สังคม

เปิดแนวคิดขุดคลองระบายน้ำ ชัยนาท-อ่าวไทย แก้ปัญหาน้ำท่วมลุ่มเจ้าพระยา

โดย panwilai_c

14 ต.ค. 2567

38 views

มีความพยายามที่จะตัดยอดมวลน้ำที่จะไหลมารวมกันที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ทั้งจากแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสัก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของน้ำท่วม จึงเกิดแนวความคิดขุดคลองขนาดใหญ่และมีความยาวเพื่อให้น้ำไหลลงทะเลคล่องมากขึ้น คลองแรกคือ คลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร ที่กำลังจะแล้วเสร็จในปี2570 อีก 2 คลองอีกสองคลองคือ ชัยนาท-ป่าสัก และป่าสัก-อ่าวไทย ที่มีมูลค่าการก่อสร้างโครงการกว่าแสนล้าน เพื่อแก้ปัญหาเรื่องน้ำในระยะยาวติดตามกับ



สามแยกน้ำบริเวณหน้าป้อมเพชร ตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา เป็นการมาบรรจบกับของแม่น้ำ 2 สายหลัก คือ เจ้าพระยา และป่าสัก ชาวบ้านที่นี่จึงใช้เป็นจุดดูมวลน้ำ เพื่อเตรียมรับมือ การแก้ปัญหาน้ำในลุ่มเจ้าพระยา โจทย์สำคัญคือ ทำอย่างไรไม่ให้เกิดน้ำท่วมใหญ่เหมือนกับปี 54 และ ทำอย่างไรจะมีน้ำเพื่อการเกษตร



รองศาสตราจารย์ ดร.บัญชา ขวัญยืน ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน คณะวิศวกรรมศาสตร์กำแพงแสน มหาวินยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะรองประธานคณะกรรมการลุ่มน้ำเจ้าพระยา เปิดเผยกับข่าว 3 มิติว่า ปัจจุบันนี้การบริหารจัดการน้ำมีทั้ง ผันน้ำเข้าทุ่งรับในหลายพื้นที่ ส่วนขั้นที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คือ คลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร และโครงการสุดท้ายที่จะแก้ปัญหาทั้งระบบ คือ คลองชัยนาท-ป่าสัก และป่าสัก-อ่าวไทย เพราะหัวใจสำคัญของการแก้ปัญหาหาน้ำท่วม คือ การระบายน้ำลงสู่ทะเลให้เร็วที่สุด



ศาสตราจารย์ ดร.สันติ ภัยหลบลี้ ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์ลักษณะทางธรณีวิทยา ระบุว่า ลุ่มน้ำป่าสัก โดยเฉพาะพื้นที่ต้นน้ำในจ.เลย และเพชรบูรณ์นอกจากจะเป็นผืนป่าต้นน้ำแล้ว พื้นที่ยังเป็นแนวของร่องมรสุมพัดผ่านอีกด้วย ปริมาณมวลน้ำจึงมีไม่น้อย ประกอบกับ เมื่อดูสภาพเชิงพื้นที่ของลุ่มเจ้าพระยา โดยเฉพาะพื้นที่ริมแม่น้า และกรุงเทพ บางจุดต่ำกว่าระดับน้ำที่ตกปกติของฤดูฝน อนาคตถ้าสามารถผันน้ำลงทำเลได้เร็วก็จะเป็นการช่วยแก้จุดบอดในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก



นักวิชาการจากทั้ง 2 มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันการเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาภูมิอากาศทั่วโลก หลายประเทศเผชิญปัญหาภัยพิบัติที่มีแนวโม้นรุนแรกมากขึ้น ประเทศไทยเห็นได้ชัดเจนคือ อุทกภัยภาคเหนือ เพราะฝนตกเฉพาะจุด และแช่เป็นเวลานานไม่ได้กระจายเหมือนเช่นในอดีต ประกอบกับการทำลายป่าเพิ่มมากขึ้นทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อบ้าน ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำ เมื่อเกิดขึ้นจึงเร็วและมีความรุนแรง

คุณอาจสนใจ

Related News