สังคม

ผู้ปกครองร้องป.ป.ช. หลังลูกสอบเข้ารร. ได้ แต่ถูกเรียกเก็บ 'เงินแปะเจี๊ยะ' หากไม่จ่ายไม่ได้เข้าเรียน

โดย parichat_p

11 มี.ค. 2567

56.1K views

ปัญหาการเรียกรับเงินใต้โต๊ะ ในระบบการศึกษาของไทย หรือแป๊ะเจี๊ยะ ทางการศึกษายังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง เพียงแต่เปลี่ยนวิธีการที่ผู้เกี่ยวข้องของโรงเรียนจะรับกับมือเองโดยตรง เป็นรับผ่านเคลือข่ายหรือสมาคมผู้ปกครอง หรือชมรมผู้ปกครองล่าสุดมีผู้ปกครองคนหนึ่งไปร้องเรียนกับ ป.ป.ช. จังหวัดนครสวรรค์ ว่าลูกสอบเข้าเรียนในโรงเรียนแห่งหนึ่งได้ แต่หากไม่จ่ายก็ไม่เข้าเรียน


"วันมอบตัวเราจะจ่ายค่าเทอม กับ 30,000 กับ 35,000 ถ้าวิทย์ คณิต ก็จ่าย 30,000 ถ้าสองภาษาก็จ่าย 35,000 ทั้งค่าเทอม 17,500 ไม่จ่ายก็ไม่ได้เรียน


ผู้ปกครองนักเรียนคนนี้ ยอมเปิดเผยข้อมูลและพฤติกรรม ของชมรมผู้ปกครอง และครูโรงเรียนชื่อดังแห่งหนึ่ง ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ เรียกเก็บเงินจากผู้ปกครองนักเรียน ค่าบำรุงสมาชิกชมรมฯ ประจำปี การศึกษา 2566 เป็นเงินจำนวน 30,000.- 35,000.- บาท เงินจำนวนนี้เป็นที่รู้จักกันดีในกลุ่มผู้ปกครองนักเรียนด้วยกันเองว่า เป็นเงินบริจาค หรือเงินบำรุงโรงเรียน ซึ่งสร้างภาระให้กับผู้ปกครองเป็นอย่างมาก หากถ้าใครไม่จ่าย ลูกก็จะถูกลอยแพไม่มีพื้นที่นั้งเรียน


"ปัญหา ณ. วันเนี่ย มันเกินขึ้นมาหลายปีแล้วค่ะ เกิดขึ้นมาหลายปี แต่นะที่วันเนี่ยที่เห็น ปี 66 , 66.กับ 67.ที่จะเรื้อรังต่อ ตอนนี้เริ่มไปเก็บภาคปกติอีกสามพันบาท"


นายนิธินันท์ นภาพร อดีตประธานชมรมศิษย์เก่า โรงเรียนอนุบาลนครสวรรค์ ก็ยอมรับว่า เงินที่ผู้ปกครองบริจาคเข้าชมรมมานั้นส่วนใหญ่ก็นำไปจัดจ้างครูมาติวเด็กๆ และจัดกิจกรรมภายในที่เกี่ยวกับเด็กๆ


"เงินตัวเนี่ยมันต้องไปถึงเด็ก เพราะฉนั้นการจัดการของสมาคมก็ต้องจัดเจน ส่วนใหญ่เงินตรงนี้ก็จะเอาไปทำในเรื่องของการ ติวเด็ก ครับอันนี่เรามองเห็นความสำคัญว่า ถ้าเราไม่มีการติวเนี่ย มันก็ทำให้เด็กขาดโอกาส ในการสอบแข่งขัน ในการเข้าโรงเรียนดีๆแต่ว่าการติวพี่ก็น่าจะรู้ว่าค่าใช้จ่ายในการติวมันเยอะมาก "


นายนิธินันท์ นภาพร ยังบอกต่ออีกว่า ปัญหานี้มันอยู่ที่เชิงโครงสร้าง ของข้อกฏหมาย และ งบประมาณ จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ หรือ สพฐ. ไม่มีการปรับเปลี่ยนให้ทันยุคปัจจุบัน.


