เลือกตั้งและการเมือง

นายกฯ นำถกงบประมาณบอกปลายปี 67 พายุหมุนทางเศรษฐกิจ - "ชัยธวัช" เปิดอภิปรายงบ 68 "เจ๊งไม่ว่า เสียหน้าไม่ได้"

โดย kanyapak_w

19 มิ.ย. 2567

158 views

นายเศรษฐา​ ทวีสิน​ นายกรัฐมนตรี​ กล่าว อภิปรายเปิดการประชุม​สภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณา งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 วาระแรก ว่า​ ในนามคณะรัฐมนตรีขอเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีหลักการและเหตุผลดังนี้ หลักการตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ 2568 เป็นจำนวนไม่เกิน 3,752,700 ล้านบาท โดยในปีนี้ไม่มีการตั้งงบประมาณเพื่อชดเชยเพื่อชดใช้เงินคงคลัง เหตุผลเพื่อให้หน่วยรับงบประมาณได้มีกรอบวงเงินงบประมาณสำหรับใช้จ่าย ปีงบประมาณ 2568



โดยนายเศรษฐาระบุว่า มีจุดมุ่งหมายทำให้เศรษฐกิจของไทยเติบโตได้ตัวอย่างเป็นศักยภาพสร้างรายได้ให้กับประชาชนและประเทศผ่านการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภา และแถลงในอิกไนท์​ ไทยแลนด์​ จะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลาง 8 อุตสาหกรรม การพัฒนาพื้นฐานสำคัญมาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการงบประมาณ ในการพัฒนาและจัดสรรงบประมาณของประเทศให้บรรลุเป้าหมาย รวมทั้งคำนึงถึงการสอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปี 2560 และพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ​ พระราชบัญญัติวิธีงบประมาณ ปี 2561 รวมไปถึงสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 13 นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและแผนการปฏิบัติงานราชการของกระทรวง เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม



นายเศรษฐา​ ยังระบุอีกว่า ภาวะเศรษฐกิจทั่วไปของสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ประมาณการไว้ในประเทศในปี 2568 ข้อมูลวันที่ 20 พฤษภาคม 2567​ มีแนวโน้มที่จะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.5 ถึงร้อยละ 3.5 ถ้ากลางร้อยละ 3 มีการปรับลดลงจากการประมาณการเดิมที่ประมาณการไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางปีงบประมาณ 2568 และ 2571 ฉบับทบทวนและเดือนเมษายน 2567 โดยมีแรงสนับสนุน จากการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากการส่งออกสินค้าตามแนวโน้มการเติบโตเศรษฐกิจ และปริมาณการค้าโลก



อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจไทย​ มีข้อจำกัดและมีปัจจัยเสี่ยง ที่สำคัญจากความยืดเยื้อของความขัดแย้งเชิงภูมิศาสตร์และการดำเนินมาตรการกีดกันทางการค้าที่อาจส่งผลต่อเศรษฐกิจโลก​ และสร้างความผันผวนของตลาดเงินและตลาดทุน



ส่วนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจปี 2568 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อ จะอยู่ระหว่างช่วง 0.7 -​1.7 ค่ากลางร้อยละ 1.2 และดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มเกินดุลร้อยละ 1.5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ



