาที่ 1 ได้หลอกลวงผู้เสียหายด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จปกปิดข้อความจริง เป็นเหตุให้ผู้เสียหายหลงเชื่อส่งมอบเงินให้แก่ผู้ต้องหาที่ 1 หลายเรื่องหลายครั้งต่างกรรมต่างวาระ



โดยคำร้องคัดค้านการประกันตัว มีใจความสำคัญว่านายษิทรา ผู้ต้องหาที่ 1 ได้หลอกลวงผู้เสียหายให้ลงทุนขายสลากกินแบ่งรัฐบาลทางออนไลน์ อ้างว่าจะต้องจ่ายเงินเป็นค่าจ้างเขียนโปรแกรมเป็นเงินจำนวน 2,000,000 ยูโร พร้อมกับนำสัญญาว่าจ้างมาให้ผู้เสียหายลงลายมือชื่อทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินค่าจ้างดังกล่าวไปยังบัญชีธนาคารของผู้ต้องหาที่ 1 คิดเป็นเงินไทย กว่า 71 ล้านบาท



อีกทั้ง ผู้เสียหายได้มอบหมายให้นายษิทรา หาซื้อรถยนต์ ยี่ห้อเบนซ์ จากนั้นผู้ต้องหา ได้หลอกลวงผู้เสียหายว่าสามารถหาซื้อรถยนต์ดังกล่าวได้ในราคา 12,900,000 บาทและมีค่าติดฟิล์มรถยนต์จำนวน 30,000 บาท รวมเป็นเงิน 12,930,000 บาท



ทั้งที่ความจริงแล้วรถยนต์คันดังกล่าวมีราคาเพียง 11,400,000 บาทโดยไม่มีราคาติดฟิล์มทำให้ผู้ต้องหาที่ 1 ได้เงินค่าส่วนต่างจากราคารถยนต์และค่าฟิล์มรถ รวมเป็นเงินจำนวน 1,530,000 บาท



และนายษิทรา ยัง ได้หลอกลวงผู้เสียหายว่าได้ติดต่อว่าจ้างบริษัทแห่งหนึ่งเป็นผู้เขียนแบบก่อสร้างโรงแรม ที่ผู้เสียหายจะก่อสร้าง โดยอ้างว่ามีค่าเขียนแบบโรงแรมเป็นจำนวนเงิน 9,000,000 บาท ทั้งที่ความจริงแล้วนายษิทรา ได้ไปว่าจ้างบริษัทอื่นให้เขียนแบบโรงแรมในราคา 3,500,000 บาท



ผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินชำระค่าเขียนแบบ 9,000,000 บาท เข้าบัญชีธนาคารให้แก่บริษัทแห่งหนึ่งจากนั้นได้มีการถอนเงินไปมอบให้นายษิทรา ได้เงินส่วนต่างเป็นเงินจำนวน 5,500,000 บาท โดยได้แบ่งเงินสดจำนวน 1,000,000 บาท ไปมอบให้แก่พี่สาวของภรรยา ก่อนพี่สาวของภรรยาจะ นำไปเข้าบัญชีธนาคารของตัวเอง



การกระทำดังกล่าวของนายษิทรา เป็นความผิดฐานฉ้อโกงอันมีลักษณะเป็นปกติธุระตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และจากการสืบสวนสอบสวนพบนายษิทรา และภรรยา มีการกระทำต่อทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดดังกล่าวเข้าข่ายเป็นการฟอกเงิน ในชั้นสอบสวนผู้ต้องหาที่ 1-2 ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา



ท้ายคำร้องพนักงานสอบสวนได้คัดค้านการประกันตัว เนื่องจาก นายษิทรา เป็นทนายความมีความรู้ทางกฎหมายเป็นอย่างดีและเป็นผู้ที่สังคมให้ความเชื่อถือแต่กลับมีการกระทำผิดหลายครั้งหลายหนต่อเนื่องกัน ในลักษณะฉ้อโกงอันเป็นปกติธุระ



ส่วนภรรยาเป็นบุคคลใกล้ชิดและพักอาศัยอยู่ด้วยกันย่อมรู้เห็นการกระทำผิดและร่วมกระทำความผิดฟอกเงินกับผู้ต้องหาที่ 1 โดยผู้ต้องหาทั้งสองคนมีพฤติการณ์ที่จะหลบหนียุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานและเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวน พยานบุคคลที่สำคัญในคดีให้การต่อพนักงานสอบสวนในลักษณะปกปิดข้อเท็จจริงของการกระทำผิด ทำให้พยานเกิดความเกรงกลัวอันตรายต่อตัวเองและครอบครัวเพื่อไม่ให้พยานมาให้การข้อเท็จจริงที่สำคัญต่อคดี



