เลือกตั้งและการเมือง
'สุรเชษฐ์' งัดเอกสารแบบก่อสร้าง ฝายแกนดินซีเมนต์ โต้ 'วิสุทธิ์' ท้ากราบถ้าเจอหลักฐานยืนยัน
โดย nattachat_c
27 ส.ค. 2567
77 views
'สุรเชษฐ์' งัดเอกสารแบบก่อสร้างฝายแกนดินฟ้องโซเชี่ยล หลัง 'วิสุทธิ์' ท้าจะไปกราบ ถ้าเจอแบบสร้างฝายสูง 2 เมตรจริง ไส้ในเอกสารมีครบ พบแบบ 1-2 เมตร ด้านคอมเมนต์เลิ่กลั่ก เป็นห่วงประธานวิปรัฐบาลท้ากลาง “กรรมกรข่าวคุยนอกจอ” บอกเอาไงดีละเนี่ย
จากกรณี เมื่อวันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม 2567 นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ ประธานวิปรัฐบาล ได้ทวีตข้อความระบุว่า
[ ความสะใจของพวกคุณในวันนั้น คือความเดือดร้อนของประชาชนในวันนี้...]
ไม่ต้องถามว่า นายกฯจะลงพื้นที่น้ำท่วมเมื่อไร? เพราะหากบางพรรคไม่ได้ตัดงบฯฝายแกนซีเมนต์ของเพื่อไทยทิ้งทั้งหมดจาก พรบ.งบฯ ‘67 ก็คงสามารถป้องกันให้น้ำไม่ท่วมจนไม่จำเป็นต้องลงพื้นที่.. ใช่ไหมครับ? #น้ําท่วมภาคเหนือ
พร่อมทวีตภาพ เป็นภาพของ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร กำลังเดินพร้อมดีดดิ้น ออกจากสภาฯ
--------------
ซึ่งผลการประชุมในวันที่ 23 สิงหาคม พรรคเพื่อไทยได้มีการโหวตเอาตามเสียงข้างมากของกรรมาธิการฯ คือตัดงบออกไป
ซึ่งนายวิสุทธิ์ให้เหตุผลว่า ถ้าไม่ตัดงบออกไป มันจะไปกระทบกับงบของมหาดไทย ขณะที่พรรคประชาชน บอกว่า ไม่เกี่ยว ทำไมไม่เอากลับมา
--------------
วานนี้ (26 ส.ค. 67) นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานวิปรัฐบาล ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีข้อพิพาทระหว่าง นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ที่คัดค้านการสร้างฝายแกนซีเมนต์ ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมภาคเหนือหนัก ซึ่งมติในวันนั้น ฝ่ายรัฐบาลได้โหวตให้ตัดงบในส่วนนี้ไป
นายวิสุทธิ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องธรรมดาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ต้องรู้สึกขุ่นข้องหมองใจ เพราะปัญหาน้ำท่วมเป็นปัญหาที่ยาวนานกว่า 30-40 ปีมาแล้ว จนกระทั่งมาพบแนวทางการสร้างฝายของอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น และเห็นว่ามีประโยชน์มาก อีกทั้งมีการทดลองทำจากงบประมาณของหน่วยงานเอกชนที่บริจาคให้ และเงินของประชาชน จึงรู้สึกเสียใจมากที่งบประมาณส่วนนี้ถูกตัดไป