ในช่วงปลายปี 2567 นโยบายดิจิทัล 10,000 บาท​ 50 ล้านคน เกิดเป็นพายุหมุนทางเศรษฐกิจ กระตุ้นเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง ตั้งแต่ระดับฐานราก กระจายไปยังพื้นที่ทั่วประเทศ ก่อให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย สั่งผลิตสินค้า จ้างงานและกลับมาเป็นภาษีให้กับภาครัฐ เพื่อใช้ในการลงทุน สร้างขีดความสามารถให้กับประเทศต่อไป โดยช่วงต้นปี 2567 รัฐบาลได้ประกาศวิสัยทัศน์ อิกไนท์ ไทยแลนด์​ เป็นเป้าหมายของการพัฒนา ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ​ 8 ด้านได้แก่ ศูนย์กลางการท่องเที่ยว /ศูนย์กลางการแพทย์และสุขภาพ/ ศูนย์กลางเกษตรและอาหาร /ศูนย์กลางการบิน /ศูนย์กลางการขนส่งของภูมิภาค /ศูนย์กลางการผลิตยานยนต์แห่งอนาคต/ ศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัล /และศูนย์กลางการเงิน บนการพัฒนา 6 พื้นฐานที่สำคัญได้แก่ การเป็นรัฐบาลดิจิทัลเพื่อความโปร่งใส ความเสมอภาคเท่าเทียม ความสะอาดและปลอดภัย ระบบขนส่งที่เข้าถึงและสะดวก การศึกษาและเรียนรู้สำหรับทุกคน และพลังงานสะอาดและมั่นคง



นายเศรษฐา​ ยังระบุอีกว่า​ ในครึ่งปีแรกแสดงให้เห็นว่าการท่องเที่ยว เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจที่สำคัญ มีเป้าหมาย นักท่องเที่ยวเข้าประเทศ มากกว่า 36.7 ล้านคน จะกลับไปสู่ ตัวเลขใกล้เคียง กลับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 รัฐบาลมีแผนให้ปี 2568 เป็นปีแห่งการท่องเที่ยวที่ยิ่งใหญ่

เพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวให้มากยิ่งขึ้น และกระตุ้นการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวผ่านการเฟ้นหาจุดเด่น จัดเทศกาล กิจกรรม คอนเสิร์ต หรือการแสดงต่างๆ เพื่อเพิ่มระยะเวลาการพำนัก และค่าใช้จ่ายต่อหัว

ของนักท่องเที่ยวต่างชาติให้มากยิ่งขึ้น



และเพื่อเป็นการรองรับการเจริญเติบโตนักท่องเที่ยวในอนาคต รัฐบาลจะเดินหน้า ขยาย โครงสร้างพื้นฐานทางอากาศให้มากยิ่ง โดยจะขยายโครงข่ายสนามบินทั่วประเทศ เพื่อรองรับผู้โดยสารให้มากขึ้น ตกลงถึงค่าขนส่งทางอากาศ เชื่อมโยงไปยังขนส่งทางรถไฟ​ ราง​ และเรือ​ อย่างครบวงจร​

ทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งจากไทยไปยังกลุ่มประเทศ CLMV และเชื่อมต่อไปยัง Land Bridge เพื่อไปทั่วโลกได้



ขณะเดียวกันปัญหาหนี้สินปัญหาหนี้สินยังเป็นปัญหาใหญ่ โดยเฉพาะในภาคครัวเรือนที่มีภาระหนี้สินสูงกว่าร้อยละ 91.3 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และยังซ้ำร้ายด้วยภาระหนี้นอกระบบ โดยรัฐบาลได้มีมาตรการช่วยเหลือในการไกล่เกลี่ย และจับกุมเจ้าหนี้นอกระบบที่ทำผิดกฎหมาย เพื่อคืนอิสรภาพให้ประชาชน



ขณะที่ภาคธุรกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย ประเมิน SMEs กว่า 3.2 ล้านราย เข้าถึงสินเชื่อไม่ถึงครึ่ง ทำให้ต้องอาศัยสินเชื่อที่ไม่เป็นธรรมส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ ทำให้เจริญเติบโตต่ำ ขณะที่สินเชื่อธุรกิจรายใหญ่ ขยายตัวร้อยละ 3.3 ในไตรมาส 1 ของปี 2567 การลงทุนต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น มีการขอส่งเสริมการลงทุน มูลค่ากว่า 8.5 แสนล้านบาทในปี​ 2566 ซึ่งสูงสุดในรอบ 9 ปี เป็นผลมาจากการเจรจา การค้าการลงทุนอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงความเชื่อมั่น และยังมีการลวทุนจาดอุตสาหกรรม​ชั้นมูงที่เจ้ามาลงทุนและตั้งสำนักงานในประเทศไทย​ เช่นอุตสาหกรรม​อิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมดิจิทัล



สำหรับนโยบายการคลังและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รัฐบาลจำเป็นงบประมาณขาดดุล เพื่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจให้ต่อเนื่อง​ โดยประเมินว่าจะสามารถจัดเก็บภาษีได้​ 3,022,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 จากปีก่อน​ นอกจากนี้ยังมีการจัดสรรเพื่อภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 135,700 ล้านบาท​ และจัดสรรเป็นรายจ่ายรัฐบาล​ 2,887,000 ล้านบาท กู้เพื่อชดเชยขาดดุล​ 865,700 ล้านบาท​ รวมรายรับ​ 3,752,700 ล้านบาท ซึ่งเท่ากับวงเงินงบประมาณรายจ่าย



ขณะที่นี่สาธารณะ ณ​ วันที่ 31 มีนาคม 2567​ 11,474,154 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 63.37 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายใต้กรอบบริหารหนี้สาธารณะที่กำหนดไว้ ต้องไม่เกินร้อยละ 70 ซึ่งการที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.5 ต่อปี​ โดยมีเหตุผลว่าเป็นอัตราที่สอดคล้องกับการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน มีอัตราเงินเฟ้อที่สอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจที่โน้มเข้าสู่ศักยภาพ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่อง และการเบิกจ่ายภาครัฐที่กลับมาเร่งขึ้นในไตรมาส 2 ของปี 2567​ ซึ่งต้องติดตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะการส่งออกของภาคผลิต



ขณะที่ไทย มีเงินสำรองระหว่างประเทศ ณวันที่ 31 ธันวาคม 2566 จำนวน 224, 283.9 ร้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงิน 2.5 เท่าของหนี้ต่างประเทศ ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งมาก ดังนั้นการจัดทำงบประมาณงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ 2568 จำแนกเป็นรายจ่ายประจำ 2, 704, 574 .7 ล้านบาท​ ที่เป็นร้อยละ 72.1 รายจ่ายลงทุน 908, 224 ล้านบาท​ เป็นร้อยละ 24.2 เป็นสัดส่วนการลงทุนที่สูงสุดในรอบ 17 ปี จ่ายคืนเงินกู้​ 150,100 ล้านบาท​ คิดเป็นร้อยละ 4.0 และรายจ่าย กู้เพื่อการลงทุนรัฐวิสาหกิจ 10,198.7 ล้านบาท​



งบประมาณรายจ่ายงบกลาง กำหนดไว้ จำนวน 805,745.0 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 21.5 ของวงเงินงบประมาณ1.2​งบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ กำหนดไว้ จำนวน 1,254,576.8 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 33.4 ของวงเงินงบประมาณ1.3​งบประมาณรายจ่ายบูรณาการ กำหนดไว้ จำนวน 206,858.5 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.5 ของวงเงินงบประมาณ



นายเศรษฐา ยังกล่าวได้ว่า การจัดทำงบประมาณรายจ่าย ปี 2568 แบ่งเป็น 6 ยุทธศาสตร์ คือ 1 ด้านความมั่นคง จำนวน​ 405,412.8 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.8 ของวงเงินงบประมาณ​ / 2. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน จำนวน 398,185.9 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.6 ของวงเงินงบประมาณ​/3. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์​ จำนวน​ 583,023.4 ล้านบาท​ คิดเป็นร้อยละ 15.5 ของวงเงินงบประมาณ​



4. ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม​ จำนวน​923,851.4 ล้านบาท​ คิดเป็นร้อยละ 24.6 ของวงเงินงบประมาณ​/ 5.ด้านการสร้างการเติบโต บนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม วงเงิน 137,291.9 ล้านบาท เป็นร้อยละ 37 ของวงเงินงบประมาณ​ /และ​ 6. ด้าน​การปรับสมดุลและพัฒนาระบบ การบริหารจัดการภาครัฐ จำนวน​ 645,880.9 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.2 ของวงเงินงบประมาณ



​การบริหารงบประมาณรายจ่ายทั้งหมดนี้ จะเป็นการใช้จ่ายเพื่อดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล และกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยรัฐบาล

จะดำเนินการให้เป็นไปตามกรอบวินัยการเงินการคลังของรัฐ ใช้จ่ายเงินภาษีของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด กระตุ้นเศรษฐกิจให้เม็ดเงินไหลไปสู่ประชาชนและภาคธุรกิจ สร้างการเจริญเติบโตให้กับประเทศพัฒนาศักยภาพอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามกฎหมาย



อย่างไรก็ตามในการอภิปรายงบประมาณ ปี 2568 นายกรัฐมนตรีใช้เวลาอภิปราย เวลา 1.30 ชม.



ด้าน "ชัยธวัช" เปิดอภิปรายงบ 68 "เจ๊งไม่ว่า เสียหน้าไม่ได้" ซัดรัฐบาลเอาประเทศเป็นเดิมพัน ดันทุรังทำ "ดิจิทัลวอลเล็ต" เหน็บวิกฤติขนาดนี้ มาจาก "ไม่ชอบธรรม" ในการจัดตั้งรัฐบาลตั้งแต่แรก ทำประชาชนไม่เชื่อมั่น แนวคิดจัดงบเสี่ยงเกิด "หลุมดำ" ดูดเม็ดเงินออกนอกประเทศ ด้าน "องครักษ์เพื่อไทย" ทำหน้าที่ รับไม่ได้พูดว่า "เจ๊ง" บอกไม่สุภาพ-เสียดสี-ใส่ร้าย



19 มิ.ย. 2567 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยวิสามัย ที่มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ ทำหน้าที่ประธานการประชุม วาระการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2568 นายชัยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะผูนำฝ่ายค้าน อภิปรายเปิด โดยเริ่มต้นกล่าวว่า ตนขอฝากความห่วงใยไปยังนายกรัฐมนตรีหวังว่าสุขภาพของท่านจะฟื้นจากอาการป่วยก่อนหน้านี้โดยเร็ว



ประเด็นแรก ตนขอย้ำว่าร่าง พ.ร.บ. งบปี 68 ฉบับนี้ ถือว่าสูงมากเป็นประวัติการถึง 3,752,700 ล้านบาท ซึ่งเงินที่จะนำมาใช้จ่ายก็มา 2 ส่วน คือรายได้รัฐบาลและเงินกู้ ถือว่าจัดได้แบบขาดดุลต่อเนื่องมาหลายปีแล้ว ซึ่งในส่วนการประมาณการรายได้ของรัฐบาล ประมาณรายได้สุทธิ 2,887,000 ล้านบาท ที่เหลือเอามาจากวงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 865,700 ล้านบาท ถือว่าเป็นการวางวงเงินกู้ไว้เกือบชนเพดาน พูดง่ายๆว่าเหลือพื้นที่กู้เงินได้เพียง 5,000 ล้านบาทเท่านั้น เมื่อเทียบกับงบประมาณรายจ่ายปี 2567 งบในปีนี้ได้รับการจัดสรรเพิ่มขึ้นถึง 272,700 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.8 ถือเป็นการเพิ่มงบประมาณในสัดส่วนที่สูงที่สุดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา



อย่างไรก็ตาม การเพิ่มงบประมาณรายจ่ายของประเทศอย่างก้าวกระโดด โดยกู้เงินมาใช้จนเกือบชนเพดานขนาดนี้ จะสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันหรือไม่นั้น จำเป็นต้องไปดูในรายละเอียดว่ารัฐบาลของเรากำลังจะเอาเงินไปทำอะไร



