เลือกตั้งและการเมือง

เผยมุมมอง 'ช่อ พรรณิการ์' ถึง 'ซอฟต์พาวเวอร์' ลั่นยอมหน้าแหก ถ้ารัฐบาลทำสำเร็จแล้วคนไทยได้ประโยชน์

โดย nattachat_c

24 พ.ย. 2566

27 views

วานนี้ (23 พ.ย. 66) ในรายการกรรมกรข่าวคุยนอกจอ ช่อ-พรรณิการ์ วานิช ได้นิยามคำว่า ซอฟต์พาวเวอร์ การเอาศักยภาพของประเทศมาสร้างคุณค่าชูเป็นจุดขายหลัก เพื่อให้เกิดการยอมรับในวิธีโลก


ตอนนี้ การสร้างซอฟต์พาวเวอร์คือการหาศักยภาพ ที่ตอนนี้มีเยอะมากในประเทศ เราต้องไปหาว่าศักยภาพที่เราจะเอาคืออะไร แล้วก็ค่อยมาจัดวางยุทธศาสตร์ และนำสิ่งนั้นชูขึ้นมาสร้างคุณค่าให้มัน และทำให้มันเกิดการยอมรับในเวทีนานาชาติ สิ่งนั้นก็คือจะเป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่จะมาส่งเสริมบทบาทการเจรจาต่อรอง


ส่วนประเด็นที่ตนเองได้บอกว่าให้รัฐบาลเลือก แต่คุณหมอกลับบอกว่ามันไม่สามารถเลือกได้ ซึ่งในความแตกต่างนี้ทำไมตนเองถึงต้องบอกว่าให้เลือก เพราะว่าถ้าการลืมทุกสิ่งทุกอย่างมันจะทำให้มีการใช้งบประมาณจำนวนมาก คือการหว่านแห หว่านปุ๋ย และทำนาหว่าน พอครบสี่ปีผ่านไป เราอาจจะไม่ได้อะไรกลับมาเลย


ยกตัวอย่างเช่น คำของบประมาณของกระทรวงวัฒนธรรม จะออกไปทำในส่วนของซอฟต์พาวเวอร์ เช่น หนึ่งอำเภอ 1 ลานสร้างสรรค์ จะเป็นพื้นที่คอมมูนิตี้สเปซ หรือ โครงการที่กระทรวงวัฒนธรรมตั้งงบประมาณอยู่ที่ลานละ 50,000 บาท ซึ่งตามความเป็นจริง ในงบประมาณแค่ 50,000 บาท จะสามารถสร้างสรรค์อะไรได้ไหม เพราะงบประมาณน้อยมาก แทบจะซื้อเครื่องเล่นไม่ได้เลย ซึ่งคาดว่า ในแต่ละพื้นที่ อาจจะต้องมีการทำงานร่วมกันระหว่างภาคเอกชน และภาครัฐ  ในความเป็นจริง มันเป็นนโยบายของส่วนกลาง แต่กลับกลายเป็นภาระของส่วนท้องถิ่นที่ต้องหางบประมาณก่อสร้าง


ซึ่งก่อนหน้านี้ ก็มีโครงการตลาดประชารัฐ เป็นตลาดที่จะมีแทบทุกอำเภอแต่กลับกลายเป็นตลาดร้างไม่มีคนเดิน ตนเองจึงมีความกังวลว่าลานที่ว่านี้ จะอยู่ในสภาพเดียวกัน


ขณะที่ อีกนโยบายหนึ่งคือการยกระดับประเพณีและวัฒนธรรมของชาติ 76 จังหวัด 76 เทศกาล 234 ล้านบาท ซึ่งโครงการนี้จะเป็นการต่อยอดเทศกาลต่างๆของพื้นที่นั้น ๆ ซึ่งความเป็นจริง งบงบประมาณกับเนื้องานค่อนข้างที่จะมีการแตกต่างกันมาก


ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยก็ทำลักษณะแบบนี้มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมันก็ไม่ได้มีความแตกต่างอะไรจากของเดิม


ส่วนประเด็นที่คุณหมอบอกว่า จะทำให้ประเทศไทยมีการจัดเทศกาลแบบต่างประเทศ เช่น ประเทศสกอตแลนด์ ที่จะมีการสร้างสรรค์ให้มีการแตกต่าง และประทับใจมากที่สุด ซึ่งดูจากงบประมาณที่มีการเขียนโครงการไว้ก็น่าจะพอดูออก


ขณะที่ มาดูงบประมาณของรัฐบาลเรื่องของการจัดอีเวนต์ ซึ่งประเทศไทยก็มีการจัดอีเวนต์มาอย่างต่อเนื่อง และยาวนาน เรียกได้ว่า เป็นประเทศมหาอำนาจของการจัดอีเวนต์ แต่ต้องตั้งคำถามว่า แล้วประเทศไทยเป็นมหาอำนาจด้านซอฟต์พาวเวอร์หรือยัง


ขณะที่ เทศกาลสงกรานต์อาจจะเป็นซอฟต์พาวเวอร์ก็ได้ แต่มันไม่ได้มาจากการสร้างขึ้นมา มันมาจากการเกิดขึ้นโดยออร์แกนิคของตัวมันเอง ซึ่งทางรัฐบาลจะจัดอีเวนต์ทั้งปีไม่ได้


