ประชาสัมพันธ์

เสียงจากผู้ให้ โครงการคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กเพื่อการศึกษา

โดย thichaphat_d

13 ก.พ. 2568

56 views

มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี ได้ริเริ่ม "โครงการคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กเพื่อการศึกษา" (Notebook for Educaton) เพื่อเชื่อมโยงเครื่องมือหรือเทคโนโลยีให้เข้ามาเสริมการจัดการเรียนการสอน และการบริหารจัดการสถานศึกษาให้กับครูและนักเรียนในโรงเรียนคอนเน็กซ์อีดีทั่วประเทศ พร้อมเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีการเข้าถึง โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (Digital Infrastructures) และสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคล พร้อมส่งเสริมให้เกิดทักษะการสืบค้นและเรียนรู้ด้วยตนเองได้ทุกที่ทุกเวลา ตลอดจนสามารถต่อยอดความรู้เดิมและประยุกต์ใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมทั้งกับตนเองและสังคม

โดยได้เปิดโอกาสให้โรงเรียนคอนเน็กซ์อีดีในความดูแล ที่ยังขาดความพร้อมในการจัดหาคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กให้กับนักเรียนเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ และเพื่อให้ครูสามารถใช้ประโยชน์จากการนำคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กไปใช้ในการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้หลังการระดมทุนสำเร็จจะมีการจัดการอบรมหลักสูตร Notebook for Education พร้อมแนะนำการติดตั้งสื่อดิจิทัลและชอฟต์แวร์ปิดกั้นเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม (Fittering Software) และแนะนำกระบวนการจัดการการดูแลและการยืม/คืนคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กในโรงเรียน ให้กับครูผู้ดูแลโครงการฯ เพื่อส่งเสริมให้ครูมีความสามารถในจัดการเรียนบูรณาการการเรียนการสอนผ่านคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กที่ได้รับ จากการระดมทุนอย่างมีประสิทธิภาพ


รูปแบบการเข้าร่วมโครงการ

โรงเรียนคอนเน็กซ์อีดีต้องส่งโครงการเพื่อเข้ารับการพิจารณาขึ้นระบบ "ระดมทุนเพื่อการศึกษา Crowdfundinding" โดยต้องมีการอธิบายที่มาของโครงการ, รูปแบบการดำเนินงาน, จำนวนของคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กและอุปกรณ์เสริม ที่ต้องใช้ในโครงการ และระบุรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ ใช้ยกระดับหรือแก้ปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียน 2 รูปแบบ

1. การจัดการเรียนรู้แบบ 1 : 1

การใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก 1 เครื่องต่อผู้เรียน 1 คน ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และคุณครูผู้ดูแล
ใน 5 วิชาหลัก ภายใต้งบประมาณไม่เกิน 500,000 บาท

2. การจัดการเรียนรู้แบบ 1 : 4

การใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก 1 เครื่องต่อผู้เรียน 4 คน ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และคุณครูผู้ดูแล

ใน 5 วิชาหลัก ภายใต้งบประมาณไม่เกิน 300,000 บาท

โดย 5 วิชาหลัก ได้แก่ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา และหลังจากการระดมทุนเสร็จสิ้น โรงเรียนจะต้องเป็นผู้ดำเนินการจัดซื้อคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กและอุปกรณ์เสริมตามที่ได้ระบุไว้เอง พร้อมทั้งต้องมีการรายงานผลการดำเนินงานและรายการค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นผ่านเว็บไซต์ connexted.org หลังจากนั้นจะมีผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐและภาคเอกชนที่ได้รับการแต่งตั้งตั้งเป็น "คณะทำงานติดตามและประเมินผล" ร่วมติดตามการดำเนินการของโรงเรียนต่อไป


กระบวนการพิจารณา

การพิจารณาโครงการของโรงเรียนคอนเน็กข์อีดีที่สมัครเข้าร่วมคัดเลือกโครงการคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กเพื่อการศึกษา โดยผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐและภาคเอกชนที่ได้รับการแต่งตั้งเป็น "คณะทำงานกลั่นกรองแผนพัฒนาโรงเรียน" โดยพิจารณาผ่านข้อมูลโครงการที่นำเสนอ, ผล School Grading ของโรงเรียน พร้อมการสัมภาษณ์และให้โรงเรียน ร่วมทำแบบทดสอบออนไลน์ โดยโรงเรียนคอนเน็กซ์อีดีที่ผ่านกระบานการพิจารณาเข้าร่วมโครงการคอมพิวเตอร์-โน้ตบุ๊กเพื่อการศึกษา มีทั้งหมด 178 โรงเรียน ปัจจุบันระดมทุนสำเร็จแล้ว 32 โรงเรียน และยังมีโรงเรียนที่รอการระดมอยู่อีก 146 โรงเรียน



