เลือกตั้งและการเมือง

นายกฯ อนุมัติงบ 98 ล้านแก้ปัญหาปลาหมอคางดำ กรมประมงจ่อรับซื้อ 3 ล้านกก. ชี้ระบาดลดลง

โดย JitrarutP

21 มี.ค. 2568

266 views

กระทรวงเกษตรฯ เผย นายกรัฐมนตรีอนุมัติงบเร่งด่วน 98 ล้านบาท แก้ปัญหาปลาหมอคางดำ กรมประมงเตรียมรับซื้อ 3 ล้านกิโลกรัม พบข้อมูลการระบดลดลงเหลือ 16 จังหวัด

นายอัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อม นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง คณะผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกันแถลงข่าว "กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับการแก้วิกฤตปลาหมอคางดำ...ทางรอดระบบ นิเวศไทย"

โดยนายอัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ เปิดเผยในการแถลงข่าววันนี้ว่า ตนในฐานะที่กำกับดูแลกรมประมงได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และได้มอบนโยบายให้กรมประมงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2567 ที่ได้กำหนดให้การระบาดของปลาหมอคางดำเป็นวาระแห่งชาติและแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ พ.ศ. 2567 - 2570 ซึ่งประกอบด้วย 7 มาตรการ 15 กิจกรรม กรอบวงเงินงบประมาณ 450 ล้าน ดังนี้

1.การควบคุมและกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำทุกแห่งที่พบการแพร่ระบาด โดยสามารถกำจัดปลาหมอคางดำ 3,702,038 กิโลกรัม (บ่อเลี้ยง 2,321,964.50 กก. แหล่งน้ำธรรมชาติ 1,380,073.50 กก.) ผ่านโครงการต่างๆ

2. การกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการปล่อยปลาผู้ล่าอย่างต่อเนื่อง ได้ดำเนินการปล่อยลูกพันธุ์ปลาผู้ล่าทั้งสิ้น 743,136 ตัวได้แก่ ปลากะพงขาว 335,136 ตัว ปลาอีกง 310,000 ตัว ปลาช่อน 58,000 ตัว ปลากราย 20,000 ตัวปลากดเหลือง 20,000 ตัว

3. การนำปลาหมอคางดำที่กำจัดออกจากระบบนิเวศไปใช้ประโยชน์ ได้บูรณาการ กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนนำไปผลิตปลาป่น ผลิตน้ำหมักชีวภาพ ปลาร้า นำไปบริโภคแปรรูป ทำปลาแดดเดียวปลาหวาน กะปิ น้ำปลา และนำส่งโรงงานลูกชิ้น รวมถึงใช้เป็นปลาเหยื่อ รวมกว่า 3,702,038 กิโลกรัม

4. การสำรวจและเฝ้าระวังการแพร่กระจายของประชากรปลาหมอคางดำในพื้นที่กันชนได้ดำเนินการจัดทำระบบแจ้งตำแหน่งการพบปลาหมอคางดำ สำหรับประชาชน และได้จัดตั้งชุดสำรวจและเฝ้าระวังลงพื้นที่สำรวจข้อมูลความชุกชุมในพื้นที่เดือนละ 2 ครั้ง

5. สร้างความรู้ ความตระหนักและการมีส่วนร่วมในการกำจัดปลาหมอคางดำ ได้จัดทำการประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับปลาหมอคางดำ ผ่านช่องทางสื่อต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ

ซึ่งล่าสุดนายกรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณจำนวน 98 ล้าน บาท ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สำหรับ สำหรับใช้แก้ปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ โดย กรมประมง เป็นผู้จัดทำแผนการใช้งบ

ด้าน นายประยูน อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าว ตามที่กลุ่มเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ ดังนั้นในขณะนี้สิ่งที่จะต้องดำเนินการให้ละเอียด รอบคอบ คือการเปิดขึ้นทะเบียนกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ และเพื่อให้สอดคล้องข้อกำหนดของกรมบัญชีกลางกระทรวงการคลัง ตนจึงได้ตั้ง คณะกรรมการ พิจารณาหลักเกณฑ์ การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการปลาหมอคางดำ เมื่อได้ข้อสรุปเกณฑ์แล้ว จะนำเสนอความเห็นต่อ คณะทำงานแก้ไขปัญหาปลาหมอคางดำ ซึ่งต้องกำหนดหลักเกณฑ์ให้กับสอดคล้องกับแนวปฏิบัติของกระทรวงมหาดไทย เมื่อผ่านการเห็นชอบจากผู้ที่เกี่ยวข้องหลังจากนั้น แต่ละจังหวัดจึงสามารถนำเกณฑ์ดังกล่าวไปใช้เพื่อออกประกาศเขตภัยพิบัติในพื้นที่

นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง กล่าวถึง ที่ผ่านมามีการยกระดับการแก้ปัญหาปลาหมอคางดำตั้งแต่เดือนสิงหา 2567 ทางกรมประมงได้ดำเนินการสำรวจสถานการณ์ในแต่ละเดือนโดยตั้งแต่กรกฎาคม 2567 ที่พบการระบาดใน 19 จังหวัด ตั้งแต่ภาคตะวันออก ภาคกลาง จนถึงภาคใต้ โดยการสำรวจของกรมประมงด้วย การตรวจวัดระดับความชุกชุม ของปลาหมอในบ่อโดย กำหนดกรณีพบปลามากกว่า 100 ตัว ต่อตารางเมตร จัดว่ามีความชุกชุมมาก พบมี 4 จังหวัด จันทบุรี ระยอง สมุทรปราการ และประจวบคีรีขันธ์ ระดับชุกชุมปานกลาง 11-100 ตัวต่อตารางเมตร มี 9 จังหวัด และชุกชุมระดับน้อย (น้อยกว่า 11 ตัว ต่อตารางเมตร มี 3 จังหวัด และอีก 3 จังหวัดไม่พบปลาหมอคางดำ

