สังคม

เปิดแผนเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก "เขื่อนกั้นลำน้ำชี" ตามโครงการโขง-ชี-มูล

โดย pattraporn_a

6 มี.ค. 2565

98 views

ความคืบหน้าการพยายามเรียกร้องให้รัฐ ชดเชย เยียวยา ผลกระทบจากการสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำชี ตามโครงการโขง-ชี-มูล ในอดีต ซึ่งชาวบ้านที่ร้อยเอ็ด และยโสธร เรียกร้องมากว่า13 ปี ล่าสุดอนุกรรมการแก้ไขปัญหา ของทั้งสองจังหวัด มีมติรับรองรายชื่อ และเอกสารสิทธิ์ชาวบ้านที่เดือดร้อนทั้ง 1228 คน แต่ยังไม่รับรองพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมตามคำร้องของชาวบ้านห้วงปี 2543 ถึง 2547 เนื่องจากต้องรอให้ผู้เชียวชาญแปลภาพถ่ายในแต่ละปีดังกล่าว เพื่อให้ประเมินผลกระทบแต่ละปี แล้วนำไปสู่การกำหนดค่าชดเชย 


หนึ่งในมติสำคัญของอนุกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการสร้างเขื่อนร้อยเอ็ด และเขื่อนยโสธร-พนมไพร ทั้งที่จังหวัดร้อยเอ็ด และยโสธร ซึ่งประชุมกันล่าสุด มีมติรับรองรายชื่อชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนตามลำน้ำชี ซึ่งเป็นองค์ประกอบของโครงการโขง ชี มูล ในอดีต รวมถึงรับรองเอกสารสิทธิ์ของชาวบ้านที่ทำกินและได้รับผลกระทบนั้นด้วย แยกเป็นผู้ได้รับผลกระทบใน จ.ร้อยเอ็ด 759 คน และจังหวัดยโสธร 469 คน รวม 2 พื้นที่จำนวน 1228 คน


ที่ผ่านมาชาวบ้านกลุ่มดังกล่าว และที่ยังตกหล่น หรือรอบที่สองอีกบางส่วนได้เรียกร้องมากว่า 13 ปีแล้วว่า เขื่อนที่สร้างกั้นลำน้ำชี ทำให้เกิดผลกระทบชนิดที่หวนกลับไม่ได้ นั่นคือปัญหาน้ำทว่มขังผิดฤดูกาล และท่วมขังนานกว่าที่เคยเป็น ซึ่งผ่านการตรวจสอบและยืนยันจากนักวิชาการแล้วว่า เป็นผลจากการสร้างเขื่อน


นางอมรรัตน์ วิเศษหวาน คือหนึ่งในชาวบ้านดอนแก้ว ตำบลบึงงาม อ.ทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด ที่ย้ำว่า ปกติที่นี่เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำ ในฤดูน้ำหลาก หรือท่วมจะใช้เวลาราว 10-15 วัน แต่หลังการมาของเขื่อน ทำให้ทว่มขังนานหลายเดือน และต้องอพยพแทบทุกปีนับจากปี 2543 เป็นต้น


หลังจากน้ำท่วมหนักหลายปีชาวบ้านดอนแก้วแทบทุกหลัง ต้องเสียเงินไปไม่นอยเพื่อถมดิน และยกบ้านให้สูงขึ้นหนีน้ำ ซึ่งชาวบานมองว่าเป็นการใช้เงินสว่นตัว เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดจากโครงการของรัฐ และจึงเป็นหนึ่งในแรงผลักดันเรียกร้องให้เกิดการชดเชย


หนึ่งในแกนนำชาวบ้านและเป็นผู้ช่วยเลขานุการ คณะอนุกรรมการฯ ระบุว่า แม้รายชื่อและเอกสารสิทธิ์ของชาวบ้านที่ได้รัรบผลกระทบทั้งสองจังหวัดจะได้รับการรับรอง ว่าเป็นผู้กระทบจริง แต่ยังไม่รับรองพื้นที่ ซึ่งต้องพิสูจน์ว่าพื้นที่ดังกล่าวในห้วงปี 2543 ถึง 2547 ได้รับผลกระทบจากน้ำทว่มกี่ไร่ และยาวนานเพียงใด ซึ่งต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่ายวิเคราะห์ร่วมกัน


กว่า 13 ปี ที่ชาวบ้านเคลื่อนไหวเรียกร้องการชดเชยเยียวยาผลกระทบเขื่อนในลำน้ำชี ขั้นที่เหลือจากนี้ คือการพิจารณาของคณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อม และสังคม ภายหลงการสร้างเขื่อน หรือ post eia โดยวิธีการสำคัญคือการเทียบแผนที่ทางอากาศก่อนและหลังสรางเขื่อน ระหว่างปี 2543-2547 ตามที่ชาวบ้านเรียกร้อง เพือ่พิจารณาให้ได้ข้อสรุป และเสนอต่อครม.เพื่อพิจารณา

คุณอาจสนใจ