เกี่ยวกับมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี

มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี มีจุดเริ่มต้นในปี 2559 จากโครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ ภายใต้ความร่วมมือ 3 ภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน ต่อมาจดทะเบียนจัดตั้งเป็นมูลนิธิในปี 2563 โดยมีเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นในการยกระดับคุณภาพการจัดการจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทยให้เกิดความยั่งยืน โดยมีเป้าหมายส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนไทยสามารถดึงศักยภาพของตนเองสู่การเป็น "เด็กดี มีความสามารถ" และมีการขับเคลื่อนการดำเนินงานผ่าน 5 ยุทธศาสตร์หลักของมูลนิธิฯ พร้อมเดินหน้าสร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมให้ทุกคนได้มีโอกาสเข้ามาส่งเสริมการศึกษาไทย

ปัจจุบัน มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี มีเครือข่ายพันธมิตรภาคเอกชนชั้นนำของไทยรวมแล้ว 55 องค์กร โดยมี 12 องค์กรเอกขน ร่วมเป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิฯ ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), บมจ.เบอร์ลี ยุคเกอร์, กลุ่มเซ็นทรัล, บมจ. ซีพี ออลล์, บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร,กลุ่มมิตรผล, กลุ่มปตตท., ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน), เอสซีจี, บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ, บมจ.ไทยยูเนียน กรุ๊ป และ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น

ต่อมาในระยะที่ 2 มีเครือข่ายพันธมิตรเข้าร่วมโครงการอีก 19 องค์กร ได้แก่ บจ. ไทยฮอนต้า, บมจ.บางจาก คอร์ปอเรชัน, บมจ. บ้านป, บมจ. บีอีชี เวิลด์, บจ. เบอร์แทรม (1958), บมจ. เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย), บจ. เอดู พาร์ค, โรงเรียนเอ็นคอนเส็ปท์ อี แอคเคเดมี, บจ. โกลบิช อคาเดเมีย (ไทยแลนด์), บจ. เควี อิเล็กทรอนิกส์, บจ. เลิร์น คอร์ปอเรชั่น, บจ. แม็คเอ็ดดูเคชั่น, สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์, บจ. เอส เค โพลีเมอร์, บจ. สลิงชอท กรุ๊ป, ธุรกิจโลตัส ประเทศไทย, บจ. ไทยโตชิบาอุตสาหกรรมไฟฟ้า และบจ. สวนอุตสาหกรรมบางกะดี, บจ.เวสเทิร์น ดิจิตอล สตอเรจ เทคโนโลยีส์ (ประเทศไทย)

หลังจากนั้นในระยะที่ 3 มีเครือข่ายพันธมิตรเข้าร่วมโครงการ อีก 16 องค์กร ได้แก่ บจ. แลมิตี บมจ. บี.กริม เพาเวอร์ บมจ. ซี.พี.แลนด์ บจ. เจริญโกคกันฑโปรติ้วส บมจ. เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย บมจ. ชีพี แอ็กข์ตร้า บจ. โพรนาลิดี้ บมจ. สมิติเวช กลุ่มธุรกิจที่ซีพี บมจ. ทิปโก้แอสฟัลท์ บมจ. วีจีไอ ธนาคารออมสิน เครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล บจ.ไตรโซลชัน และล่าสุดในระยะที่ 3 นี้ มีเครือข่ายพันธมิตรใหม่เข้าร่วมอีก 8 องค์กร ได้แก่ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) บจ. เอ็ดดูเคชัน อีซี (ไทยแลนด์) บจ. ฟู้ดแพชชัน บจ. ทรู ดิจิทัล พาร์ค กลุ่มบริษัทแพคริม สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และบจ. ที่ทรี เทคโนโลยี





คุณอาจสนใจ

Related News