เลือกตั้งและการเมือง
"จุลพันธ์" ไม่เซอร์ไพรส์ "ทรัมป์" เรียกเก็บภาษี "ไทย" 36% แต่รับสูงกว่าที่คาด ด้าน "ไหม" ชี้รัฐประเมินสถานการณ์ต่ำเกินไป
โดย paranee_s
3 เม.ย. 2568
95 views
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์ในรายการกรรมกรข่าวคุยนอกจอ ถึงกรณีที่ “ทรัมป์” แถลงขึ้นภาษีสินค้านำเข้าทุกประเภท 10% เพื่อตอบโต้ที่ประเทศต่างๆ เก็บภาษีสินค้าของสหรัฐฯ โดนประเทศไทยจะถูกเรียกเก็บภาษี 36% ตอบโต้ที่เก็บภาษีสหรัฐฯ 72%
โดย นายจุลพันธ์ ระบุว่า ไม่เซอร์ไพรซ์ แต่สูงกว่าที่คาดการ ยืนยันว่าเราเก็บภาษีสหรัฐฯ เฉลี่ย อยู่ที่ 9% แต่ข้อมูลของเขาคือ 72 % ซึ่งเข้าใจว่าเป็นตัวเลขที่รวมทุกอย่าง จึงทำให้ตัวเลขสูง เราต้องไปทำการบ้านดูว่าจะเจรจาอย่างไร ต้องไปดูว่า 72 % มาอย่างไร และต้องไปคุย ทำความเข้าใจ ว่าสินค้าตัวใดที่เขารู้สึกไม่เป็นธรรม
เข้าใจว่าการเรียกเก็บภาษี 36% ไม่ใช่ทุกสินค้า แต่ต้องรอดูรายละเอียด ซึ่งยังไม่มีประกาศออกมา และหวังว่า 36 % จะเป็น maximum
เพราะสหรัฐฯ ก็จะโดนผลกระทบเช่นกัน ต้องประสบกับภาวะเงินเฟ้อเช่นกัน จึงเชื่อว่าเขาจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบพอสมควร ซึ่งแน่นอนว่ามันมีผลกระทบเชิงเศรษฐกิจมากมาย แต่อย่างไรในวิกฤต เราต้องมองหาโอกาส ไม่ใช่มองเฉพาะจุดที่เป็นปัญหา ซึ่งต้องใช้เวลา
เราพยายามมาชี้แจงให้ประชาชนสบายใจ ว่ารัฐบาลยังพยายามทำงานอย่างเต็มที่ และที่เราไม่เร่งที่จะออกแถลง-มาตรการอะไร เพราะเราต้องดูให้รอบคอบ เราไม่สามารถพูดอะไรที่ยังไม่มีข้อสรุป หรือยังไม่มีความชัดเจนได้
ซึ่งในเรื่องภาษี “คลัง” เป็นคนจัดเก็บและปฏิบัติ ส่วนพาณิชย์มีหน้าที่เจรจา แต่ทุกคนต้องทำงานร่วมกัน
เมื่อถูกถามว่าช้าไหม นายจุลพันธ์ ตอบว่า “ไม่นะครับ เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นเกิดทั่วโลก และแม้แต่ประเทศคู่ค้าคนสำคัญ-ประเทศพันธมิตรหลัก ก็โดนเช่นกัน โดยวันนี้คลังประชุมวันนี้ และพาณิชย์กำลังประชุมอยู่
และอยากให้ประชาชนติดตามข่าวสาร ทุกปัญหามีทางออก อย่ามองปัญหาเป็นทางตันของชีวิต เราจะพยายามดำเนินการให้ผลประโยชน์ของประชาชนไทยและภาคเอกชน ให้ได้รับการปกป้องให้ดีที่สุด ทางรัฐบาลยืนยันว่าเราจะทำตรงนี้ให้เข้มข้น ขอเวลาไปดูรายละเอียด เมื่อเขาออกรายละเอียดมา เพื่อที่เราจะได้ดำเนินการตอบโต้-รับมือได้ถูกต้อง เพื่อให้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจคลี่คลายไปในทางที่ดีที่สุด
