คุณต้องการล้างการแจ้งเตือนทั้งหมด?
13 ชม. ที่ผ่านมา
241 view
14 ชม. ที่ผ่านมา
737 view
16 ชม. ที่ผ่านมา
60 view
17 ชม. ที่ผ่านมา
48 view
18 ชม. ที่ผ่านมา
27 view
19 ชม. ที่ผ่านมา
209 view
21 ชม. ที่ผ่านมา
59 view
เมื่อวานนี้
998 view
08 เม.ย. 2564
18 view
สรุปครบจบทุกประเด็นข่าว กับ CH3ThailandNews
จากรายงาน Veeam Data Protection Report ประจำปี 2021 พบว่าสถานการณ์ COVID-19 ส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อการลงทุนเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่โลกสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) องค์กรทั่วโลกถึง 40% มองว่าความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจเป็นอุปสรรคสำคัญในอีก 12 เดือนข้างหน้า และหนึ่งในสามขององค์กรต่างชะลอหรือเลือกที่จะหยุดกระบวนการปรับเปลี่ยนดังกล่าวไว้ก่อนในช่วงปีที่ผ่านมา
กรุงเทพ – 8 เมษายน 2564: ความท้าทายในการป้องกันข้อมูลกำลังบั่นทอนความสามารถขององค์กรทั่วโลกในการเปลี่ยนถ่ายเข้าสู่โลกดิจิทัล (Digital Transformation, DX) อ้างอิงผลการสำรวจในรายงาน Veeam® Data Protection Report 2021 พบว่าองค์กรถึง 58% ไม่สามารถสำรองข้อมูลได้สำเร็จหรือปล่อยข้อมูลไว้โดยไม่ได้รับการป้องกัน รายงานการสำรวจนี้จัดทำขึ้นโดย Veeam Software ผู้นำด้านโซลูชั่นสำรองข้อมูลในรูปแบบการจัดการข้อมูลผ่านระบบคลาวด์ Cloud Data Management™ ซึ่งพบว่า หลังจากที่โลกต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 และสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ผันผวน ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรถึง 40% ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่านี่คืออุปสรรคครั้งใหญ่ในการเปลี่ยนผ่านสู่โลกดิจิทัลในช่วง 12 เดือนจากนี้ ระบบการป้องกันข้อมูลที่ไม่แข็งแกร่ง ผนวกกับความท้าทายเรื่องความอยู่รอดของธุรกิจ ได้กลายมาเป็นความกังวลที่แพร่ไปในหลายองค์กร จนถึงขั้นที่จำเป็นต้องเลือกที่จะชะลอกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลไว้ก่อน
Veeam Data Protection Report 2021 นี้เป็นรายงานการสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีจากองค์กรทั่วโลก เพื่อทำความเข้าใจแนวทางการป้องกันและจัดการข้อมูลในองค์กร และเรียนรู้รูปแบบการเตรียมความพร้อมรับความท้าทายต่อระบบไอทีที่พวกเขาต้องเผชิญ รวมถึงขีดความสามารถในการตอบสนองการเปลี่ยนแปลง และปัจจัยหรือสถานการณ์ เช่น COVID-19 ที่ทำให้ธุรกิจหยุดชะงัก เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบไอที และกระบวนการปรับเปลี่ยนองค์กรและธุรกิจในการก้าวสู่โลกดิจิทัล
“ช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ผู้บริหารระดับสูงต่างต้องเผชิญความท้าทายอย่างที่ไม่เคยเจอมาก่อน ในการดูแลป้องกันข้อมูลขององค์กรให้แข็งแกร่งได้เช่นเดิมท่ามกลางความผันผวนของสถานการณ์ในปัจจุบัน” แดนนี อัลลัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยีและรองประธานอาวุโสด้านกลยุทธผลิตภัณฑ์จากบริษัท Veeam กล่าวว่า “เพื่อตอบโจทย์ความจำเป็นขององค์กรธุรกิจ ซึ่งในช่วงเวลาที่ผ่านมา ต่างเร่งเดินหน้าเปลี่ยนแปลงสู่โลกดิจิทัล