เล่าเรื่องไทยๆ กับ สายสวรรค์ ขยันยิ่ง ตอน 'อาคารศาลฎีกา' สถาปัตยกรรมไทยคู่เกาะรัตนโกสินทร์

ไลฟ์สไตล์

เล่าเรื่องไทยๆ กับ สายสวรรค์ ขยันยิ่ง ตอน 'อาคารศาลฎีกา' สถาปัตยกรรมไทยคู่เกาะรัตนโกสินทร์

โดย

23 ก.ย. 2563

1.3K views

'ศาลฎีกา' ตั้งอยู่ที่ ถนนราชดำเนินใน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 
'ศาลฎีกา' นั้น เป็นศาลยุติธรรมสูงสุดของไทย มีประวัติความเป็นมาในการก่อสร้างตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ในชื่อ 'ศาลสถิตย์ยุติธรรม' ต่อมามีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงมาจนกระทั่งเห็นเป็นอาคารศาลฎีกา อย่างที่เห็นในปัจจุบันนี้ มีการออกแบบด้วยสถาปัตยกรรมไทย ที่งดงาม ผสมผสานระหว่างวัดกับวัง
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สร้างศาลหลวง หรือศาลาลูกขุนนอกขึ้น บริเวณทิศเหนือของศาลหลักเมือง เป็นทิศที่ประชุมปรึกษาคดีของผู้พิพากษาชั้นสูง จนถึงรัชกาลที่๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างศาลหลวงขึ้น และพระราชทานนามว่า 'ศาลสถิตย์ยุติธรรม' เป็นอาคารแบบนีโอคลาสสิคสูง ๒ ชั้น มีมุกหน้าจั่วแบบวิหารกรีก รองรับด้วยเสาแบบคอรินเทียน ๖ ต้น มีหอนาฬิกาอยู่กลางอาคาร
ต่อมาได้มีการสร้างอาคารศาลยุติธรรมขึ้นใหม่ตามมติคณะรัฐมนตรี ในปี ๒๔๘๒ โดยนำรูปแบบจากอาคารศาลสูง แห่งสมาสมาพันธรัฐสวิสมาประยุกต์ กระทั่งมีการสร้างอาคารศาลฎีกาขึ้นใหม่ ในโครงการเฉลิงพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ในรัชกาลที่๙ ออกแบบโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ศิลปินแห่งชาติ
มีลักษณะเป็นแบบสถาปัตยกรรมไทย ทรง ๘ เหลี่ยมตัดมุม ตรงกลางมีสนามและอาคารทรงไทย ๓ ชั้น เป็นห้องพิจารณาคดีใหญ่ และห้องประชุม ดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ปี ๒๕๕๕ และเข้าใช้อาคารศาลฎีกาเฉลิงพระเกียรติแห่งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๙ มกราคม ๒๕๖๒ เป็นต้นมา
รับชมผ่านยูทูปได้ที่นี่ : youtu.be/-X2cQLDFXMg

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