ขณะที่ในรายการกรรมกรคุยนอกจอ นายวิสุทธิ์ ได้ดีเบตกับนายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน โดยนายวิสุทธิ์ ระบุว่า อยากให้นายสุรเชษฐ์ ไปศึกษาคำว่าฝาย ซึ่งเค้าก็เขียนไว้ตลอดว่าฝายชะลอน้ำ ลองไปถามชาวบ้านลองไปถามนักวิชาการ ทุกคนคงจะรู้จักคำว่าฝายชะลอน้ำ หน้าแล้งมันก็จะกักน้ำให้ชาวบ้านเอาไปใช้ และมันก็รวมทั้งชะลอน้ำป้องกันในน้ำหลาก ตนก็ไม่ได้ เป็นวิศวกร เหมือนบางคนแต่ผมก็ทราบว่าโทรศาสตร์มา ก็รู้แต่การคำนวณน้ำไหลอย่างไร แต่ต้องเข้าใจดีว่าฝายชะลอน้ำ มันมีวัตถุประสงค์หลายอย่างไม่ใช่แค่ป้องกันน้ำแล้งอย่างเดียว
ด้าน สุรเชษฐ์ ระบุว่า ผมอธิบายง่ายง่าย คำว่าฝายมันก็มันคือกำแพงตั้งขวางทางน้ำไว้ หน้าที่หลักคือการยกระดับน้ำให้สูงขึ้น เพื่อให้มันล้นออกจากฝาย และจุดประสงค์ของการตั้งงบขึ้นมามันก็ขึ้นอยู่กับตำแหน่งขณะที่ใช้ ซึ่งงบที่ตั้งมาครั้งนี้มันเพื่อแก้แล้งเป็นหลัก ซึ่งก็อาจจะช่วยในตอนน้ำท่วมได้บ้าง แต่มันช่วยได้ไม่มาก ถ้าน้ำมามากขนาดนี้ฝายที่สร้างขึ้นมามันก็พังทลาย พอเวลาพังคอนกรีตที่สร้างมันก็จะหลุดเป็นชิ้นชิ้น คล้าย ๆ กับเขื่อนแตกเลย มันก็จะส่งผลไปทำลายบ้านเรือนของประชาชน แต่ถ้าหากเรามองว่ามันไม่พังการยกระดับน้ำ สูงขึ้นคนที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับฝายก็จะส่งผลให้น้ำท่วมบริเวณนั้นสูงขึ้นตามไปด้วย ส่วนท้ายน้ำก็จะเจอน้ำท่วมแรงมากขึ้น เนื่องจากมีฝายชะลอน้ำยกน้ำให้สูงมันก็มีแรงของน้ำที่เพิ่มมากขึ้นไปด้วย สรุปคือมันแย่กว่าเดิม
นายสุรเชษฐ์ ระบุว่า การที่เจาะไปใต้ดินสามถึง 4 เมตร มันคนละเรื่องกันอันนั้นเพื่อความแข็งแรง ส่วนคอนกรีตที่ยกขึ้นจากท้องน้ำ ความจริงไม่ใช่ว่าไม่เกิน 1.5 เมตร ซึ่งแบบที่เขียนมามันคือเสื้อโหล S M L โดยเขียนไว้กว้างกว้างว่าหนึ่งถึงสองเมตร สูงสุดคือ 2 เมตร ตัวเลข 1.5 เมตรคือขนาดกลาง ส่วนผลที่กระทบต่อการยกน้ำขึ้นมา จากปกติปกติถ้าไม่มีสายระดับของแม่น้ำแม่น้ำก็อยู่ที่ศูนย์ หรือใกล้ศูนย์ กลับกลายเป็นว่าระดับน้ำถูกยกขึ้น ทำให้น้ำมีพลังงานมากขึ้นอีก 2 เมตร พูดง่ายง่ายก็คือ ถ้าหากเกิดน้ำหลาก คนที่อยู่บริเวณฝาย จะเป็นอย่างไรเป็นผลดีหรือผลเสียต่อชาวบ้าน
ส่วนประเด็นที่จะมีการรับประกันผลงานกี่ปี นายวิสุทธิ์ระบุว่า ในสัญญาก็ถูกระบุว่ามีขั้นต่ำรับประกันไว้สองปี แต่ว่าจะรับประกันสองปีถึงห้าปีก็ได้ผมรับประกันด้วยชีวิตของผม ซึ่งหากจะทำแบบนั้นก็สามารถขออนุมัติงบกลางได้เลย เพราะว่าแบบแผนก็มีอยู่แล้ว สถานที่ 3,000 กว่าแห่งก็มีอยู่แล้ว ก็รอนายกอนุมัติงบประมาณ แล้วการเขียนสัญญาก็ต้องระบุระบุไว้อย่างชัดเจนว่ารับประกันผลงานสองปี
ส่วนประเด็นว่า พอมีการแต่งตั้งนายกก็ให้ไปของบประมาณจากงบกลางเพื่ออนุมัติก่อสร้างแล้วให้มีการเขียนในสัญญาว่ามีการประกันผลงานห้าถึง 10 ปีนั้น คุณวิสุทธิ์บอกว่า ตามกฏหมายมันไม่สามารถทำได้ขนาดการก่อสร้างสนามบินก็มีการรับประกันเพียงสองปีเท่านั้น แต่ถ้ามีการรับประกันมากถึงห้าปีมันจะออกพิสดารไปหรือเปล่าส่วนที่ตัวเองพูดว่าจะรับประกันห้าปีนั้นคือ ตนเองไปเห็นมามันก็ไม่ได้พัง