เพื่อให้ทันกับความต้องการของธุรกิจ อย่างไรก็ตามแนวทางการจัดการและป้องกันข้อมูลนั้นยังคงเป็นจุดอ่อน เพราะหลายองค์กรยังติดอยู่กับระบบไอทีเดิม และมีระบบป้องกันข้อมูลที่ล้าสมัย แถมด้วยปัจจัยเรื่องเวลาและเงินทุนที่ไม่เพียงพอต่อการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินที่คาดไม่ถึง อย่าง COVID-19 ต้องรอให้ปัญหาเหล่านี้ได้รับการแก้ไขก่อน จึงจะดำเนินการสู่ Digital Transformation ได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว”
ปฏิบัติการเร่งด่วนในการปกป้องข้อมูลเป็นสิ่งจำเป็น
ผลการสำรวจพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าความสามารถในการปกป้องข้อมูลของพวกเขานั้นไม่มีความพร้อมตามที่กระบวนการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลต้องการ ทำให้เกิดความเสี่ยงในความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจที่อาจส่งผลกระทบที่รุนแรงทั้งต่อชื่อเสียงและผลการดำเนินงาน แม้ว่าเรื่องของการสำรองข้อมูลนั้นเป็นเรื่องสำคัญในโลกของการป้องกันข้อมูลยุคใหม่ แต่ 14% กลับบอกว่าข้อมูลทั้งหมดไม่ได้รับการสำรองไว้อย่างถูกต้องและอีก 58% บอกว่าเกิดความล้มเหลวในการเรียกคืนข้อมูลกลับมา ทำให้เห็นว่าข้อมูลซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของธุรกิจนั้นไม่ได้รับการป้องกันแถมไม่สามารถเรียกคืนกลับมาได้เมื่อเกิดปัญหาอย่างเช่น การหยุดทำงานจากการโจมตีทางไซเบอร์ ซึ่งในอนาคตจะกลายเป็นเรื่องที่พบเจอบ่อยขึ้น ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา 95% ขององค์กรเผชิญเหตุการณ์ที่เซิร์ฟเวอร์หนึ่งในสี่หยุดทำงานอย่างน้อย 1 ครั้งในรอบปี ส่งผลกระทบในเรื่องของดาวน์ไทม์ และทำให้ข้อมูลสูญหายบ่อยเกินไป สุดท้ายที่สำคัญก็คือสิ่งเหล่านี้กระทบต่อประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ และผู้บริหารระดับสูงมากกว่าครึ่งบอกว่าปัญหานี้นำไปสู่การสูญเสียความเชื่อมั่นต่อองค์กร ทั้งจากลูกค้า พนักงานและผู้ถือหุ้นได้
“มีสาเหตุอยู่ 2 ประการที่ทำให้การสำรองและเรียกคืนข้อมูลนั้นทำงานล้มเหลว: ประการแรก คือ การสำรองข้อมูลที่จบลงด้วยความผิดพลาดจากการกำหนดขอบเขตข้อมูลที่มากเกินไป และสอง การเรียกคืนข้อมูลที่ทำไม่ได้ตามข้อตกลงที่ได้ทำกันไว้” แดนนี่ อัลลัน อธิบายและเสริมว่า “พูดง่ายๆ ว่าหากการสำรองข้อมูลล้มเหลว ก็จะไม่ได้รับการป้องกัน ซึ่งเป็นความกังวลสำหรับธุรกิจ เนื่องจากผลกระทบจากการสูญหายของข้อมูล และการหยุดทำงานของระบบที่ไม่อยู่ในแผนการนั้น ย่อมส่งผลลบต่อความเชื่อมั่นของลูกค้า ไปจนถึงราคาหุ้นขององค์กรที่ลดลง ความท้าทายที่เพิ่มขึ้นมานี้บ่งบอกว่าภัยคุกคามด้านดิจิทัลนั้นกำลังเติบโตในอัตราก้าวกระโดด ผลลัพธ์คือช่องว่างระหว่างความสามารถในการปกป้องข้อมูลของธุรกิจกับความต้องการในการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่โลกดิจิทัลของพวกเขา และปัญหานี้ควรจะได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะสิ่งนี้เป็นแรงกดดันที่เกิดขึ้นในองค์กรในการเร่งนำเอาเทคโนโลยีบนคลาวด์ให้บริการลูกค้าในยุคของเศรษฐกิจดิจิทัล”
ยุทธศาสตร์ไอทีที่มีผลจากการมาของ COVID-19
