เลือกตั้งและการเมือง

จับตาศาล รธน. รับหรือไม่รับ คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง 22 พ.ย.นี้

โดย nattachat_c

22 พ.ย. 2567

28 views

จากกรณี ศาลรัฐธรรมนูญให้อัยการสูงสุดชี้แจง การดำเนินการตามคำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกสร อดีตทนายความพระพุทธะอิสระ ยื่นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้ถูกร้องที่ 1 และพรรคเพื่อไทย ผู้ถูกร้องที่ 2 เลิกการกระทำที่เป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพ อันจะนำไปสู่การล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิบไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 49 นั้น

ช่วงบ่าย วันที่ 8 พ.ย. 2567 นายไพรัช พรสมบูรณ์ศิริ อัยการสูงสุด ได้ทำหนังสือตอบส่งถึงศาลรัฐธรรมนูญ

โดย วันนี้ (22 พ.ย. 67) ศาลรัฐธรรมนูญจะหยิบยกคำร้องดังกล่าว ขึ้นมาพิจารณาในการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ว่าจะ 'รับ' หรือ 'ไม่รับ' คำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย

ทั้งนี้ นายธีรยุทธ  สุวรรณเกษร ได้ยื่นเอกสารคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญขอให้มีคำสั่งให้ นายทักษิณ​ ชินวัตร และ พรรคเพื่อไทยเลิกการกระทำที่ใช้สิทธิเสรีภาพอันจะนำไปสู่การล้มล้างการปกครองฯ

โดยระบุพฤติกรรมว่า กรณีที่การกระทำของทั้งสองมีหกกรณีเข้าลักษณะฝ่าฝืน รธน. ​สองลักษณะ คือ

1. ผู้ถูกร้องทั้งสองมีพฤติกรรมเซาะกร่อนบบ่อนทำลายพระเกียรติยศของสถาบันพระมหากษัตริย์  

2. มีเจตนาเซาะกร่อนบ่อนทำลายระบบพรรคการเมือง

โดยมีกรณี 6 กรณี ดังนี้

1. นายทักษิณ ได้รับพระราชทานอภัยโทษ เหลือโทษจำคุก 1 ปีโดย สั่งการพรรคการเมือง รัฐบาล ให้เอื้อประโยชน์ในการพักที่โรงพยาบาลตำรวจชั้น 14 เป็นการไม่ยอมรับโทษในเรือนจำตามพระบรมราชโองการ  และอาจเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

2. นายกทักษิณ มีพฤติกรรมฝักใฝ่กับสมเด็จฮุนเซน  สั่งการรัฐบาลให้เอื้อประโยชน์กับรัฐบาลกัมพูชา กรณีการแบ่งเขตอธิปไตยทางทะเล

3. นายทักษิณ สั่งการให้พรรคเพื่อไทยร่วมกันแก้รัฐธรรมนูญกับพรรคประชาชน

4. นายทักษิณสั่งการพรรคเพื่อไทยให้เจรจากับแกนนำพรรคอื่นให้ร่วมเสนอนายกฯหรือไม่ ที่บ้านพักจันทร์ส่องหล้า

5. นายทักษิณ สั่งให้พรรคเพื่อไทยขับพรรคพลังประชารัฐออกจากพรรคร่วมรัฐบาล

6. นายทักษิณ สั่งให้พรรคเพื่อไทยนำนโยบายของตนเองไปเป็นนโยบายที่ร้องต่อรัฐสภา

ทั้งนี้ มี 3 แนวทางที่ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคำร้อง 'ทักษิณ - พรรคเพื่อไทย' ล้มล้างการปกครองฯ ดังนี้

1. รับคำร้องไว้พิจารณา - สั่งให้ผู้ร้องและผู้ถูกร้อง ส่งคำชี้แจงมายังศาลรัฐธรรมนูญ ภายใน 15 วัน 

2. ไม่รับคำร้อง 

3. รับคำร้อง แต่อาจมีข้อพิจารณาแค่บางพฤติการณ์ (จากทั้งหมด 6 พฤติการณ์)


รับชมผ่านยูทูบได้ที่ : https://youtu.be/N2pCN5dbKmk


คุณอาจสนใจ

Related News