สังคม

ไตรภาคีด้านแรงงาน ยกระดับความร่วมมือ รับวิกฤติค่าแรง-ค่าครองชีพ

โดย pattraporn_a

11 มิ.ย. 2565

56 views

เกาะติดเวทีการประชุมองค์การแรงงานระหว่างประเทศที่นครเจนิวา วันที่ 2 ไตรภาคีด้านแรงงานของไทย แสดงจุดยืน ยกระดับความร่วมมือเพื่อช่วยแรงงาน รับมือวิกฤติค่าแรงและค่าครองชีพ


ข่าว 3 มิติ ยังติดตามประเด็นที่ประเทศไทย ในฐานะชาติสมาชิกขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ได้เข้าร่วมการประชุมใหญ่ประจำปีในสมัยที่ 110 ที่นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ซึ่งนอกจากกระทรวงแรงงานในฐานะตัวแทนฝ่ายรัฐ ได้กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมแล้ว ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง และลูกจ้าง ซึ่งเป็นไตรภาคี ก็แสดงจุดยืนว่า ความร่วมมือกันของรัฐ นายจ้าง และลูกจ้าง เป็นกุญแจสำคัญ ให้รับมือวิกฤติด้านอาหาร พลังงานและวิกฤติการเงินในอนาคตอันใกล้ได้


นายพนัน ไทยล้วน ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย คือหนึ่งในไตรภาคี ที่ขึ้นกล่าวถ้อยแถลงในการประชุมใหญ่ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ILO ซึ่งจัดประชุมสมัยที่ 110 ที่นครเจนีวา และนอกเหนือจากการวิพากษ์และเสนอแนะต่อบทบาท ILO แล้ว ตัวแทนลูกจ้างยังสะท้อนปัญหาและข้อกงวลที่ไม่ควรเกิดขึ้นโดยเฉพาะการอ้างโควิดเพื่อเลิกจ้างแรงงานสูงเกินจริง แล้วไปว่าจ้างซับคอนแทคแทน หรือแม้แต่การเลิกจ้างก่อนวัยเกษียณที่ต้องมีค่าตอบแทนที่เหมาะสม


ประธานสภาองค์การนายจ้างธุรกิจไทย เป็นผู้แทนไตรีภาคีฝ่ายนายจ้าง ขึ้นกล่าวถ้อยแถลง พร้อมเสนอแนะในมุมมองของนายจ้าง ที่ต้องเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ทั้งวิกฤติราคาพลังงาน ราคาอาหาร และวิกฤติการเงิน ขณะที่ประเทศไทย ซึ่งพึ่งพาธุรกิจท่องเที่ยว นายจ้างต้องเตรียมบุคลากรด้านนี้ให้มีทักษะเพิ่มขึ้นอีก


ตอนนี้ไตรภาคีด้านแรงงานคือรัฐ นายจ้าง และลูกจ้าง ต่างต้องอาศัยความร่วมมือกันในหลายประเด็นเพื่อฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจทีเกิดจากโควิด และความขัดแย้งระหว่างประเทศที่ส่งผลต่อเนื่อง และอาจกระทบค่าแรง ซึ่งกระทรวงแรงงานยืนยันถึงการเพิ่มค่าจ่าง 16 สาขาอาชีพล่าสุด ตามมาตรฐานฝีมือแรงงงาน ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวานนี้ ทำให้นายจ้างต้องจ้างแรงงานในอัตราดังกล่าว


ราชกิจจานุเบกษาประกาศเมื่อ วันที่ 9 ที่ผ่านมา เรื่องอัตราคาจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 3 กลุ่มอาชีพ 16 สาขา เช่น กลุ่มสาขาก่อสร้าง ช่างปูกระเบื้อง ระดับ 1 450 บาทต่อวัน ระดับ3 650 บาทต่อวัน กลุ่มช่างอุตสาหกรรมศิลป์ เช่นช่างติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ระดับ 2 ค่าจ้างสูงสุด 550 บาทต่อวัน หรือกลุ่มอาชีพบริการ เช่นช่างตัดผมหญิง ระดับ 3 ค่าจ้างสูงสุด 650 บาทต่อวัน


ข้อกำหนดดังกล่าวระบุชัดเจนว่าลูกจ้างที่ผ่านมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในแต่ละระดับและมีเอกสารรับรอง ต้องได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่าอัตราที่กำหนดดังกล่าว ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในอีก 90 วัน หลังจากนี้

คุณอาจสนใจ

Related News