ผู้บริหารระดับสูงในองค์กรต่างตระหนักถึงความจำเป็นในการนำเอาคลาวด์มาเป็นทางเลือกแรกๆ และปรับเปลี่ยนรูปแบบของการใช้ระบบไอทีที่ตอบสนองในการเร่งเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลหลังเกิดสถานการณ์ COVID-19 ซึ่งหลายองค์กรก็ได้ทำสำเร็จไปแล้ว โดยที่ 91% ขององค์กรที่ตอบแบบสำรวจนั้นได้เพิ่มบริการบนคลาวด์ของพวกเขาไปตั้งแต่ช่วงเดือนแรกๆ ของการระบาด และส่วนใหญ่ก็ยังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีองค์กรถึง 60% ที่วางแผนจะเพิ่มบริการบนคลาวด์ให้มากขึ้นในการวางยุทธศาสตร์ด้านไอทีต่อไป อย่างไรก็ตามในขณะที่องค์กรธุรกิจนั้นตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการเปลี่ยนสู่โลกดิจิทัลในช่วง 12 เดือนข้างหน้า แต่มีองค์กร 40% ที่ยอมรับว่าความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจเป็นหนึ่งในอุปสรรคต่อการเปลี่ยนผ่านสู่โลกดิจิทัลของพวกเขา
การเปลี่ยนแปลงสู่โลกดิจิทัลต้องเริ่มจากความพร้อมแบบดิจิทัล
สถานการณ์ที่องค์กรธุรกิจต่างหันมาเลือกนำบริการทางด้านไอทียุคใหม่เข้ามาใช้อย่างรวดเร็ว แต่ความสามารถและทรัพยากรในการป้องกันข้อมูลที่ไม่เพียงพอ อาจทำให้กระบวนการเปลี่ยนแปลงสู่โลกดิจิทัลสะดุดลงจนถึงขั้นล้มเหลว ซึ่งเหล่าผู้บริหารระดับสูงต่างรู้ดีอยู่แล้วว่ามีผลกระทบเกิดขึ้น 30% ของผู้ตอบแบบสำรวจยอมรับว่ากระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่โลกดิจิทัลของพวกเขานั้นต้องสะดุดหรือหยุดไว้ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา อุปสรรคนั้นมีหลายรูปแบบรวมถึงทีมงานไอทีเองที่เน้นไปที่เรื่องของการดูแลระบบมากเกินไปในช่วงการระบาดของไวรัสถึง 53% หรือจะเป็นการพึ่งพาระบบไอทีเดิมในองค์กรที่มีถึง 51% และการที่เจ้าหน้าที่ขาดทักษะในการนำเทคโนโลยียุคใหม่มาใช้พบถึง 49% ทำให้ในอีก 12 เดือนข้างหน้าผู้บริหารด้านไอทีจำเป็นต้องวางแผนการเปลี่ยนถ่ายสู่โลกดิจิทัลกันใหม่อีกครั้ง โดยปัญหาต้องได้รับการแก้ไขทันทีสำหรับเรื่องการป้องกันข้อมูลในสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้น โดยเกือบหนึ่งในสามขององค์กรนั้นมองไปที่การย้ายไปสู่ระบบคลาวด์
“สิ่งสำคัญที่พบอีกประการ คือ ช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาเกิดช่องว่างในการปรับสู่โลกดิจิทัลระหว่างองค์กรที่มีแผนงานเปลี่ยนแปลงตัวเองสู่ระบบดิจิทัล และองค์กรที่มีความพร้อมน้อยกว่า โดยที่ก่อนหน้านี้ได้มีการเร่งดำเนินการสร้างความพร้อมรับมือกับสิ่งเหล่านี้ หลังจากนั้นก็เริ่มชะลอกระบวนการลง” แดนนี่ อัลลัน สรุปและเพิ่มเติมว่า “ขั้นแรกในการเดินเข้าสู่การเปลี่ยนสู่ดิจิทัล คือ การสร้างความพร้อมแบบดิจิทัล ทุกองค์กรกำลังเร่งมองหาแนวทางในการปรับเปลี่ยนวิธีการป้องกันข้อมูลให้มีความทันสมัย ด้วยการนำระบบคลาวด์เข้ามาใช้งาน ภายในปี 2023 77% ของธุรกิจทั่วโลกจะเลือกใช้ระบบสำรองข้อมูลขั้นแรกที่อยู่บนคลาวด์ เพื่อให้มั่นใจในศักยภาพของการสำรองข้อมูลมากขึ้น ลดต้นทุนการบริหารจัดการ ลดงานของฝ่ายไอที และมีเวลามาดูแลงานด้านการปรับองค์กรสู่โลกดิจิทัล ที่จะช่วยให้ธุรกิจนั้นสามารถก้าวสู่เศรษฐกิจยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