ยอมรับการเรียกเก็บภาษี 36 % อยู่ในระดับค่อนข้างสูง แต่ไม่คิดว่าเป็นการปรับทุกสินค้า มันเป็นไปไม่ได้
ขณะที่ นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคประชาชน เผยว่าการที่ “ทรัมป์” ประกาศเรียกเก็บภาษี เป็นเรื่องช็อกโลกเหมือนกัน เชื่อว่าไม่ว่าใครก็ไม่คิดว่าการขึ้นภาษีจะสูงขนาดนี้ ซึ่งในบางประเทศถึง 49 % ไม่ใช่สูงแค่ประเทศไทย
และเรื่องนี้มองบวกได้ยากว่าโดนกันทั้งโลก เพราะเขาพูดชัดเจน ว่าไม่ใช่แค่ลดการขาดดุลการค้าอย่างเดียว แต่วัตถุประสงค์หลัก เขาพูดชัดเจนว่าอยากให้นักลงทุนย้ายฐานกลับอเมริกา ไม่เหมือนตอนสมัยทรัมป์หนึ่ง เราอาจจะได้ผลพวงแง่บวก มาจากการย้ายฐานการผลิตมาจากจีน
และที่สำคัญ เขามีนโยบายที่จะลดภาษีเงินได้ภายในประเทศ เขาจึงต้องการรายได้ทดแทน
มองบวกได้ค่อนข้างยาก ยกเว้นจะมีบางสินค้าที่จะไม่โดนเก็บ 36 โดยจะมีประมาณ 6 รายการ ได้แก่ วัสดุสิ่งพิมพ์ที่จะให้ข้อมูลต่าง ๆ เหล็กยานยนต์ ทองแดง ยา เซมิคอนดักเตอร์ ไม้ สินค้าที่โดนกำแพงภาษีในด้านอื่น ทองดำ พลังงาน แร่ที่ไม่มีในสหรัฐ
ถ้าดูจากฐานการผลิตในไทย ตัวที่น่าจะได้ประโยชน์จริง ๆ ก็คือเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งก็ได้ประโยชน์ทั่วโลก แต่สุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับการเจรจาของรัฐบาลไทย ว่าจะลดเรียกได้มากแค่ไหน แต่ภาคการเกษตรหนักแน่ ๆ แม้เราไม่ได้ส่งออกไปสหรัฐมากเท่าไหร่ แต่ยังไงเกษตรกรโดนผลกระทบแน่นอน
ถ้าหากมองภาพก่อนเจรจา สิ่งที่โดนหนักคือ สินค้าที่ส่งออกหลัก รวมทั้งการลงทุน ตอนนี้เรียกได้ว่าฝุ่นยังตลบค่อนข้างมาก การลงทุนอาจจะเปลี่ยนแผน หรือหยุดชะงัก ต้องรอให้ฝุ่นหายตลบก่อน จึงจะมีการตัดสินใจที่จะลงจริง ๆ ซึ่งวันนั้นก็ไม่แน่ใจว่าเราจะยังคงมีแต้มต่ออะไรที่ดึงดูดนักลงทุน เนื่องจากถ้าเทียบในภูมิภาค เราถูกจัดเก็บภาษีค่อนข้างสูง
