เลือกตั้งและการเมือง

'ชัยธวัช-พิธา' แถลงเฮือกสุดท้าย คดียุบพรรค ชี้การวินิจฉัยไม่อยู่ในเขตอำนาจศาล คำร้องไม่ชอบด้วยกม.

โดย panwilai_c

2 ส.ค. 2567

72 views

ที่พรรคก้าวไกล วันนี้มีการแถลง ของหัวหน้าพรรคก้าวไกล คุณชัยธวัช ตุลาธน ร่วมแถลงชี้แจงเนื้อหา และสรุปข้อต่อสู้ในเอกสารคำแถลงปิดคดียุบพรรคก้าวไกล ก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะอ่านคำวินิจฉัยในวันที่ 7 สิงหาคมนี้



โดยนายชัยธวัช มีการแถลง พยายามชี้ให้เห็นว่า การอ้าง คำวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญ 3/2567 ที่เคยวินิจฉัย ว่า พรรคก้าวไกล มีพฤติการณ์ล้มล้างการปกครอง เพื่อมาสู่คดียุบพรรคก้าวไกล นั้นไม่สามารถทำได้ เพราะเป็นคนละกรณี และศาลไม่มีอำนาจรับคำร้องคดีนี้ไว้วินิจฉัย



เพราะคำร้องคดีนี้ ของ กกต.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งที่คดียุบพรรค คดีนี้เป็นข้อกล่าวหาที่ต่างจากคดี 3/2567 แต่ กกต. กลับไม่มีการแสวงหาข้อเท็จจริงในคดีนี้ มีมติแค่อ้าง คำวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญ 3/2567 แล้วส่งไปให้ศาลพิจารณายุบพรรคเลย

ไม่เปิดโอกาสให้พรรคก้าวไกล ได้รับทราบข้อกล่าวหา และชี้แจงโต้แย้ง พยานหลักฐาน



-* พรรคก้าวไกล ขอยืนยันว่า กกต. ไม่อาจกล่าวอ้างได้ว่า ข้อเท็จจริงตามคดี 3/2567 เป็นข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัย ไม่มีเหตุที่จะรับฟังได้เป็นอย่างอื่น และมีผลผูกพันให้ตนเองต้องเสนอต่อศาล โดยที่ไม่จำเป็นต้องแสวงหาข้อเท็จจริง และพยานหลักฐาน รวมทั้งไม่จำเป็นต้องรับฟังผู้ถูกร้องอีกด้วย"



***( เสียง 1 CG- ชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล)***





คุณชัยธวัช ยืนยันว่า การเสนอแก้ไข ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ทั้งหมด ไม่ได้เป็นการกระทำของพรรคก้าวไกล เนื่องจากไม่ได้เป็นมติของคณะกรรมการบริหารพรรค ทั้งกรณีที่มี สส.เป็นนายประกันของผู้ถูกกล่าวหาในคดี 112 หรือการแสดงออกส่วนตัวอื่นๆ ขอยืนยันว่าพรรคก้าวไกลไม่ได้เป็นผู้สั่งการ หรือบงการแต่อย่างใด นี่จึงเป็นเพียงการกล่าวอ้างที่ศาลไม่สามารถรับฟังได้ และ ไม่ได้เป็นการล้มล้างการปกครองที่เป็นการเสนอโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ ในอดีตก็มีการเสนอแก้อยู่หลายครั้งแต่ไม่เคยนำไปสู่การล้มลางการปกครองแต่อย่างใด



นายชัยธวัช ยังยกตัวอย่าง กรณีที่ ศ.ดร.อุดม รัฐอมฤต ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาในงานวิจัยที่ได้เสนอให้สำนักเลขาธิการ เป็นหน่วยงานที่มีอำนาจในการใช้ดุลพินิจพิจารณา ให้มีการเริ่มดำเนินคดีอาญาผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด มาตรา 112 แทนพระมหากษัตริย์ โดยมีหลักการเดียวกันกับร่างแก้ไข มาตรา 112 ทึ่พรรคก้าวไกลเสนอ และ "ตนไม่เชื่อว่า นายอุดม จะมีความคิดล้มล้างการปกครอง"



นายชัยวัช ชี้ว่า นี่จึงเป็นตัวอย่างให้เห็นว่า เมื่อพิจารณาตามสภาววิสัยตามความเชื่อของวิญญูชนทั่วไป หรือตามความเห็นของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวกับกฎหมายพรรคการเมืองโดยตรง อย่าง กกต. นั้นการกระทำของผู้ถูกร้องในคดีนี้ หรือพรรคก้าวไกล ไม่ได้เป็นการกระทำที่อาจเป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบการปกครองแต่อย่างใด



นอกจากนี้ หากพิจารณา คำวินิจฉัย 3/2567 โดยละเอียด เป็นเพียงการสั่งให้เลิกกระทำเท่านั้น มิได้ให้พรรคก้าวไกลยกเลิกนโยบายเสนอแก้ไขมาตรา 112 เป็นนโยบายหาเสียงแต่อย่างใด ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พรรคก้าวไกลไม่ได้กระทำ เนื่องจากหากศาลเห็นเป็นเช่นนั้น ก็ควรที่จะมีการสั่งห้ามไม่ให้มีการนำเสนอนโยบายนี้ด้วยในอนาคต



รับชมทางยูทูบที่ : https://youtu.be/cE7HoxNlqWo

คุณอาจสนใจ

Related News