เลือกตั้งและการเมือง

'ชัยธวัช' หวังสภาฯ รับรายงานนิรโทษกรรม - 'พิสิษฐ์' ยันใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น แก้ รธน.

โดย nattachat_c

18 ต.ค. 2567

12 views

'ชัยธวัช' หวังสภาฯ รับรายงานนิรโทษกรรม เป็นช่องทางให้พรรคการเมืองตกผลึก เร่งเสนอกฎหมายประกบกับที่มีอยู่แล้ว 4 ฉบับ ด้าน 'พิสิษฐ์' เชื่อ แม้ไม่ผ่าน รบ.สามารถใช้กฎหมายเดิม แก้ไข รธน.ตามไทม์ไลน์ได้


วานนี้ (17 ต.ค. 67) ที่อาคารรัฐสภา นายชัยธวัช ตุลาธน ในฐานะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ที่กำลังจะอภิปรายแต่กลับมีการปิดสภาเสียก่อน 


ต่อมา นายชัยธวัช ได้แถลงว่า หวังว่ารัฐสภาจะรับร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมนี้ เพื่อให้เหล่าพรรคการเมืองได้ตกผลึก เพราะมีกฎหมายที่จ่อประกบร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม อีก 4 ฉบับ 


แต่ทั้งนี้ ฝ่ายรัฐบาลไม่เอาเด็ดขาดถ้ามีการเกี่ยวข้องกับ ม.112


ในวันเดียวกัน ที่รัฐสภา นายพิสิษฐ์ อภิวัฒนาพงศ์ สว. โฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา) กล่าวถึงรายชื่อคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การออกเสียงประชามติ ทั้ง 14 คน ว่า วันนี้ ได้มีการประชุมวิปวุฒิสภา และได้มีมติว่า ในการประชุมวุฒิสภาในวันที่ 21 ต.ค. นี้ จะนำเรื่องร่าง พ.ร.บ.ประชามติ เข้าที่ประชุม ส่วนรายชื่อว่าใครจะไปเป็นกรรมาธิการร่วมบ้างต้องรอที่ประชุมวุฒิสภาในวันดังกล่าว ถึงจะสามารถประกาศได้ว่าสว.ทั้ง 14 คน มีใครบ้าง


เมื่อถามว่า ทางวุฒิสภายังยืนยันเนื้อหาตามที่แก้ไขที่ใช้เสียงข้างมากแบบสองชั้น นายพิสิษฐ์ กล่าวว่า โดยส่วนตัวยังยืนยันว่า เราจะใช้แบบดังกล่าวในการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส่วนการทำประชามติเรื่องอื่นก็จะใช้แบบธรรมดา เมื่อถามย้ำว่าหากแต่ละสภายังยืนยันเนื้อหาของตัวเองจะทำให้กระบวนการล่าช้าหรือไม่ นายพิสิษฐ์ กล่าวว่า หากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญสามารถใช้ พ.ร.บ.ประชามติ ปี 2564 ดังนั้น อย่าใช้เป็นข้ออ้างว่าหากการแก้ไขพ.ร.บ.ประชามติล่าช้าจะทำให้แก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้ ส่วนการที่จะแก้ไขพ.ร.บ.ประชามติหรือไม่แก้ไข อย่างไรเมื่อเข้าที่ประชุมร่วมกันแล้ว และได้ข้อตกลงอย่างไรก็จะแยกออกมาเป็นคนละสภาเพื่อที่จะโหวตกันอีกครั้งว่าแต่ละสภาเห็นชอบอย่างไร หากสภาใดสภาหนึ่งไม่เห็นชอบก็จะถูกพักไว้ 180 วัน จากนั้นสภาผู้แทนราษฎรจึงจะสามารถประกาศใช้ได้

เมื่อถามถึงกรณีที่มีการมองว่า เกมที่วุฒิสภาเดิน มีการยื้อแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ นายพิสิษฐ์ กล่าวว่า ถ้ารัฐบาลมีการจริงใจ และเจตนาที่ดีต่อประชาชนจริง  จึงไม่ได้ต้องการพิจารณาร่วมของ กมธ.ประชามตินี้ก็ได้ เพราะสามารถใช้พ.ร.บ.ประชามติเดิมได้ เพราะจากที่ตนทราบ การเลือกตั้งท้องถิ่นในเดือน ก.พ. 68 ตนเชื่อว่า มีผู้มาใช้สิทธิ์ลงคะแนนเกินครึ่งหนึ่งแน่นอน เพราะฉะนั้น คำว่าเสียงข้างมากแบบสองชั้นไม่น่าจะมีผลอะไร ถ้าจะเอาไทม์ไลน์เดิมของรัฐบาลในการทำประชามติพร้อมกับการเลือกตั้งท้องถิ่นในเดือน ก.พ.

รับชมผ่านยูทูบได้ที่ : https://youtu.be/g-JIazzh3cM



คุณอาจสนใจ

Related News