ตอนนี้ฝุ่นยังตลบอยู่ แต่จะตลบนานมั้ย ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะ take action เร็วไหม เพราะกำแพงภาษีจะขึ้นเสาร์นี้แล้ว 10% ส่วนที่เหลือจะเริ่ม 9 เม.ย. อันนี้ก็เป็นไทม์ไลน์เร่งด่วน เพราะกว่าจะเจรจาเสร็จ เราคงต้องอยู่กับเรตนี้ไปสักพัก ซึ่งส่งผลกระทบกับการส่งออกและตัดสินใจลงทุนแน่นอน
ทางแรกคิดว่าไม่มีทางออกที่ง่าย เราจำเป็นต้องเร่งเจรจา เฉพาะหน้าต้องมีการอุทธรณ์ ชี้แจงว่าเราไม่ได้เก็บภาษีสูงถึง 72 % แน่ ๆ คิดว่าตัวเลขไม่สมเหตุสมผล หลายคนพยายามคำนวณ ปรากฏว่าเป็นสัดส่วนของการขาดดุลของสหรัฐเอง ที่เอามาใช้เป็นอัตราภาษี ดังนั้นเราต้องเตรียมข้อมูลให้พร้อม
จากนั้นคิดว่าก็ต้องป้องกันผลกระทบที่จะเกิดในระลอกที่ 2 ถ้าดูจะเห็นว่าจีนถูกเก็บ 54 % ดังนั้นสินค้าจีนที่เคยคิดว่าจะเข้าอเมริกาจะไปไหนเสีย นอกจากไหลมาสู่ประเทศที่ยังเปิดรับอยู่ ซึ่งไทยก็เปิดรับนำเข้าสินค้าจากจีนจำนวนมากอยู่แล้ว แทบไม่สามารถแข่งขันกับสินค้านำเข้าจากจีนได้อยู่แล้ว ตรงนี้คงต้องยกการ์ดให้สูงขึ้นเพื่อบรรเทาผลกระทบ
สุดท้ายคงจะต้องกระจายความเสี่ยง ไปหาตลาดการค้าอื่น ๆ ก็เข้าใจว่าการเจรจา FTA ของไทยกับอียู ก็คงจะมีประโยชน์มากขึ้นในช่วงนี้ เพราะอียูก็โดน ดังนั้นก็น่าจะเจรจาให้บรรลุข้อตกลงได้เร็วขึ้น ถ้าเราทำได้ตามที่อียูกำหนดมา
นางสาวศิริกัญญา ยังเผยอีกว่า การขึ้นภาษี 36 % ขึ้นพร้อมกันทุกสินค้า คือไม่ได้เป็นการกำหนดอัตราภาษีรายเซ็กเตอร์ แต่ขึ้น 36 % เท่ากันหมด เป็นออนท็อป คือถ้าปัจจุบันเรียกเก็บภาษีอยู่ 5- 10 % อยู่แล้ว ก็คือบวกเพิ่มเข้าไป ซึ่งอันนี้พิจารณาจากที่จีนโดน และทางทำเนียบขาว ยืนยันมาแล้วว่า ที่จีนโดนไปแล้วก่อนหน้านี้ 20 % และโดนอีก 34 % ให้ก็ให้รวมกันเป็น 54 % ดังนั้นจึงคิดว่า น่าจะเป็นออนท็อป ไม่คิดว่าจะได้แยกย่อยรายสินค้า
ซึ่งการเจรจาต้องใช้เวลานานมาก รวมทั้งต้องต่อคิวด้วย เพราะว่าโดนกัน 90 ประเทศทั่วโลก ดังนั้นเราต้องเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อไปเจรจา ต้องเตรียมความพร้อมไปว่าจะใช้อะไรแลกกับอะไร นอกเหนือไปจากการช่วยลดอัตราภาษี ในหลาย ๆ ตัวที่มีคนเคยพูดถึง
มันเป็นงานครอบจักรวาล และ “ดิฉันคิดว่ารัฐบาลค่อนข้างนิ่ง และอาจจะประเมินสถานการณ์ต่ำเกินไปว่าผลกระทบจะไม่ค่อยมี สังเกตจากที่ กระทรวงพาณิชย์ออกมาพูดเมื่อวาน เรายังไม่ค่อยรู้สึกว่ามีความพร้อมรับมือเรื่องนี้ และสิ่งที่ทุกคนคิดว่า อาจจะขึ้นแค่ 10 % แต่เมื่อขึ้นจริง 36 % เราค่อนข้างกังวลว่าพาณิชย์จะพร้อมสำหรับการเจรจาแค่ไหน”
