สังคม

ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด 7 จนท.ศุลกากร เอื้อนำเข้ารถหรูภาษีต่ำเกินจริง

โดย panwilai_c

25 มิ.ย. 2567

94 views

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. มีมติ ชี้มูลความผิด เจ้าหน้าที่ศุลกากร 7 นาย ฐานเอื้อให้เอกชนนำเข้ารถหรู 29 คัน จากประเทศอิตาลี ด้วยการจ่ายภาษีน้อยกว่าความเป็นจริง ทำให้รัฐเสียหายทางภาษี 30 ล้านบาทต่อคัน หรือรวมกว่า 897 ล้านล้าน



โดยคดีนี้มีความเกี่ยวข้องกับรถหรู 62 คัน จากทั้งหมด 122 คัน ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างการไต่สวน โดยคดีนี้ต่อเนื่องมาจากคดีรถหรู และรถจดประกอบที่ข่าว 3 มิติ เคยเกาะติดต่อเนื่องกว่า 10 ปีก่อน



คดีนี้มาจากกที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ รับกรณีรถหรู 6 คัน ถูกขนส่งไปจังหวัดศรีสะเกษ แต่เกิดไฟไหม้ที่ตำบลกลางดง อ.ปากช่อง เมื่อปี 2556 ต่อมาพบว่าเป็นรถนำเข้าผิดกฎหมายสำแดงเท็จ ว่าเป็นรถจดประกอบซึ่งมีหลายพันคัน ต่อมาก็ขยายผลมาพบว่ามีรถหรูนำเข้าจากยุโรป โดยเฉพาะประเทศอิตาลีจำนวน 122 คัน ที่ดีเอสไอพบว่า อาจสำแดงราคาต่ำกว่าความเป็นจริง เพื่อให้จ่ายภาษีต่ำกว่าความเป็นจริงด้วย



กระทั่งคณะทำงานของดีเอสไอ ไปตรวจสอบราคาซื้อขายจริงที่ประเทศอิตาลี จนทราบราคาซื้อขาย และขณะนั้นทั้งกรมสอบสวนคดีพิเศษและกรมศุลกากรได้เริ่มตรวจสอบข้อเท็จจริง จนพบว่ารถหรูอย่างน้อย 2 ยี่ห้อ คือแลมโบกินี่ และมาเซราติ มีการสำแดงต่ำกว่าราคาซื้อขายจริงด้วยการสำแดงราคาเท็จ



เช่นรถแลมโบ 1 คัน ซื้อมาในราคากว่า 2 แสนยูโร หรือเงินไทยขณะนั้นราว 12 ล้านบาท แต่เมื่อนำเข้าสำแดงเอกสารว่าซื้อเป็นสกุลดอลล่า หรือคิดเป็นเงินไทยขณะนั้นราว 3 ล้าน 4 แสนบาท เมื่อต้องนำมาคำนวณภาษี 328 เปอร์เซ็น จึงได้จ่ายภาษี เป็น 11 ล้านบาท ทั้งที่หากสำแดงการนำเข้าเป็นสกุลยูโรตามจริง และอัตราแลกเปลี่ยนขณะนั้น จะเป็น 12 ล้าน 6 แสนบาท และเมื่อต้องเสียภาษี 328 เปอร์เซ็นต์ จะเป็นเงินภาษีที่ต้องจ่ายกว่า 41 ล้านบาท เมื่อหักลบจากที่จ่ายไปแล้ว 11 ล้านบาท ทำให้ภาครัฐ ยังขาดภาษีกว่า 30 ล้านบาท ต่อคัน



การตรวจสอบคณะทำงานขณะนั้น พบว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวข้องในขั้นตอนการรับราคาที่เอกชนสำแดง ซึ่งไม่ใช่ราคาที่สะท้อนความเป็นจริง จึงนำสำนวนส่งฟ้องต่อ ป.ป.ช.



กระทั่งวันนี้ นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช.แถลงว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดคดีสำคัญกรณีเกี่ยวกับ การกระทำความผิดต่อหน้าที่ราชการ กรณีคณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมายคณะไต่สวนเบื้องต้น เพื่อดำเนินการไต่สวนกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่า



นายชลิต / นายเอกสิทธิ์ / นายนิตย์ชัย / นายสนองชัย / นายธนพล / นายอภิชาต และนายพรชัย ซึ่งมีทั้งเป็นนักวิชาการศุลกากรชำนาญการ และปฏิบัติการฯ สำนักงานศุลกากรกรุงเทพ และ นายศรัณยพงศ์ นักวิชาการศุลกากรชำนาญการ สังกัดสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง



ทั้งหมด ช่วยเหลือผู้ประกอบการนำเข้ารถยนต์ ที่ไม่ใช่ตัวแทน ด้วยการรับราคารถยนต์นั่งใหม่ สำเร็จรูปที่นำเข้าจากต่างประเทศ ที่สำแดงราคาต่ำกว่าความเป็นจริง เป็น ราคาศุลกากร และตรวจปล่อยไปจากอารักขาศุลกากร รวมจำนวน 62 คัน จาก 2 สำนวนคดี โดยระหว่างวันที่ 17 ม.ค. 2554 ถึงวันที่ 28 ต.ค. 2557 ได้ตรวจปล่อยรถยนต์นั่งใหม่สำเร็จรูปยี่ห้อ LAMBORGHINI ซึ่งนำเข้าโดย บริษัท จูบิลีไลน์ จำกัด และบริษัท เบนซ์นครินทร์ ออโต้ กรุ๊ป จำกัด จำนวน 29 คัน



และยี่ห้อ MASERATI นำเข้าโดยบริษัท เฟอร์ม่า มอเตอร์ จำกัด จำนวน 33 คัน ตามใบขนสินค้าซึ่งสำแดง ราคาต่ำกว่าความ เป็นจริง เป็นราคาศุลกากร และได้ชำระค่าภาษีอากรแล้ว ไปจากอารักขาของศุลกากร



โดยรู้อยู่แล้วว่าราคาที่บริษัทผู้นำเข้าทั้งสามบริษัทสำแดง ไม่ใช่ราคาที่ได้ชำระจริง และเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาซื้อขายจริ ง ทำให้บริษัทผู้นำเข้าได้ประโยชน์ ในการชำระค่าภาษีอากรนำเข้าน้อยกว่า ที่ต้องชำระจริง เป็นเหตุให้กรมศุลกากร กรมสรรพากร และกรมสรรพสามิต ได้รับความเสียหาย รวมเงินไม่น้อยกว่า 897,148,369 บาท



คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้ว มีมติ ว่าเจ้าหน้าที่ศุลกากร ทั้ง 7 คน มีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 154,157 และมาตรา 162 ตาม พรบ.ป.ป.ช. และมีความผิดวินัยร้ายแรง



ส่วนการกระทำของบริษัท จูบิลี่ไลน์ จำกัด / บริษัท เบนซ์นครินทร์ ออโต้ กรุ๊ป จำกัด / บริษัท เฟอร์ม่า มอเตอร์ จำกัด และเอกชนที่เกี่ยวข้อง มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำความผิด และฐานความผิดอื่นที่เกี่ยวข้อง



สำหรับกรณนี้มี สองสำนวน รวมรถยนต์ 62 คัน แต่ยังสำนวนคดีที่เกี่ยวกับรถอีก 60 คัน ที่อยู่ระหว่างการไต่สวน

คุณอาจสนใจ

Related News