สังคม
ผลักดันผังน้ำ เป็นฐานข้อมูลบริหารพื้นที่ 22 ลุ่มน้ำทั่วประเทศ เพื่อรับมือน้ำท่วม-น้ำแล้ง
โดย parichat_p
19 ก.ย. 2566
55 views
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เร่งเผยแพร่ผลการศึกษาผังน้ำลุ่มน้ำยม และลุ่มน้ำน่าน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ 22 ลุ่มน้ำทั่วประเทศ ที่ต้องจัดทำผังหรือฐานข้อมูลน้ำ เหมือนกับผังเมือง เพื่อให้ทุกหน่วยงานใช้เป็นฐานข้อมูลในการนำไปพัฒนาที่ดิน ที่อยู่อาศัย หรือระบบสาธารณูปโภค ที่ไม่ขวางทางน้ำ หรือเรียกได้ว่านำข้อมูลผังน้ำไปใช้วางแผนพัฒนาเมือง รวมถึงวางแผนบริหารจัดการน้ำ เพื่อรับมือทั้งน้ำท่วมน้ำแล้ง โดยเฉพาะปีนี้เผชิญภาวะเอลนีโญ ที่ทำให้ฝนตกน้อยกว่าค่าเฉลี่ยะ ผังน้ำดังกล่าวก็จะช่วยวางแผนรับมือได้
การปรับปรุงคลองหกบาท อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย เป็นหนึ่งในเครื่องมือบริหารน้ำที่ถูกคาดหวังว่าจะช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมตัวเมืองสุโขทัยได้ดีกว่าเดิม และจะช่วยกักกับเก็บน้ำไว้ใช้หน้าแล้งมากขึ้น
เพราะเดิมคลองหกบาท รับน้ำได้ 250 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ไม่มากพอที่จะตัดยอดน้ำของแม่น้ำยม ที่จะไหลผ่านตัวเมืองสุโขทัยได้ แต่เมื่อปรับปรุงใหม่จะรับน้ำได้เพิ่มเป็น 500 ลบม./วินาที เป็น 500 ลบ.ม./วินาที จะทำให้น้ำในแม่น้ำยมที่จะไหลผ่านตัวเมืองสุโขทัยลดลง / โดยปลายทางคลองหกบาทจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำยม จะไปเชื่อมต่อกับฝั่งขวา ของแม่น้ำน่าน ที่อำเภอพิชัย จ.อุตรดิตถ์ คลองนี้ถูกปรับปรุงให้ลึกและกว้างเพื่อใช้กักเก็บน้ำไว้ใช้หน้าแล้งได้ด้วย
แผนการก่อสร้างโดยกรมชลประทาน เป็นส่วนหนึ่งที่กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ วางแผนและอนุมัติภายใต้แผนบริหารทรัพยากรน้ำ ซึ่งจะเกิดขึ้นทั้งเพื่อรับมือน้ำท่วม และภัยแล้ง ที่สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินและระบบเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงการจัดทำผังน้ำของลุ่มน้ำ 21 แห่งทั่วประเทศ เมื่อได้ข้อมูลแล้วเสร็จตามกระบวนการ จะถูกประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อเป็นฐานข้อมูลการพัฒนา เช่นพัฒนาที่อยู่อาศัย ย่านชุมชน หรือพื้นที่เกษตรกรรม หากมีผังน้ำก็จะวางแผนพัฒนาสอดคล้องกับข้อมูล
ตัวอย่างบางส่วนที่ถูกกำหนดเป็นรหัสโซนผังน้ำ เช่น ล.หมายถึงพื้นที่ทางน้ำหลาก น.หนู หมายถึง พื้นที่ทางน้ำนองและต.ต่อ หมายถึงพื้นที่ลุ่มต่ำ 21 ลุ่มน้ำ ที่ได้ผังนี้ จะมีรหัสเดียวกันและใช้เป็นบานข้อมูลเสมือนผังเมือง
อำเภอบางระกำ จ.พิษณุโลก เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดว่าอยู่ในผังน้ำเป็นทั้งพื้นที่น้ำนอง น้ำหลาก ทำให้บริหารจัดการน้ำยึดถือทั้งภูมิประเทศและผังน้ำ / ส่วนหนึ่งจึงจัดอยูในบางระกำโมเดล กำหนดห้วงเวลาเพาะปลูกเพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำ อย่างไรก็ตาม มีข้อเท็จจริงว่า ณ เวลานี้มีการทำนาปีรอบ 2 ซึ่งสุ่มเสี่ยงที่จะเสียหายจากน้ำไม่เพียงพอ
ตอนนี้กรมชลประทานบรรจุโครงการประตูระบายน้ำ 4 แห่ง คือประตูระบายน้ำท่านางงาม /ประตูระบายน้ำบ้านท่าแห/ประตูระบายน้ำบ้านวังจิก /และประตูระบายน้ำโพธิ์ประทับช้าง เพื่อรับมือกับทั้งน้ำท่วมในที่ลุ่มบางระกำ และหวังว่าจะช่วยภัยแล้งในภาวะเอลนีโญ่นี้ด้วย
แท็กที่เกี่ยวข้อง ลุ่มน้ำ ,กรมชลประทาน ,กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ,ทรัพยากรน้ำ