นายชัยธวัช กล่าวต่อว่า ในการพิจารณางบปี 67 ครั้งที่ผ่านมา เราต้องผิดหวังกับการจัดสรรงบของรัฐบาลชุดใหม่ไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่ตอนนั้นรัฐบาลใหม่ยังอ้างได้ว่า ยังไม่สามารถจัดสรรงบประมาณได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากเป็นงบประมาณที่ค้างมาจากรัฐบาลก่อนหน้านี้ มาคราวนี้ งบปี 68 ต้องถือว่าเป็นการจัดสรรงบประมาณที่อยู่ในอำนาจเต็มของรัฐบาลชุดใหม่แล้ว ไม่สามารถปัดความรับผิดชอบได้อีก พอเราเข้าไปดูในรายละเอียด ก็ยิ่งผิดหวังถึงขั้นหมดหวัง เพราะเป็นการจัดสรรงบประมาณประเทศที่แทบจะเหมือนเดิม มีปัญหาแบบเดิมๆ เรียกได้ว่า “เหมือนเดิม เพิ่มเติม คือ ดิจิทัลวอลเลต”



นายชัยธวัช ระบุว่า รัฐบาลจัดงบเหมือนมียุทธศาสตร์ มีคำพูดสวยหรูเต็มไปหมด แต่พอลงรายละเอียดก็ซ้ำซาก ซ้ำซ้อน เบี้ยหัวแตก มองไม่เห็นเป้าหมายทางนโยบายที่ชัดเจน จับต้องได้ ตัวชี้วัดใช้ไม่ได้ ใช้งบประมาณแบบไม่สนใจผลลัพธ์ในทางปฏิบัติ ซึ่งงบปี 67 ยังมีโครงการใหม่ 236 โครงการ แต่งบปี 68 กลับมีโครงการใหม่เพียง 163 โครงการ เป็นเหล่าเก่าในขวดใหม่





แล้วหันไปดูรายจ่ายลงทุน จำนวนมากไม่มีการใช้จ่ายที่มีนัยยะสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่ไปยึดโยงกับเครือข่ายการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ที่มีส่วนผลักดันรัฐบาลเข้าสู่อำนาจ จัดงบยุทธศาสตร์ แบบไม่มียุทธศาสตร์



นายชัยธวัช ย้ำว่า รัฐบาลใหม่ของเราไม่มีวาระทางยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนว่ากำลังจะทำอะไรกันแน่ แต่ละกระทรวงต่างคนต่างอยู่ในอาณาจักรของตนเอง ไร้ทิศทาง ผู้นำรัฐบาลก็ถนัดแต่สั่งการ แต่ไม่รู้วิธีการว่าต้องทำยังไง ข้าราชการก็เลยจัดให้แบบขอไปที เอาโครงการเดิมๆ มาแปะป้ายใหม่ให้ดูว่าเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลใหม่แล้ว หากจะมีอะไรใหม่ คงมีแค่เรื่องเดียวคือ ความดันทุรังทำดิจิทัลวอลเลต 10,000 บาทให้ได้ ดันทุรังกันแบบ “เจ๊งไม่ว่า เสียหน้าไม่ได้”



นายชัยธวัช ระบุว่า ดิจิทัลวอลเล็ตอยู่ในงบกลางของงบปี 68 เป็นรายการตั้งใหม่ ในชื่อค่าใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ จำนวน 157,200 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 18.9 ของงบกลาง นอกจากนี้จะใช้เงินจากใช้เงิน ธกส. 172,300 ล้านบาท , ของบกลางปี 2567 เพิ่ม 122,000 ล้านบาท และหากยังไม่พอ รัฐบาลอาจออก พ.ร.บ.โอนงบประมาณ จากงบเงินสำรองรายจ่ายฉุกเฉินหรือจำเป็นมาใส่เพิ่มอีก