"ผมเชื่อว่าทุกโรงเรียนไม่ต้องการเรียกเก็บกับผู้ปกครองเพิ่ม แต่นะวันนี้ ก็ต้องบอกว่าปัญหาที่เกิดขึ้นทุกโรงเรียนเนี่ย เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของกฏหมาย กฏหมายหรือ พ.ร.บ.ต่างๆ ที่เขียนขึ้นมาเนี่ยบ้างทีการที่เราฟิก ว่าการที่จำกัดเลยว่าเงินต้องเก็บกี่บาท ณ. วันนี้เงิน หมื่น หนึ่งหมื่นกว่าบาท เราซื้อก๋วยเตี๋ยวได้กี่ชาม แล้ว 20 ปีที่แล้ว แล้ว ณ.วันนี้มันชื้อลดไปครึ่งหนึ่ง ทำให้มูลค่าของเงินในการจับจ่ายในโครงการ หรือการพัฒนานักเรียนมันน้อยลง นั้นเป็นปัญหาว่าเมื่อก่อน เราเก็บเงินได้เท่านี้บาท เราทำดีขนาดนี้ แต่ว่าข้อจำกัดที่ บอกว่าเก็บได้เท่าเดิม ผ่านมา 20 ปี แล้วต้องการคุณภาพเท่าเดิน มันทำไม่ได้ นั้นเป็นปัญหาของเชิงโครงสร้าง ของทั้งประเทศ เพราะฉนั้นเนี่ย ถ้าไม่มีการแก้ไข มันก็จะต้องถ้าโรงเรียนหรือผู้ปกครองต้องการให้มีคุณภาพเท่าเดิม มันก็ต้องหาวิธีการที่จะเอาเงินตรงนี้มาจากไหน เพิ่มมาจากไหน โดยที่ไม่ผิดระเบียนและไม่ผิดข้อกฏหมาย "


นายอภินันท์ เรืองประเภท ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดนครสวรรค์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ยอมรับว่าปัญหา"เงินแป๊ะเจี๊ยะ" ที่ผู้ปกครองเรียกกันว่าเงินบริจาคเงินให้กับโรงเรียน เพื่อแรกกับให้ลูกได้เข้าเรียนโรงเรียนนั้นๆ ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช.ประจำจังหวัดนครสวรรค์ ก็ได้รับเรื่องร้องเรียนเข้ามาเยอะมาก และอยู่ในระหว่างขั้นตอนสืบสวนสอบสวนกันอยู่


"ล่าสุดจะมีการร้องเรียนไปยังที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองบังคับการสืบสวนสอบสวนกลางตรงนี้ ก็รับเป็นอีกคดี คดีหนึ่งทำคู่ขนาดกันไป ทั้ง ป.ป.ช. แล้วก็สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทำคู่ขนาดกันไป ซึ่งผลคดีนี้ก็คง ในขั้นตอนการตรวจสอบข้อเท็จจริงอะ เมื่อเสร็จก็นำเข้าอนุกรรมการกลั่นกรองนะครับ เพื่อว่าดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงต่อไป อันนี้ก็ต้องขั้นอยู่กับทางรูปคดี


ล่าสุด นายอภินันท์ เรืองประเภท ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดนครสวรรค์ ได้มอบหมายเจ้าหน้าที่กลุ่มงานป้องกันการทุจริต ลงพื้นที่เร่งให้ความรู้ในหัวข้อ การส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันการทุจริตในประเด็นติดสินบน ภายใต้โครงการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ กับบุคลากรเจ้าหน้าที่สำนักงานศึกษาธิการภาค 18 จังหวัดนครสวรรค์แล้ว

คุณอาจสนใจ

Related News