แต่จากการเก็บข้อมูลครั้งล่าสุดคือช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ปัจจุบันไม่พบการแพร่ระบาดของปลาหมอทางดำในระดับชุกชุม มาก แต่พบในระดับปานกลาง ลดลงเหลือ 5 จังหวัดได้แก่ ระยอง, สมุทรสาคร, ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร และนครศรีธรรมราช

และชุกชุมน้อย 11 จังหวัด ได้แต่ จันทบุรี, ชลบุรี, ฉะเชิงเทรา, กรุงเทพมหานคร, สมุทรปราการ, สมุทรสงคราม, นครปฐม, ราชบุรี, เพชรบุรี, สุราษฎร์ธานี และจังหวัดสงขลา นอกจากนั้นปัจจุบันพบการเลี้ยงปลาหมอคางดำ ในบ่อ 8 จังหวัด

จากสถานการณ์ ปริมาณการแพร่ระบาดปลาหมอคางดำลดลง จึงได้ของบประมาณ ไป 200 ล้านบาท ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้อนุมัติ งบประมาณให้ล่าสุด 98.45 ล้านบาท จะนำไปใช้ดำเนินการ 5 เรื่อง คือ

1. การรับซื้อปลาหมอคางดำที่จะถูกกำจัดออกจากบ่อของเกษตรกรและในบ่อธรรมชาติ จำนวน 3 ล้าน กิโลกรัมโดยจะรับซื้อในราคากิโลกรัมละ 20 บาท จะใช้งบประมาณ 60 ล้านบาท สำหรับนำไปผลิตน้ำหมักชีวภาพ

2 . ดำเนินการกำจัดเชื้อในบ่อ เพาะเลี้ยงโดยใช้กากชา ที่ทำแล้วได้ผล ตั้งวงเงินไว้ 10.5 ล้านบาท

3.ใช้มาตรการปล่อยพันธุ์ปลานักล่าลงในบ่อ และยังเป็นรายได้ให้กับเกษตร ใช้งบประมาณ 3 ล้านบาท

4.งบประมาณสำหรับค่าดำเนินการสำหรับเกษตรกรและส่วนอื่นๆอีกประมาณ 3 ล้านบาท

5.นำปลาหมอคางดำที่รับซื้อไปใช้ประโยชน์ ผลิตน้ำหมักชีวภาพและแปรรูปต่างๆใช้งบประมาณ 22 ล้านบาท

โดยขณะนี้กรมประมงได้ประสานขับเคลื่อนจุดรับซื้อซึ่งเป็นจุดเดิมมีอยู่แล้ว 86 จุดในแต่ละจังหวัดและจะเร่งเปิดรับจุดรับซื้อเพิ่มเติมในจังหวัดที่พบ มีปริมาณปลาหมอข้างดำชุกชุม ซึ่งมี 5 จังหวัด

ส่วนอีก มาตรการที่ดำเนินการอยู่แล้วคือการดัดแปลงพันธุกรรมของปลาหมอข้างดำโดย กองวิจัยและ พัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ ได้ทำการทดลองดัดแปลงโคโมโซมปลาหมอคางดำ และได้ปล่อยลงบ่อทดลองให้ผสมพันธุ์กับปลาในธรรมชาติจะทำให้ปลาที่ออกลูกรุ่นถัดไปเป็นหมัน ไม่สามารถสืบพันธุ์ต่อได้

ส่วนกรณีที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ตั้ง คณะทำงาน ตรวจสอบข้อเท็จจริง หาแหล่งกำเนิดที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ จากข้อมูลที่ได้รับ เนื่องจากระยะเวลาของการเก็บตัวอย่างห่างกันจึงทำให้ไม่สามารถเทียบเคียงพันธุกรรมของปลาได้ ผลสรุปในวันนั้นยังไม่พบข้อมูล ว่าปลาแพร่ระบาดมาจากแหล่งใด ทั้งนี้กรมประมง ได้ส่งหนังสือไปยังประเทศกานาเพื่อขอชิ้นเนื้อหรือตัวอย่างสารพันธุกรรม (DNA) ของปลาหมอคางดำซึ่งเป็นต้นทางที่ภาคเอกชนขออนุญาตนำเข้ามาวิจัยในประเทศไทยในปี 2553 เพื่อนำมาเทียบเคียงกับปลาหมอคางดำที่แพร่ระบาดอยู่ในไทย

ซึ่งยังอยู่ระหว่างการรอข้อมูลจากประเทศต้นทางโดย 2เดือนที่แล้วได้ติดตามทวงถามไปแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้รับข้อมูลใด ทั้งนี้ ในการดำเนินคดีนั้นมีสามคดี ที่อยู่ระหว่างขั้นตอนในชั้นศาลคือกรณีกลุ่มเกษตรกรฟ้องร้องทางแพ่งแบบกลุ่มจากผู้ประกอบการเอกชนและกรณียื่นฟ้อง 18 หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในลักษณะการละเลยละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของปลาหมอข้างดำวิถีชีวิตและระบบนิเวศ

คุณอาจสนใจ

Related News