ซึ่งนายษิทรา มีการให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนในลักษณะลดทอนความน่าเชื่อถือในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวน ทำให้ผู้เสียหายและพยานบุคคลที่มาให้การต่อ พนักงานสอบสวนเกิดความไม่มั่นใจและไม่ไว้วางใจการทำงานของพนักงานสอบสวน



จากการสืบสวนพบว่าก่อนที่จะมาจับกุมนายษิทรา บุคคลใกล้ชิดมีการเปลี่ยนโทรศัพท์และหมายเลขโทรศัพท์มือถือและพบว่าหมายเลขโทรศัพท์ของนายษิทราที่ ใช้อยู่ประจำได้ปิดสัญญาณไปและขณะจับกุมตำรวจได้ยึดโทรศัพท์มือถือของนายษิทรา และภรรยา ตรวจสอบพบว่าโทรศัพท์มือถือนายษิทรา ใช้ซิมการ์ดหมายเลขโทรศัพท์ของภรรยา



ส่วนโทรศัพท์มือถือของภรรยาใช้ซิมการ์ดหมายเลขโทรศัพท์ของพี่สาว ทำให้ยากแก่การติดต่อหรือติดตามตัวและค้นหาพยานหลักฐานในโทรศัพท์ ทั้งนี้จากการตรวจค้นหาพยานหลักฐานที่บ้านพักของนายษิทรา พบว่าภายในบ้านมีตู้นิรภัยขนาดใหญ่สูง 2 เมตร ติดตั้งหลบซ่อนทำให้ยากต่อการมองเห็นจากบุคคลภายนอก เมื่อเจ้าหน้าที่ค้นเปิดตู้นิรภัย พบว่ามีร่องรอยผ่านการเก็บทรัพย์สินแล้ว จึงไม่พบทรัพย์สินมีค่าใดๆอยู่ภายในตู้ น่าเชื่อว่านายษิทราและภรรยา ได้ร่วมกันยักย้ายทรัพย์สินออกไปก่อนที่เจ้าหน้าที่จะทำการตรวจค้น



ผู้ต้องหามีอัตราโทษสูงถึง 10 ปีในคดีนี้นายษิทราได้กระทำความผิดฉ้อโกงและได้ทรัพย์สินของผู้เสียหายจำนวนทั้งสิ้นกว่า78 ล้าน บาท ซึ่งเป็นความเสียหายมูลค่าสูง เชื่อว่าผู้ต้องหาที่ 1-2 น่าจะหลบหนีเข้าไปยุ่งหรือพยานหลักฐานและจะเป็นอุปสรรคก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวน หากผู้ต้องการผู้ต้องหาที่ 1-2 ได้รับการปล่อยชั่วคราว เกรงจะหลบหนีซึ่งอาจทำให้ผู้เสียหายไม่ได้รับชดใช้ค่าเสียหาย



การจับกุมนายษิทรา เบี้ยบังเกิด และภรรยา หลังจากตำรวจสอบสวนกลางพบหลักฐานว่า หลังจากนายษิทรา ได้รับการโอนเงินมาจากนางจตุพร หรืออ้อยแล้วได้แปลงมาซื้อทรัพย์สิน แล้วจดทะเบียนในชื่อภรรยา ทำให้ภรรยาถูกออกหมายจับฐานร่วมกันฟอกเงิน



การจับกุมนายษิทรา หรือทนายตั้ม ขณะเตรียมหลบหนีเส้นทาง ไปยัง จ.สระแก้ว โดยเจ้าหน้าที่ได้จับกุมนางปทิตตา ภรรยาของนายษิทรา ฐานร่วมกันฟอกเงิน ด้วย โดยนายษิทรา นึกไม่ถึงว่าภรรยาจะมีหมายจับในคราวเดียวกัน



