สังคม

"สำรองไฟฟ้า" ต้นเหตุค่าไฟแพง โรงไฟฟ้าใหญ่ 8 แห่งที่รัฐจัดจ้าง ได้ผลประโยชน์เต็มๆ

โดย pattraporn_a

21 มี.ค. 2565

297 views

สภาองค์กรของผู้บริโภค เรียกร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เร่งแก้ปัญหาทั้งราคาพลังงานที่สูง และปัญหาพลังงานสำรองล้นระบบ ทำให้ค่าไฟฟ้าแพงขึ้นจนกระทบประชาชน และระบุว่าหากจะให้ประชาชนพึ่งพาตัวเองในวิกฤติพลังงานเช่นนี้ รัฐก็ควรส่งเสริมให้ประชาชนติดโซลาร์เซลล์ในระบบเนตมิเตอริ่ง หรือหักจ่ายจากระบบการไฟฟ้าได้ พร้อมขยายเวลารับซื้อไฟจากชาวบ้าน


หนังสือที่หลายเครือข่ายประชาชนชนยื่นถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานวันนี้ อ้างถึงสาเหตุไฟฟ้าราคาแพงจากหลายปัจจัยที่สอดคล้องกัน นับจากที่การส่งเสริมเอกชนลงทุนธุรกิจพลังงานไฟฟ้าเกินสมควร ทำให้มีไฟฟ้าทั้งประเทศกว่า 46,136 เมกะวัตต์ ขณะที่ยอดใช้ไฟฟ้าสูงสุดแต่ละปีนับจากปี 2562 เป็นต้นมาใช้ไปราว 3 หมื่นเมกะวัตต์ ทำไฟฟ้าสำรองเกินอยู่ปี ละ 1 หมื่น เมกะวัตต์ ไฟฟ้าที่เกิน ก็ยังทำให้โรงงานไฟฟ้าขนาดใหญ่ หรือ IPP หยุดการเดินเครื่อง และเปิดช่องให้โรงไฟฟ้าขนาดเล็ก หรือ SPP.ผลิตไฟฟ้าแทน


ผู้ยื่นหนังสือระบุว่าแม้โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ไม่เดินเครื่อง แต่ก็ยังได้เงินค่าความพร้อมจ่ายไฟฟ้า ตามสัญญาที่ทำไว้ ในชื่อ ค่าความพ้อมจ่าย หรือ Take or pay คิดเป็นเงินปีละกว่า 4 หมืน่ 9 พันล้านบาท ขณะที่โรงไฟฟ้าขนาดเล็ก หรือSPP ก็ขายไฟฟ้าในราคาสูง ตามข้อตกลงประกันกำไร และในทีสุ่ดทั้งค่าใช้จ่ายให้โรงไฟฟ้าขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ก็ถูกรวมในค่า FT ที่ผู้ใช้ไฟต้องรับผิดชอบ


ข้อมูลจากนักวิชาการอิสระ ระบุว่ามีโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ 8 แห่ง จาก 12 แห่ง ที่หยุดจ่ายไฟ แต่ยังได้เงินส่วนนี้ ส่วนโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก ก็เป็นบริษัทลูก หรือใกล้ชิดกับโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ที่ได้ประโยชน์ นอกจากนี้ ยังอ้างอิงว่าโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก ราว 76 โรง จากทั้งหด155 โรง ที่ไม่ได้ใช้พลังงานหมุนเวียน แต่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งล้วนแต่เป็นสาเหตุให้ต้นทุนแพง และผลกระทบตกที่ผู้ใช้ไฟ


ขณะที่ นายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา รองเลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค เสนอให้กระทรวงพลังงานส่งเสริมให้ประชาชนใช้โซลาร์เซล์เต็มที่ ทั้งให้เปลี่ยนการรับซ้อไฟฟาจากประชาชนหน่วยละ 2.20 บาท เปลีย่นเป็นระบบเน็ตมิเตอรี่ หรือคิดไฟฟ้าแบบหักลบหน่วยโดยไม่ต้องเปลี่ยนหรือเพิ่มมิเตอร์ไฟฟ้า วิธีนี้จะทำให้ประชาชนพึ่งพาตัวเองได้


ข้อเรียกร้องถึงกระทรวงพลังงานที่นอกจากให้เจรจากับเอกชนผุ้ผลิตไฟฟ้าแล้ว ยังเรียกร้องให้ขยายเวลารับซื้อไฟฟ้าจากประชาชน จากเดิมกำหนดไว้ 10 ปี เป็น 20-25 ปีตามอายุการใช้งานของแผงโซลาเซลล์ พร้อมทั้งยับยั้งหรือทบทวนการคิดค่า FT ใหม่ในทันที


ทั้งนี้ ค่าเอฟที ( FT) หรือ Float time หรือค่าไฟฟ้าผันแปร เป็นค่าที่คิดจากต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่ไม่สามารถควบคุมต้นทุน ทั้งเรื่องราคาเชื้อเพลิง เงินเฟ้อ เป็นต้น ซึ่งปกติจะปรับทุก 4 เดือน และล่าสุดจะปรับอีกเดือนพฤษภาคม ถึงสิงหาคมนี้ ค่า FT จะปรับขึ้นอีก ซึ่งเมื่อรวมค่า FT กับค่าไฟฟ้าฐานขายปลีก จะเพิ่มขึ้นสูงสุดถึงหน่วยละ 4 บาท

คุณอาจสนใจ

Related News