สังคม

เร่งตรวจสอบผู้เกี่ยวข้อง 'บ.อัลลัวร์ กรุ๊ป' หลังพบลูกเขย ส.ว.-เอ็ดดี้ เป็นผู้ถือหุ้น

โดย panisa_p

14 มี.ค. 2566

694 views

บริษัทอัลลัวร์ กรุ๊ป กำลังถูกตั้งคำถามจากสังคมว่า มีใครเป็นกรรมการผู้ถือหุ้นใหญ่ หลังจากตำรวจชุดสืบสวนแกะรอยจากกลุ่มเครือข่ายผู้ค้ายาเสพติดรายย่อย ไปจนถึงเครือข่ายรายใหญ่อย่างน้อย 5 เครือข่าย ใช้บัญชีโอนผ่านบริษัทอัลลัวร์ กรุ๊ป จากการตรวจสอบพบว่าในช่วงแรก บริษัทมีเจ้าของเป็นสมาชิกวุฒิสภาคนหนึ่ง แต่ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาได้เปลี่ยนให้ลูกเขยของสมาชิกวุฒิสภาเป็นผู้ถือหุ้น และยังมีผู้เข้ามาร่วมถือหุ้นเป็นนายพันณรงค์ ขุนพิทักษ์ หรือเอดดี้ ผู้ต้องหาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจผิดกฎหมายเข้ามาถือหุ้นเป็นรายล่าสุด



อัลลัวร์กรุ๊ป เป็นบริษัทที่ซื้อขายกระแสไฟฟ้ารายใหญ่ ตั้งแต่ปี 2551 มียอดขายกระแสไฟฟ้า อยู่ที่ 30 ล้านบาทต่อเดือน เมื่อประมาณปี 2563 ได้มีการจ่ายค่าไฟฟ้าด้วยการโอนเงินเข้ามาจากหลายบัญชี เฉลี่ยอย่างต่ำเดือนละ 50 บัญชี โดย น.ส.ปิยะดา จะเป็นผู้ประสานแจ้งไปยังการไฟฟ้า เป็นการโอนจ่ายโดยตรง เมื่อเกิดความไม่ชอบมาพากลขึ้น



ต่อมาได้มีการทำสัญญาใหม่ กับบริษัทอัลลัวร์กรุ๊ป ในเดือนกรกฎาคม ปี 2564 โดยทำการจ่ายค่ากระแสไฟฟ้าด้วยวิธีการโอนเงิน ผ่านเข้ามายังบริษัท ซึ่งมีจำนวนหลายบัญชีโอนเข้ามาจำนวนมาก กระทั่งเมษายน 2565 บริษัทอัลลัวร์ กรุ๊ป พีแอนด์อี ก็ทำสัญญาขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฉบับใหม่ แต่จ่ายเงินจากการโอนเงินจากบัญชีธนาคารของบริษัทอัลลัวร์กรุ๊ป ซึ่งผู้ประสานงานการจ่ายเงิน เป็น น.ส.ปิยะดา



โดยขณะนั้นได้มีการโอนเงินเข้ามายังบริษัท จำนวนไม่ต่ำกว่า 500 บัญชี รวมทั้งเครือข่ายยาเสพติดอย่างน้อย 5 เครือข่าย ได้ฉวยโอกาสใช้บัญชีม้า โอนเข้ามายังบริษัทจำนวนมากด้วยเช่นกัน จากการตรวจสอบกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าพบว่า บริษัทอัลลัวร์กรุ๊ป ตั้งอยู่ที่ ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย มีกรรมการบริษัท คือ นายพันณรงค์ ขุนพิทักษ์ หรือเอดดี้ โดยผู้ก่อตั้งบริษัท คือ สมาชิกวุฒิสภา จดทะเบียนบริษัทในปี 2549 และเป็นกรรมการบริษัท กระทั่งปี 2562 ผุู้ถือหุ้นใหญ่ ยังเป็นสมาชิกวุฒิสภา ถือหุ้นจำนวน 7798 หุ้น



หลังจากนั้นได้ให้นายดีนยัง จุลธุุระ มาเป็นกรรมการของบริษัทแทน เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 7798 หุ้น จาก 9300 หุ้น

ก่อนนายพันณรงค์ ขุนพิทักษ์ จะเข้ามาซื้อหุ้น เป็นเงิน 300 ล้านบาท ในเดือน กค.ปี 2563 แต่นายดีลยังถือหุ้นใหญ่เช่นเดิม

หลังตำรวจออกหมายจับ นายทุน มินลัต นายดีลยัง น.ส.ปิยะดา เลขา สมาชิกวุฒิสภา และ น.ส.น้ำหอม ทั้งหมดให้การไปในทิศทางเดียวกัน



โดยเฉพาะนายทุนมินลัต และ น.ส.ปิยะดา ที่ระบุว่าได้ทำตามคำสั่งของสมาชิกวุฒิสภาทุกประการ และเงินกำไรจากค่ากระแสไฟฟ้า ที่ขายไปฝั่งท่าขี้เหล็กได้โอนไปยังสมาชิกวุฒิสภา



การสืบสวนการฟอกเงินของผู้ค้ายาเสพติด นับเป็นวิธีการฟอกเงินที่แยบยล ไม่เคยมีการสืบสวนแนวนี้มาก่อน และไม่สามารถคาดเดาได้ว่า การสืบสวนจากเครือข่ายรายย่อย ตั้งแต่ปี 2562 ตั้งแต่นายชัชวาชย์ ทับทิมเทศ นายอัครัฐ ผันผิง นายอัครัฐ ผันผิง ขยับขึ้นมารายใหญ่ คือนายพิทวัส แสงโสภา ที่มีเครือข่ายในมืออีก 3 เครือข่าย ที่โอนเงินยาเสพติดโดยใช้บัญชีม้า การสืบสวนไม่ได้จบที่ผู้ค้ารายใหญ่ เพราะเครือข่ายยาเสพติดจะต้องจ่ายเงินค่ายาไปยังผู้ผลิตในประเทศเพื่อนบ้าน มีวิธีการจ่ายยาด้วยวิธีใด คงไม่ใช่การโอนไปสู่ผู้ผลิตยาโดยตรงเนือ่งจากจะถึงตัวการใหญ่ จึงต้องผ่านการชำระเงินด้วยวิธีการฟอกเงินก่อน จึงพบว่า บริษัทอัลลัวร์กรุ๊ป เป็นหนึ่งบริษัทที่มีการโอนจ่ายเงินจากเครือข่ายยาเสพติด



และวิธีการสืบสวนถึงขบวนการฟอกเงิน ก่อนหน้านี้ของทีมตำรวจชุดกองกำกับการ 2 กองบังคับการสืบสวนสอบสวนนครบาล ชุดที่ถูกโยกย้าย ยังได้สืบลักษณะเดียวกันนี้มาก่อน จนพบว่ามีการฟอกเงินไปประเทศเพื่อนบ้านด้วยวิธีการส่งขายน้ำมัน โดยมี 2 เครือข่ายยาเสพติดกลุ่มเดียวกันกับกลุ่มที่โอนค่ายาไปยังบริษัทอัลลัวร์กรุ๊ป โอนไปยังบริษัทลมปราณ บริษัทขนส่งสินค้า ที่อ้างว่าขนส่งน้ำมันไปยังฝั่งท่าขี้เหล็ก จนทำให้นายวรวัฒน์ วังศพ่าห์ ที่ปรึกษาสมาชิกวุฒิสภา ถูกศาลตัดสินประหารชีวิต พร้อมพรรคพวกรวม 6 คนมาแล้ว

คุณอาจสนใจ