นายชัยธวัช ชี้ให้เห็นว่า ผลจากการจัดหางบประมาณมาใช้ในดิจิทัลวอลเลต เสี่ยงที่จะเกิดปัญหาทางการคลังทั้งเฉพาะหน้าและระยะยาว ภาระการจ่ายหนี้ของรัฐจะสูงขึ้นในอนาคต สูญเสียพื้นที่ทางการคลัง หากจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินฉุกเฉินจริงๆ หรือลงทุนภาครัฐขนาดใหญ่ในอนาคต



“ในเมื่อรู้ว่าเสี่ยงขนาดนี้ ทำไมจึงมีลักษณะเจ๊งไม่ว่า เสียหน้าไม่ได้ คำตอบง่ายๆ คือ เป็นเพราะรัฐบาลชุดนี้ประสบปัญหาวิกฤตความชอบธรรมทางการเมืองจากการจัดตั้งรัฐบาล และพอเข้ามาบริหารจริงๆ ถึงวันนี้ก็ยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นได้ว่าจะพลิกฟื้นเศรษฐกิจของประเทศและปากท้องของประชาชนดีขึ้น ดังนั้น พรรคแกนนำรัฐบาลจึงเหลือความหวังเดียว คือเชื่อว่าหากผลักดันโครงการดิจิทัลวอลเลต ซึ่งเป็นนโยบายเรือธงที่เคยหาเสียงไว้ได้สำเร็จ ความชอบธรรมทางการเมืองของรัฐบาลจะกลับคืนมา” นายชัยธวัช กล่าว



นายชัยธวัช ย้ำว่า แน่นอนว่า ในสภาพการณ์ที่ข้าวยากหมากแพง เศรษฐกิจฝืดเคืองขนาดนี้ พี่น้องประชาชนจำนวนก็หวังจะได้เงินหมื่นของรัฐบาลมาประทังชีวิต แต่ปัญหาคือ ในสถานการณ์ปัจจุบัน เราไม่ได้ต้องการรัฐบาลที่จะมุ่งแสวงหาความนิยมจากประชาชนแบบมักง่าย สายตาสั้น แต่เราต้องการรัฐบาลที่มีเจตจำนงในการผลักดันนโยบายที่ดีที่สุด



“หากสุดท้าย นโยบายดิจิทัลวอลเลตที่กำลังดันทุรังทำอยู่นี้ ไม่ได้ตอบโจทย์ของประเทศจริงๆ การจัดสรรงบปี 68 นี้ ก็จะเป็นการจัดสรรงบที่ไม่ได้เอาโจทย์ของประเทศเป็นตัวตั้ง แต่เอาโจทย์ของพรรคแกนนำรัฐบาลเป็นตัวตั้ง รัฐบาลนี้กำลังมุ่งแก้ปัญหาวิกฤตทางการเมืองของตนเอง โดยเอาโอกาสและอนาคตของประเทศมาวางเป็นเดิมพัน ประเทศเจ๊งไม่ว่า แต่ต้องรักษาหน้าพรรคแกนนำรัฐบาลให้ได้” นายชัยธวัช กล่าว



นายชัยธวัช กล่าวว่า โครงการดิจิทัลวอลเลตฉาบฉวยและเฉพาะหน้า ยังคิดไม่เสร็จตั้งแต่ต้น เราจึงเห็นการดำเนินนโยบายเรือธงนี้แบบคิดไป ทำไป กลับไปกลับมาจนถึงทุกวันนี้ แต่พรรคแกนนำรัฐบาลก็โหมโฆษณาตลอดว่าดิจิทัลวอลเลต จะเป็นการกระจายเม็ดเงิน เพื่อกระตุ้นการบริโภค ทำให้เกิดพายุหมุนทางเศรษฐกิจหลายรอบจนไปกระตุ้นการผลิต การลงทุน และการจ้างงาน