ตอนแรก worst-case ที่คิดกันก็คิดว่าไม่น่าจะเกิน 25 % ด้วยซ้ำ เพราะเราไม่ได้เก็บภาษีนำเข้าอเมริกาสูงขนาดนั้น ยืนยันว่า ไม่ใช่ 72 % แน่นอน เราคิดเฉลี่ยอยู่ที่ 10 % เท่านั้นเอง มีภาคการเกษตรสูงหน่อย 21 % จึงไม่ได้อยู่ในไอเดียเลยว่า จะถูกเก็บภาษีสูงถึง 36 % และแม้แต่หลาย ๆ ประเทศที่เตรียมพร้อมรับมือไว้แล้ว ก็ไม่รอด
เบื้องต้นยังไม่เห็นรูปธรรมชัดเจนว่า รัฐบาลจะรับมือยังไง ซึ่งก่อนหน้านี้ไปคุยสหรัฐฯ มาแล้วรอบนึง แต่อย่างที่เห็นว่า แสดงว่าการเจรจาไม่เป็นผลบวก ทำให้ต้องเจอภาษีสูงขนาดนี้ และหลังจากนี้ก็ยังไม่เห็นการรับมือชัดเจน ซึ่งรัฐบาลบอกไม่สามารถเปิดรายละเอียดการเจรจาได้ เพราะเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งคิดว่าเราอาจจะโยนหินถามทาง ถามทุกภาคส่วนให้รอบด้าน เพราะรอบนี้มันหนักมากจริง ๆ
แม้ว่าในแถลงการณ์จากทำเนียบขาว มีการพูดถึงเงินเฟ้อ เขายืนยันว่าไม่กระทบราคาสินค้าในประเทศ แต่ไม่น่าจะเป็นไปได้ จึงคิดว่านี่จะเป็นแรงกดดันให้ “ทรัมป์” เพราะราคาสินค้าน่าจะพุ่ง อาจจะทำให้ประชาชนไม่พอใจ รองลงมาคิดว่าอาจทำให้ภาวะเศรษฐกิจของอเมริกาเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจทำให้ทรัมป์มาทบทวนอัตราภาษีที่ประกาศไป
ซึ่งก็ได้แต่ภาวนาว่า แม้จะเพิ่งเข้าตำแหน่งด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น พอมันเกิดแบบนี้ขึ้น อาจทำให้คะแนนนิยมลดลงรวดเร็ว ได้แต่หวังว่าจะเป็นอีก 1 แรงที่ทำให้ทรัมป์เกิดการทบทวน
รวมทั้งกังวลเรื่องระลอกที่ 2 เพราะเศรษฐกิจโลกหดตัวแรง รวมทั้งสินค้าจีนทะลักเข้าไทย อาจทำให้เศรษฐกิจไทยมีโอกาสเข้าสู่ภาวะถดถอยเช่นเดียวกัน และก่อนหน้านี้ที่รัฐบาลเผยว่าจีดีพีปีนี้โต 3 % คาดว่าไม่น่าจะถึงแล้ว ยิ่งถ้าการเจรจายืดเยื้อ ยาวนาน ไม่เป็นผล จีดีพี อาจจะโตต่ำกว่า 2 %
ส่วนเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ เราจะรอจนถึงสร้างเสร็จได้ใช่มั้ย ปี 73-75 แม้เอาไปเป็นหนึ่งในข้อเจรจา มันเปลี่ยนเกมไม่ได้จริง แม้การท่องเที่ยวอาจจะมากขึ้น แต่คิดว่ามันไม่สามารถเปลี่ยนเกมได้ มันมาแต่เงินลงทุน-ภาคก่อสร้าง แต่ไม่ได้
แท็กที่เกี่ยวข้อง