เนื้อหาอื่นๆ ที่สำคัญในรายงาน Veeam Data Protection Report 2021 มีรวมถึง:
• เครือข่ายไอทีแบบผสม แบบกายภาพ, เวอร์ชวลและคลาวด์: ในอีกสองปีข้างหน้าองค์กรส่วนใหญ่จะค่อยๆ ปรับลดจำนวนทั้งในแง่ของปริมาณ, การบำรุงรักษา และการจัดหาเซิร์ฟเวอร์จริงเสริมบนโครงสร้างพื้นฐานแบบเวอร์ชวล และจะหันมาเลือกใช้กลยุทธ์ “คลาวด์มาก่อน” มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะส่งผลให้ครึ่งหนึ่งของปริมาณของการใช้งานย้ายไปอยู่บนคลาวด์ภายในปี 2023 ซึ่งจะบังคับให้องค์กรส่วนใหญ่ต้องปรับแนวคิดในกลยุทธ์การป้องกันข้อมูลของตนใหม่สำหรับพื้นที่การแข่งขันใหม่
• ระบบสำรองข้อมูลบนคลาวด์เติบโตอย่างรวดเร็ว: ระบบสำรองข้อมูลถูกย้ายจากระบบแบบเดิมมาอยู่บนโซลูชั่นระบบคลาวด์ที่บริหารและดูแลโดยผู้ให้บริการ โดยรายงานคาดการณ์ว่าแนวโน้มนี้สูงถึง 29% ในปี 2020 และเพิ่มมากขึ้นเป็น 49% ภายในปี 2023
• ความสำคัญของระบบที่แข็งแกร่งเชื่อถือได้: “เพื่อเพิ่มระดับความเชื่อถือ” กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักให้องค์กรทั่วโลกเปลี่ยนระบบการสำรองข้อมูลหลักที่มีใช้อยู่ในองค์กร ผลสำรวจถึง 31% เห็นด้วยกับปัจจัยดังกล่าว • เพิ่มความคุ้มค่าในการลงทุน: 22% ของผู้ร่วมตอบแบบสอบถามชี้ว่าส่วนสำคัญที่สุดในการเปลี่ยนแปลงคือผลกระทบต่อสภาวะทางการเงินขององค์กร ซึ่งรวมถึงผลตอบแทนการลงทุน (ROI) ที่คุ้มค่าและมีต้นทุนในการเป็นเจ้าของ (TCO) ลดลง
• ช่วงเวลาพร้อมใช้งาน: 80% ขององค์กรธุรกิจจะมี “ช่วงเวลาที่พร้อมใช้งาน” ระหว่างความเร็วในการกู้คืนแอปพลิเคชั่น และความเร็วที่จำเป็นจะต้องกู้คืนมาให้ได้
• ช่วงเวลาจริงในการทำงาน: 76% มี “ช่วงเวลาจริงในการทำงาน” ระหว่างความถี่ในการทำสำรองข้อมูล และ ปริมาณการสูญเสียข้อมูลที่ยอมรับได้หากระบบหยุดทำงาน
• การปกป้องข้อมูลยุคใหม่: 46% ขององค์กรธุรกิจทั่วโลกเลือกที่จะเป็นคู่ค้ากับผู้ให้บริการสำรองข้อมูลแบบ Backup as a Service (BaaS) ภายในปี 2023 และมีถึง 51% วางแผนที่จะเปลี่ยนไปใช้ระบบกู้คืนข้อมูลจากภัยพิบัติไปอยู่ในรูปแบบของ Disaster Recovery as a Service (DRaaS) ในช่วงเวลาเดียวกัน
เกี่ยวกับรายงานฉบับนี้
Veeam มอบหมายให้ บริษัท วิจัยตลาดอิสระ Vanson Bourne ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับแนวโน้มของตลาดการป้องกันข้อมูล การนำไปใช้ และการรับรู้ในองค์กรระดับเอนเตอร์ไพร์สทั่วโลก โดยการสำรวจนี้ได้รับความร่วมมือจากผู้บริหารองค์กรด้านไอทีจำนวน 3,000 คน (ในองค์กรที่มีพนักงานมากกว่า 1,000 คน) จาก 28 ประเทศโดยใช้วิธีการเชิงปริมาณที่เป็นกลางเพื่อให้แน่ใจว่าผลลัพธ์จะมีความเป็นกลาง http://twitter.com/JBuff
เพื่อเรียนรู้วิธีแก้ไขปัญหาเหล่านี้ Veeam ได้จัดงานเสมือนจริงครั้งแรกในโลกในหัวข้อของการปรับปรุงการปกป้องข้อมูลให้ทันสมัยยิ่งขึ้น ภายใต้ชื่อ VeeamON 2021 ในวันที่ 25-26 พฤษภาคม 2021 โดยที่ผ่านมาผู้เข้าร่วมงานเกือบ 15,000 คน ทั้งลูกค้า, คู่ค้าและผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมในงานสัมมนาแบบเวอร์ชวล VeeamON 2020 และ VeeamON Forum ที่จัดขึ้นตามแต่ละภูมิภาคทั่วโลก สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
สามารถเข้าเยี่ยมชมได้ที่ https://www.veeam.com