สังคม

สภาฯ-ภาคประชาสังคม ร่วมถก 3 ปี รัฐประหารในเมียนมา ห่วงวิกฤตมนุษยธรรม

โดย panwilai_c

2 มี.ค. 2567

96 views

สภาผู้แทนราษฎรร่วมกับภาคประชาสังคมและองค์กรระหว่างประเทศ จัดประชุมหารือถึงสถานการณ์เมียนมา 3 ปีหลังรัฐประหาร หวังเป็นพื้นที่พูดคุยเพื่อนำไปสู่การสร้างสันติภาพที่ยั่งยืน แต่เสียดายที่รัฐบาลไม่ได้เข้าร่วม ขณะที่ผู้รายงานพิเศษด้านเมียนมาประจำสหประชาชาติ ชื่นชิมที่ไทยริเริ่มการช่วยเหลือมนุษยธรรมต่อเมียนมา แต่อาจต้องทบทวนวิธีการเพื่อให้เข้าถึงผู้ได้รับผลกระทบ โดยเห็นว่าประชาคมระหว่างประเทศทั้งหมดต้องทำงานร่วมกันเพื่อแก้ไขวิกฤตมนุษยธรรมในเมียนมาอย่างเร่งด่วน



คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศและเครือข่ายประชาสังคม โดยมีนักวิชาการ ผู้แทนองค์กระระหว่างประเทศ รวมถึงตัวแทนของภาคส่วนและกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในเมียนมา และบุคคลสำคัญ เช่นจ่อ โม ตุน ผู้แทนถาวรเมียนมาประจำสหประชาชาติ, ซีน มา อ่อง รัฐมนตรีการต่างประเทศใน ขณะที่นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 เป็นประธานเปิดงาน แทนนายปานปรีย์ พิหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่ยกเลิกมาร่วมงานจากที่เคยตกลงว่าจะมาร่วมก่อนหน้านี้ ทำให้ทางคณะกรรมาธิการ เสียดายโอกาสที่รัฐบาลจะได้มาร่วมแลกเปลี่ยนแนวนโยบายที่มีต่อเมียนมา เพราะไทยเป็นหุ้นส่วนสำคัญที่จะร่วมสร้างสันติภาพในเมียนมาได้และเป็นเป้าหมายของการจัดงาน ที่หวังว่ารัฐสภาไทยจะสร้างการมีส่วนร่วมต่อการแก้ไขปัญหาในเมียนมาด้วย



สำหรับหัวข้อสำคัญในการพูดคุยมีการพูดถึงข้อริเริ่มระเบียงมนุษยธรรม ที่ไทยจะเปิดศูนย์ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อเมียนมา ซึ่งนายทอม แอนดรูว์ ผู้รายงานพิเศษด้านเมียนมาประจำสหประชาชาติ ชื่นชมที่รัฐบาลนี้ต้องการมีบทบาทที่สร้างสรรค์ต่อสถานการณ์ในเาียนมา และริเริ่มด้านมนุษยธรรม แต่มีความกังวลว่าจะต้องมีวิธีการที่ทำให้การช่วยเหลือไปถึงผู้ได้รับผลกระทบจากการโจมตีและการละเมิดสิทธิมนุษยชนกว่า 18.6 ล้านคน ซึ่งไทยเหมาะสมจะเป็นพื้นที่ช่วยเหลือมนุษยธรรมต่อเมียนมา แต่ประชาคมระหว่างประเทศทั้งหมดจะต้องเข้ามามีบทาทด้วย ซึ่งต้องเร่งทำเพื่อคลี่คลายวิกฤตนี้



เช่นเดียวกับ ขิ่น โอมา นักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยในเมียนมา เห็นเช่นเดียวกับว่า ไทยอาจต้องทบทวนการช่วยเหลือด้านมนุษธรรมที่อาจต้องเปลี่ยแปลงวิธีในการทำเรื่องนี้เพราะไม่สามาถทำงานกับรัฐบาลทหารพม่าได้ ควรทำงานร่วมกับรัฐบาล NUG และกลุ่มชาติพันธุ์ด้วย



ซึ่งนักวิชาการด้านเมียนมา มองว่าการพูดคุยวันนี้มีมุมมองสำคัญทั้งแนวโน้มสถานการณ์การสู้รบและบทบาทของไทยโดยเฉพาะข้อห่วงใยกับข้อริเริ่มมนุษยธรรม ก่อนจะไปถึงการสร้างสันติภาพ



นอกจากนี้จะมีการพูดคุยถึงความเป็นไปได้ในการเจรจาสันติภาพในเมียนมา รวมถึงเป้าหมายของการต่อสู้เพื่อความเป็นสหพันธ์รัฐประชาธิปไตย โดยมีตัวแทนกลุ่มชาติพันธ์เข้าแลกเปลี่ยนในวันพรุ่งนี้ด้วย

คุณอาจสนใจ

Related News