นายชัยธวัช กล่าวว่า แนวคิดแบบนี้อาจจะใช้ได้กับประเทศไทยเมื่อสัก 20 ปีก่อน แต่มันไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ในวันนี้แล้ว การกระตุ้นการบริโภคโดยการอัดเงินลงไปในระยะสั้น จะไม่ได้นำไปสู่การกระตุ้นเศรษฐกิจได้ง่ายๆ อีกแล้ว เพราะจะเจอปัญหาช่องทางเงินไหลออกที่เปรียบเสมือน “หลุมดำ 2 หลุม” ที่คอยดูดเม็ดเงินออกจากระบบเศรษฐกิจในประเทศ



หลุมดำหลุมแรก คือ สินค้านำเข้าราคาถูกจากต่างประเทศ โดยเฉพาะสินค้าประเทศจีนที่เกิดสภาวะล้นตลาด หลุมดำหลุมที่สอง คือ e-commerce หรือ platform ขายของออนไลน์ เป็นช่องทางการซื้อขายที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งส่วนแบ่งตลาดก็เป็นของต่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ



นายชัยธวัช ระบุต่อว่า รัฐบาลก็ดูเหมือนเพิ่งตระหนักในประเด็นนี้ นายกฯ จึงสั่งให้ทบทวนเรื่องการใช้เงินดิจิทัลวอลเลตว่าจะซื้อโทรศัพท์มือถือได้หรือไม่ สะท้อนถึงการคิดไม่รอบคอบก่อนทำนโยบาย พร้อมย้ำว่าหากอยากพลิกฟื้นประเทศจริง ต้องเน้นลงทุน เน้นภาคการผลิต





ถ้าเราเอาโจทย์ของประเทศเป็นตัวตั้ง จะเห็นการจัดซื้อจัดจ้างที่กระตุ้นการจ้างงานภายในประเทศ เมื่อเทียบกับมาเลเซีย ที่กำลังกลายเป็นซิลิคอนแวลลียแห่งตะวันออก เขามียุทธศาสตร์ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว ที่ชัดเจน ไม่ใช่จะเป็นยุทธศาสตร์ทุกเรื่อง การจะเป็นศูนย์กลางทุกเรื่อง แสดงว่าไม่ให้ความสำคัญอะไรเลย เราต้องการโมเดลพัฒนาเศรษฐกิจแบบใหม่ ยังมีโจทย์อีกมากที่ไม่ได้รับการตอบสนองผ่านการจัดงบ ทั้งโจทย์การศึกษาและการเรียนรู้ โจทย์สังคมสูงวัย โจทย์ของชนบทไทย



นายชัยธวัช สรุปว่า การจัดสรรงบปี 2568 สะท้อนให้เห็นว่า มักง่ายที่สุด สุ่มเสี่ยงที่สุด เพราะรัฐบาลกำลังเอาทรัพยากรของประเทศ ไปมุ่งแก้ปัญหาวิกฤตการเมืองเฉพาะหน้าของตัวเอง โดยเอาโอกาสของคนไทยทุกคนและอนาคตของประเทศมาวางเดิมพันอย่างไม่รับผิดชอบ Ignore Thailand เจ๊งไม่ว่า เสียหน้าไม่ได้



อย่างไรก็ตาม ก่อนที่นายชัยธวัชอภิปรายจบ นายไชยวัฒนา ติณรัตน์ สส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ลุกขึ้นประท้วง โดยระบุว่า ยกแรกตนไม่อยากขัดจังหวะ แต่คำว่าเจ๊งไม่ว่าเสียหน้าไม่ได้ ไม่สุภาพ เสียดสี ใส่ร้าย แต่นายวันมูมะมัดนอร์ กล่าวว่า นายชัยธวัชอภิปรายต่อไปได้


คุณอาจสนใจ

Related News