ซึ่งการเขียน TOR มันเป็นเรื่องหน่วยหน่วยงานที่ออกการเขียนของบประมาณ ไม่มีใครเค้าเขียน TOR มาประกบกันหรอก มันมีโครงการไหนที่เค้าเขียนมา ส่วนการก่อสร้างก็ต้องเป็นหน่วยงานส่วนท้องถิ่นเขียนทีโออาร์ออกมาเพื่อรับประกันผลงานที่มีการก่อสร้างเค้าก็ต้องเขียน
ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่ามันจะพังทลาย เดี๋ยวเราต้องไปพิสูจน์กันที่จังหวัดน่านก็ได้ หรือที่จังหวัดพะเยา จังหวัด แพร่ ไปดูว่ามีการพังทลายกี่ที่ เพราะชาวบ้านเขาลงมือทำกันเอง วันที่พิจารณางบประมาณ คุณพิเชษฐ์ระบุเหตุผลในการตัดงบประมาณก้อนนี้ว่าไม่มีแบบแผนการก่อสร้าง ตนยืนยันว่าแบบแผนการก่อสร้างนี้ออกโดยกรมโยธา ออกแบบไว้และแบบนี้ก็ได้ปีการศึกษาคณะอาจารย์วิศวกรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่มีการทำวิจัยเรื่องนี้มายาว อยากให้คุณพิเชษฐ์ไปดูที่ท้องถิ่นที่เค้าทำมาทั้งหมดเค้ามีสัญญาสองปี
ตนเองบอกว่าการสร้างฝายก็อาจจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมด มันสามารถชะลอและสามารถลดการสูญเสียลงไปได้ จะทำให้ประชาชนได้ตั้งหลักเก็บของทัน ซึ่งมันก็จะเห็นว่ามันก็จะชะลอน้ำได้จริง
จริง ๆ ตำแหน่งที่มีการเลือกมามันไม่ได้อยู่ในพื้นที่น้ำท่วมด้วยซ้ำ มันอยู่สะเปะสะปะ เพราะเราไม่รู้ว่าองค์กรส่วนท้องถิ่นที่ได้งบประมาณไปเป็นพรรคพวกกันกับพรรคการเมืองใดหรือบ้านใหญ่ไหนหรือไม่ แล้วเรื่องนี้ก็มีการตัดงบประมาณด้วยเสียงข้างมาก
อยากจะบอกถึงคุณพิเชษฐ์ว่าอยากให้ไปดูไม่มีฝายชะลอน้ำสายไหนที่สร้างสูงเกิน 2 เมตร เราสามารถไปพร้อมกันได้ ซึ่งสูงสุดที่เค้าทำก็คือ 1 เมตร 20 เซนติเมตร มันจะมีบางสายที่สูงถึง 1 เมตร 50 เซนติเมตรซึ่งเป็นส่วนน้อยเท่านั้น เพราะฉะนั้นมันมีมาตรฐานของเขากำหนดไว้แล้วจะบอกว่าเป็นเสื้อโหลไม่ได้ เพราะว่าการก่อสร้างทุกอย่างมันก็ต้องมีแบบมาตรฐานของมันอยู่แล้ว
นายวิสุทธิ์ บอกว่า ถ้ามีเอกสาร S M L ของเอกสารงบประมาณ จะยอมกราบเลย กราบกลางสภาก็ได้
--------------
ล่าสุด นายสุรเชษฐ์ โพสต์เอกสารแบบการก่อสร้างลงบน x ตอบโต้ พร้อมเขียนข้อความว่า “ใครดูกรรมกรข่าวคุยนอกจอ เรื่อง ฝายดินซีเมนต์ ตามมาพิสูจน์กันได้ที่นี่ครับ ผมยืนยันว่าแบบมาตรฐานคือ 1.0, 1.5, และ 2.0 เมตร แต่อีกท่านบอก 2.0 เมตร ไม่มีแน่นอน วิธีดู (1) QR มุมขวาล่างจากต้นเรื่อง ไปเจอ (2) QR ไดโนเสาร์ ไปเจอ (3) เอกสารพิสูจน์ รีบแคปไว้ก่อนโดนหน่วยงานลบนะครับ”
โดยภายในลิ้งค์ QR ปรากฎเอกสารของกรมโยธาธิการและผังเมืองชัดเจน เป็นแบบการก่อสร้างฝายดินซีเมนต์สันฝายสูง 2 เมตร
--------------
รับชมผ่านยูทูบได้ที่ : https://youtu.be/NvTrMBKDRAU