พบซาก "กระทิงกุยบุรี" ติดเชื้อลัมปีสกิน กรมอุทยานฯ เร่งหาแผนป้องกัน

สังคม

พบซาก "กระทิงกุยบุรี" ติดเชื้อลัมปีสกิน กรมอุทยานฯ เร่งหาแผนป้องกัน

โดย pattraporn_a

14 ก.ค. 2564

101 views

กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เร่งวางแผนป้องกันโรคระบาดลัมปีสกิน ที่อาจกระแพร่กระจายในสัตว์ป่า หลังจากพบว่ากระทิง 1 ตัว ที่ตายในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี มีผลตรวจในห้องแล็บยืนยันว่ามีสารพันธุกรรมโรคลัมปีสกินที่กำลังระบาดในโค-กระบือ ส่วนกระทิงอีก 1ตัว ที่ตายล่าสุด ยังอยู่ระหว่างรอผลตรวจ


บันทึกการตรวจสอบซากกระทิง ของเจ้าหน้าที่หลายฝ่าย เมื่อวันที่ 15 มิถุนายนที่ผ่านมา ระบุว่ากระทิงเพศผู้อายุประมาณ 15-20 ปี น้ำหนักรวม 1300 กิโลกรัม ตายอยู่ในลำห้วย ตำบลหาดขาม อำเภอกุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ผลชันสูตรของสัตวแพทย์ขณะนั้นระบุว่าตายมาแล้ว 2-3 วัน สภาพภายนอกมีบาดแผลลักษณะเป็นรูที่ช่วงอกกว้าง 2-3 เซนติเมตร บริเวณส่วนท้องมีร่องรอยขีดข่วน และไม่พบร่องรอยที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์


เจ้าหน้าที่ฝังร่างกระทิงตัวนี้ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน แต่ก่อนจะฝังก็เก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อไปตรวจสอบด้วย เพราะพบร่องรอยเป็นตุ่มบนผิวหนังกระทิงตัวนี้ คล้ายกับผิวหนังของโค-กระบือ ที่เป็นโรคลัมปีสกิน โดยผลชันสูตรชิ้นเนื้อของกระทิงตัวนี้ ที่ทราบผลเมื่อวันที่ 12 ที่ผ่านมา ระบุว่าพบสารพันธุกรรมเชื้อโรคลัมปีสกิน เมื่อวันที่ 10 ที่ผ่านมา ก็มีกระทิงตายอีก 1จัว ที่บริเวณบ้านรวมไทย หมู่ 7 ตำลลหาดขาม น้ำหนักราว 900-1,000 กิโล อายุประมาณ 20-25 ปี ตายอยู่ในท้องที่ตำบลเดียวกัน กับกระทิงตัวแรกที่ตาย แต่ตัวที่ 2 ยังอยู่ระหว่างตรวจพิสุจน์ว่ามีโรคลัมปีสกินด้วยหรือไม่


อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธ์พืช ระบุกับข่าว 3มิติว่า ได้เร่งกำหนดแผนป้องกันระบาดในสัตว์ป่าเร่งด่วน


ด้าน อธิบดีกรมปศุสัตว์ ระบุว่า ลัมปีสกิน สามารถแพร่ระบาดจากโค-กระบือ ไปหากระทิง หรือวัวแดงในกลุ่มสัตว์เท้ากีบได้ แต่ความต้านทานต่อโรคของสัตว์ป่าจะมากกกว่าโค-กระบือที่เปื้อเชื้อผสม


ตอนนี้อุทยานฯ กุยบุรี ให้ อบต.หาดขาม ฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อและกันแมลง ในพื้นที่อุทยานฯ แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นรอยต่อเขตปศุสัตว์ รวมถึงในพื้นที่ 4 หมู่บ้าน ตำบลหาดขามเพื่อสกัดกั้นการระบาด แนะนำประชาชนไม่นำสัตว์เลี้ยงเข้าใกล้แนวเขตอุทยานฯ และติดตามพฤติกรรม อาการ ของสัตว์ป่า 

คุณอาจสนใจ