เล่าเรื่องไทยๆ กับ สายสวรรค์ ขยันยิ่ง 'หัตถกรรมล้านนา ที่ใกล้สูญหาย'

ไลฟ์สไตล์

เล่าเรื่องไทยๆ กับ สายสวรรค์ ขยันยิ่ง 'หัตถกรรมล้านนา ที่ใกล้สูญหาย'

โดย

11 ก.ย. 2563

1.1K views

นิทรรศการ ชุด หัตถกรรมชั้นครูที่ใกล้สูญหาย ที่ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ หรือ ศ.ศ.ป. อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พาชมจ้องแดง หรือร่มโบราณ แห่งบ้านดอนเปา จังหวัดเชียงใหม่ ตุงหลวงโลหะ คือการตอกลวดลายพุทธชาดกลงไปบนแผ่นอลูมิเนียม หรือว่าแผ่นสังกะสี และต้องลาย-ปานซอย ก็คือ การตอกแผ่นสังกะสี เป็นลายฉลุที่อ่อนช้อย งดงาม สำหรับใช้ประดับตกแต่งอาคาร บ้านเรือน
'จ้องแดง' เป็นร่มแบบโบราณ อยู่คู่กับบ้านดอนเปา อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ มาหลายชั่วอายุคน มีเอกลักษณ์อยู่ที่ตัวร่มที่มีสีแดง ตัดเส้นด้วยสีดำ ปลายด้ามจับยาว มีเส้นด้ายในโครงร่ม ที่สานด้ายหลากสีสัน และทำด้วยมือทุกขั้นตอน จ้องแดง เคยเกือบจะสูญหายไป เพราะช่างฝีมือมีอายุมาก และจ้องแดง มีขั้นตอนการทำละเอียด ซับซ้อน
แต่ครูวิเชิญ แก้วเอี่ยม และครอบครัว ยังคงมุ่งมั่นสืบสานงานหัตถกรรมนี้อยู่เพียงครอบครัวเดียว ในบ้านดอนเปา 'ตุงหลวง' เป็นตุงโบราณ ขนาดใหญ่ ยาวตั้งแต่ ๒ เมตรขึ้นไป ทำจากแผ่นอลูมิเนียม หรือแผ่นสังกะสี ตอกเป็นลวดลายต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องราวพุทธชาดก ในปัจจุบันเหลือผู้ทำเพียงคนเดียว คือ ครูคำ ปินะดวง หรือ พ่อครูหนานคำ ที่จังหวัดพะเยา ผู้สืบทอดการทำตุงหลวงแบบโบราณ หรือตุงโลหะ มาเกือบทั้งชีวิต จนปัจจุบันอายุ ๖๒ ปีแล้ว
ส่วน 'ต้องลาย-ปานซอย' คือแผ่นโลหะสังกะสีที่มีการตอกเป็นลายฉลุที่อ่อนช้อย งดงาม ภูมิปัญญาของชาวไทใหญ่ ที่ใช้เพื่อการประดับตกแต่งชายคา และโครงสร้างของหลังคาอาคาร วัดวาอาราม หรือบ้านเรือนของชนชั้นสูง เป็นงานที่ต้องอาศัยผู้ที่มีทั้งความรู้ และทักษะเชิงช่าง ซึ่งครูสมัคร สุขศรี ชาวไทใหญ่ เป็นหนึ่งในช่างผู้ที่มีฝีมือเป็นเลิศในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
รับชมผ่านยูทูปได้ที่นี่ : youtu.be/p8Ulc7dKLP4

แท็กที่เกี่ยวข้อง  

คุณอาจสนใจ