แต่ตำรวจได้สืบสวน ที่มาของทรัพย์สิน ที่ได้รับการโอนมาจากนางจตุพร จำนวนร่วม 78 ล้านบาท พบว่าทนายตั้มได้แปลงสภาพเงิน มาซื้อทรัพย์สินที่ชัดเจนคือบ้านหรู ย่านตลิ่งชัน ซึ่งระบุว่าซื้อด้วยเงินสด 46 ล้านบาท พร้อมตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์หรูหราอีกร่วม 30 ล้านบาท โดยนายษิทรา ใช้ชื่อภรรยา เป็นผู้ครอบครองทรัพย์สิน ซึ่งสอดคล้องกับคำฟ้องว่า นางจตุพร ผู้เสียหายได้โอนเงินจำนวน 71 ล้านบาทเศษ ให้นายษิทรา และนายษิทรา ได้โอนเงินจำนวน 71 ล้านบาท ออกจากบัญชีธนาคารของตนเองไปยังบัญชีอื่นของตัวเองอีก 2 ทอด เพื่อชำระหนี้ค่าบ้านและที่ดินให้กับภรรยา



ขณะที่บริษัท ษิทรา ลอร์เฟิมร์ ซึ่งเป็นสำนักงานทรายความ ซึ่ตั้งอยู่ชั้น 24 ของตึกสูง 58 ชั้น ย่านสาธร ค่าเช่าเดือนละ 2 แสนบาท ขณะที่วันนี้ ตำรวจสอบสวนกลาง นำหมายศาลเดินทางเข้าตรวจค้น พบว่าหุ้นส่วน เป็นทนายตั้ม 45 เปอร์เซ็นต์ และมีชื่อนางปทิตตา ถือหุ้น 45 เปอร์เซ็นต์ เท่ากัน



โดยสื่อมวลชนที่เคยไปแถลงข่าว ที่สำนักงานทนายความแห่งนี้จะพบว่ามีโล่ห์รางวัล ที่มอบให้กับนายษิทรา หลายองค์กร ทั้งต้นแบบคนดี คนดีศรีแผ่นดิน



ขณะที่การโอนเงิน 39 ล้านจากนางจตุพร ไปให้นางสาวสาริณี ภรรยานายนุวัฒน์ หลังจากมีการแสดงละคร ตบตานางจตุพร ว่า เงินที่โอนเป็นสกุลบิตคอยน์ ไปจ้าง เฉินคุน ดาราจีนถูกแก๊งสแกมเมอร์แฮกเงินไปหมด



ซึ่งวันนี้ ผบช.น. ได้ลงนามคำสั่ง ตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ผกก.สน.บางซื่อ

หลังจากถูกตำรวจกองปราบเชิญตัวไปให้ข้อมูล จากกรณีเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2566 ได้มีผู้เสียหายชื่อ นางสาว สาริณี อายุ 30ปี ภรรยาของนายนุวัฒน์ คนสนิทของนายษิทรา ได้มาลงบันทึกประจำวัน ไว้ที่สน.บางซื่อว่า ถูกดูดเงินจากบัญชีที่ใช้โอนบิทคอยน์ เพราะโอนให้สแกรมเมอร์ โดยบันทึกประจำวันระบุว่า นส.สารีนี มีกระเป๋าเงินวอลเล็ท ชื่อบัญชีหนึ่ง



และโอนเงินสกุลบิตคอยน์ให้กับบุคคลไม่ทราบชื่อสกุล โดยใช้วิธีสแกนคิวอาร์โค้ดบัญชี หนึ่งจำนวน 7 ครั้ง รวมเป็นเงินกว่า 2,276400 บาท หลังจากนั้นกระเป๋าเงินถูกระงับ ไม่สามารถเข้าใช้งานได้อีก



แต่นายษิทราไปแจ้งกับนางจตุพร ว่า ถูกแฮกเงินจากกระเป๋าวอเล็ทไปกว่า 39 ล้านบาท จนเป็นที่มา ให้นางจตุพร โอนเงินคืน ให้นางสาวสาริณี 39 ล้านบาท ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 คาดเป็นการสร้างเรื่อง เป็นขบวนการขึ้นมาหลอกลวงนางจตุพร และเงินได้ถูกโอนออกไปสู่กระเป๋าวอเล็ทอื่น คาดเป็นของนางษิทรา



โดยตำรวจกองปราบปราม พบข้อพิรุธของการแจ้งความ ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงทั้งจำนวนเงินจาก กว่า 2 ล้าน เป็นเสียหาย 39 ล้าน และกระเป๋าเงินที่ถูกปิด เมื่อตรวจสอบกับบริษัทซื้อขายสกุลเงินพบว่ายังเปิดใช้ได้ตามปกติ

คุณอาจสนใจ

Related News