สังคม

ราคาปุ๋ยเตรียมปรับขึ้นอีก พิษสงครามรัสเซีย-ยูเครน ซ้ำเติมวิกฤตโควิด ดันต้นทุนนำเข้าถีบตัวสูง

โดย pattraporn_a

15 มี.ค. 2565

126 views

ราคาปุ๋ยเคมีเตรียมปรับขึ้นอีก ทั้งจากวิกฤติรัสเซีย-ยูเครน และต้นทุนนำเข้าที่สูงขึ้น ขณะกระทรวงพาณิชย์ และ กระทรวงเกษตรฯ เตรียมแผนช่วยเหลือเกษตรกร


นายกสมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย ขอให้กระทรวงพาณิชย์ ปรับเพดานราคาจำหน่ายปุ๋ยเคมีขึ้นอีก หลังจากผู้ประกอบยอมขาดทุนมาหลายเดือน จนบางรายยกเลิกนำเข้า ซึ่งอาจทำให้ปุ๋ยในประเทศขาดตลาด เพราะจากวิกฤติโควิด และความขัดแย้งรัสเซี่ย-ยูเครน ที่ไทยนำเข้าปุ๋ยจากรัสเซียมากเป็นอันดับ 3 ล่าสุดปลัดกระทรวงพาณิชย์ ยอมรับว่าต้องพิจารณาปรับขึ้นราคาปุ๋ยเคมีให้สอดคล้องทุนต้น พร้อมประสานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เตรียมแผนรับมือผลกระทบที่จะเกิดกับเกษตรกร


นายกสมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย ยอมรับว่าความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-กับยูเครน เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ราคาปุ๋ยในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น เพราะรัสเซียเป็นหนึ่งในชาติที่ส่งออกปุ๋ยเคมีไปหลายประเทศ รวมถึงไทย ซึ่งนำเข้าปุ๋ยเคมีจากรัสเซีย และเบลารุส ผ่านท่าเรือที่ยูเครน ความขัดแย้งดังกล่าว จึงทำให้ปุ๋ยเคมีจาก 2 ประเทศนี้ ที่คิดเป็นร้อยละ 12 ถึง 14 ของปุ๋วยที่ไทยนำเข้าทั้งหมด หายไปจากตลาดทันที


ไทยนำเข้าปุ๋ยเคมีจีนเป็นอันดับ1 ปีที่แล้ว 1.9 ล้านตัน อันดับสอง คือซาอุดิอาระเบีย 7.2 แสนตัน นำเข้าปุ๋ยจากรัสเซียกับเบลารุส เป็นอับดับ 3 คือ7.1 แสนตัน


เฉพาะเบลารุส ไทยนำเข้าโพแทสเซียมคลอไรด์ หรือสูตร MOP ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะเป็นแม่ปุ๋ยผลิตปุ๋ยสูตรต่างๆ เฉพาะปี 64 มากถึง 2.4 แสนตัน  ส่วนจากรัสเซีย ไทยนำเข้าทั้งปุ๋ยสูตรเสมอ 15 / 16 กว่า 3 แสนตัน และยังมีสูตรอื่นๆ เมื่อรวมกับเบลารุส แล้วในปี 64 นำเข้า 7.1 แสนตัน


ตอนนี้ไทยแสวงหาแม่ปุ๋ยจากชาติอื่นๆ แทนเบลารุส และรัสเซีย ขณะที่ชาติอื่นก็แสวงหาเช่นกัน จนเกิดการแข่งราคาในตลาดโลก ทำให้ราคาปุ๋ยถีบตัวสูงขึ้น


นายกสมาคมการค้าปุ๋ยฯ ระบุว่าจำเป็นต้องขอให้กระทรวงพาณิชย์ ปรับเพดานการค้าปุ๋ยให้สูงขึ้นอีกให้สอดคล้องกับตุ้นทุนการนำเข้า เพราะหากปล่อยให้ขาดทุนไปอีกอาจะทำให้ปุ๋ยขาดตลาดได้


ข้อมูลจากสมาคมฯ พบว่าวิกฤติรัสเซีย-ยูเครน เป็นเพียงปัจจัยส่วนหนึ่ง แต่ปัจจัยหลักที่ดันราคาปุ๋ยทั่วโลกสูงขึ้นมาจากวิกฤติโควิด ที่กระทบการผลิต การขนส่ง และหลายประเทศลดการส่งออกปุ๋ยเพื่อใช้ในภาคเกษตรของตัวเองเป็นหลัก


เมื่อเปรียบเทียบราคาปุ๋ยระหว่างปีที่แล้วกับปีนี้จะพบว่ามีนาคมปีที่ ยูเรีย 46-0-0 360ดอลล่า/ตัน ปีนี้เพิ่มเป็น 1000 ดอลล่า/ตัน เพิ่มขึ้น 178 เปอร์เซ็นต์ หรือโพแทสเซียมคลอไรด์ (MOP) 0-0-60 มีนาคมปีที่แล้ว 256ดอลล่าต่อตัน ปีนี้ 750 ดอลล่า ต่อตัน เพิ่มขึ้น 193%


ล่าสุดการประชุมร่วมระหว่ากระทรวงพาณิชย์กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ข้อสรุปเมื่อค่ำวันนี้ว่า จะพิจารณาปรับราคาปุ๋ยเคมีให้สอดคล้องกับต้นทุนที่สูงขึ้นแต่จะพิจารณาเป็นรายไป และไม่ให้ปรับขึ้นมาก พร้อมประสานกระทรวงเกษตรฯเพื่อเตรียมแผนรับรองผลกระทบ


ขณะที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะจัดโครงการลดราคาปุ๋ยเคมี และส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ให้ได้ 5 ล้านตัน จากที่มีการผลิตอยู่แล้ว 3.2 ล้านตัน เพื่อช่วยเกษตรกรในช่วงที่ปุ๋ยเคมียังสูงขึ้น



คุณอาจสนใจ

Related News