เผยสถิติหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มเสี่ยงโควิด หากติดเชื้อ อาการรุนแรงกว่าคนธรรมดา 3 เท่า

สังคม

เผยสถิติหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มเสี่ยงโควิด หากติดเชื้อ อาการรุนแรงกว่าคนธรรมดา 3 เท่า

โดย thichaphat_d

14 ส.ค. 2564

131 views

นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย ออกมาแถลงข้อมูลสถานการณ์การติดเชื้อในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ มีข้อมูลทางสถิติ จากวันที่ 1 ธันวาคม 2563 ถึง 11 สิงหาคม 2564 พบกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด 6 สัปดาห์และทารกแรกเกิดติดเชื้อรวม 1,993 ราย เป็นกลุ่มคนไทย 1,315 ราย เป็นต่างด้าว 678 ราย เป็นกลุ่มทารกติดเชื้อ 113 ราย มีมารดาเสียชีวิต 37 ราย เป็นทารกที่เสียชีวิต 20 ราย ทั้งนี้ในกลุ่มผู้ติดเชื้อพบเป็นผู้ที่เคยรับวัคซีนแล้ว 10 ราย


ส่วนของข้อมูลการฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มสตรีมีครรภ์จนถึงวันที่ 11 สิงหาคม มีหญิงตั้งครรภ์ได้รับวัคซีนเข็มที่หนึ่งแล้ว 7935 ราย รับครบสองเข็มแล้ว 574 ราย


ทั้งนี้ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ โควิด-19 ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 37 ราย ในจำนวนนี้เสียชีวิตก่อนคลอด 16 ราย เสียชีวิตหลังคลอด 16 ราย โดยทุกรายเป็นการผ่าคลอด ไม่มีข้อมูลอยู่ระหว่างการสอบสวนโรค 5 ราย โดยสาเหตุของการเสียชีวิตพบปอดอักเสบจากการติดเชื้อ โควิด-19 รวม 35 ราย รกลอกตัวก่อนกำหนด 1 รายน้ำคร่ำอุดกั้นปอด 1 ราย


ส่วนของทารกหลังคลอด จากที่มีแม่ติดเชื้อขณะคลอดมี 16 ราย พบ ทารกปกติไม่ติดเชื้อ 6 ราย ทารกติดเชื้อ 2 ราย และทารกเสียชีวิต 5 คน ส่วนอีกสามรายไม่มีข้อมูล


โดยพบว่าปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้กลุ่มหญิงตั้งครรภ์มีการติดเชื้อเกิดจากบุคคลในในครอบครัวติดเชื้อจากสถานที่ทำงาน ตลาด งานเลี้ยงและมีปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้เสียชีวิต เช่น ภาวะอ้วน ตั้งครรภ์ในช่วงอายุมากกว่า 35 ปี มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีการใช้สารเสพติดอื่น


นายแพทย์ สุวรรณชัย ได้ระบุเพิ่มเติมว่าจากข้อมูลการศึกษาชี้ว่า หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด-19 มีความเสี่ยงที่โรคจะรุนแรงกว่าคนทั่วไปถึง 3 เท่า ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ให้กลุ่มหญิงตั้งครรภ์เป็นกลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับวัคซีนเพื่อลดความรุนแรงของโรคในกรณีที่เกิดการติดเชื้อ


ด้าน พลอากาศโท นพ.การุณ เก่งสกุล ประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติม ในกรณีหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อ โควิด -19 ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนสูงในระหว่างการตั้งครรภ์ เกิดการแท้ง การคลอดก่อนกำหนด รวมถึงทำให้เกิดการเสียชีวิตได้ง่ายกว่าปกติ และหากคลอดมีโอกาสที่ลูกจะติดเชื้อจากแม่สูง


จึงมีความจำเป็นที่กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ต้องเร่งเข้ารับการฉีดวัคซีนไม่ว่าจะเป็นวัคซีนชนิดใดก็ตาม ซึ่งในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์สามารถใช้วัคซีนสลับชนิดได้ยืนยันว่ามีความปลอดภัยไม่พบก่อเกิดผลข้างเคียงต่อการตั้งครรภ์ ส่วนการรักษาหญิงตั้งครรภ์ นั้น ในการให้ยาของกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ มียาหลายกลุ่มที่ไม่สามารถใช้กับกลุ่มหญิงตั้งครรภ์เพื่อการรักษา หนึ่งในนั้นคือยาฟาวิพิราเวียร์ที่มีข้อบ่งชี้การใช้ชัดเจนว่าห้ามใช้ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ยาหลักที่ใช้จึงเป็นกลุ่มยา Remdesivir ซึ่งจะใช้ในกลุ่มอาการหนัก


ส่วนของการคลอดนั้น ทั้งการผ่าคลอดและการคลอดเองตามธรรมชาติมีโอกาสที่ทารกจะรับเชื้อจากแม่ได้ โดยที่ผ่านมาในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ 1993 ราย มีการฝ่าคลอดไปแล้ว ร้อยละ 54 และการคลอดเองร้อยละ 46


ทั้งนี้จากจำนวนผู้ ผู้ป่วย โควิด-19 ที่ต้องเข้ารับการรักษาตัวในสถานพยาบาลจำนวนมากการเข้าถึงการรักษาของกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ เป็นเรื่องยาก แต่ก็ยังสามารถบริหารจัดการได้ สำหรับการรับ กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มีกำหนดคลอดในแต่ละช่วง ยืนยันว่า การฉีดวัคซีนในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์จำเป็น และสามารถรับวัคซีนชนิดใดก็ได้ มีความปลอดภัยต่อแม่และทารกในครรภ์

คุณอาจสนใจ

Related News