ดังนั้น คุณต้องเลือก อาจจะเลือกแค่ Theme ของงาน เช่น ถ้าเลือกงาน Water festival แต่ส่งเสริม 'คราม สกลนคร' ได้ใช่ไหมคำตอบคือได้


ขณะที่ ได้ตั้งคำถามว่า ในเมื่อประเทศไทยมีการจัดอีเวนต์แบบนี้ขึ้นทุกปี แล้วเราจะทำซอฟต์พาวเวอร์ส่งเสริมการจัดอีเวนต์อีกใช่หรือไม่


เพราะฉะนั้น การตั้งธีมขึ้นมา เพื่อเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ เพื่อที่จะสามารถต่อยอดไปได้ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศเกาหลีใต้ เค้าได้เรื่องเอนเตอร์เทนเมนต์ ภาพยนตร์เค้าใช้เวลาพัฒนา 10 ปี จนประสบความสำเร็จ หลังจากนั้น สิ่งที่ตามมานั่นก็คือ อาหารที่สามารถสอดแทรกลงในภาพยนตร์ เครื่องดื่มที่คนท้องถิ่นทำ จนจนสามารถตีตลาดนานาชาติได้ ทั้งหมดทั้งมวลนี้ เรื่องเอนเตอร์เทนคือยุทธศาสตร์สำคัญของเกาหลีใต้ และยังสามารถเป็นพาหะนำเอาองคาพยพไปสู่สายตาชาวโลกได้


เช่นเดียวกับประเทศไทย รัฐบาลต้องเลือกขึ้นมาหนึ่งยุทธศาสตร์ เพื่อที่จะสามารถมุ่งไปให้ดีที่สุด ขณะเดียวกันสิ่งที่ตามมาคือองคาพยพ ที่จะใช้ตัวยุทธศาสตร์เป็นพาหะเดินไปสู่สังคมชาวโลก


ถ้ายกตัวอย่างเช่นอาหาร เราสามารถต่อยอดได้ไปยังอาหารเพื่อสุขภาพ เชื่อมโยงไปยังการนวด เชื่อมโยงไปยังการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นจุดเด่นของประเทศไทยอยู่แล้ว


ขณะที่ ประเทศญี่ปุ่นเขาได้ทำเรื่องข้าว ซึ่งข้าวมีอยู่หลากหลายชนิด และเขาสามารถทำออกมาได้ จนทำให้มีรายได้ไปยังเกษตรกร คือเขาสามารถนำเสนอกลิ่นของข้าวที่มีความแตกต่างกัน เขาสามารถให้ผู้บริโภคเลือกได้ว่าจะเลือกกินอะไร สิ่งเหล่านี้มันทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม


ขณะที่ ประเทศไทยมีจุดเด่นเรื่องการส่งออกข้าวแต่ชาวนากลับกลายเป็นชนชั้นที่ยากจนที่สุด ฉะนั้น การพรีเซนต์หรือการนำเสนอข้าวจะต้องมีกระบวนการ


ส่วนรัฐบาลก็ได้มีการออกแนวความคิดว่าจะต้องรีสกิลอัพสกิล ถ้ายกตัวอย่าง ชาวนาหรือคนไทยบางกลุ่มที่เป็นเกษตรกร ก็จะบอกว่าฉันทำเป็นมาตั้งแต่เด็กแล้ว ดังนั้น สิ่งที่คนไทยขาด คือ กรรมการที่เป็นที่ยอมรับ และสามารถบ่งบอกได้ว่า ข้าวชนิดใดเป็นข้าวที่ดี มีกลิ่นหอม และมีเอกลักษณ์


ส่วนการปรับปรับปรุงโครงสร้างเรื่องกฎหมาย ก็จะจะต้องดำเนินการด้วยเนื่องจากกฎหมายบางฉบับกลายเป็นอุปสรรคในการดำเนินการเรื่องซอฟต์พาวเวอร์ เช่น กฎหมายสุราเป็นต้น


ยกตัวอย่าง ร้านต่าง ๆ ที่อยากจะเปิดผับบาร์ ก็จะต้องไปขอใบอนุญาต ซึ่งจะต้องขอใบอนุญาตจำนวนมาก ทำให้เป็นอุปสรรคในการต่อยอด


ดังนั้น จึงอยากถามไปยังคุณหมอว่า หนึ่งนโยบายของพรรคเพื่อไทยคือ การกำจัดกฎหมายที่เป็นอุปสรรคในการต่อยอดซอฟต์พาวเวอร์ เช่น กฎหมายการแบนภาพยนตร์ หรือฉากที่ไม่เหมาะสม ซึ่งกฎหมายนี้ พรรคผู้ใดบอกจะสามารถทำได้ภายใน 100 วันแรก


ประเด็นสำคัญนอกเหนือจากงบประมาณของกระทรวงวัฒนธรรมแล้ว ยังมีคำถามว่า มันยังมีกระทรวงอื่นที่เกี่ยวข้องในเรื่องของซอฟต์พาวเวอร์โดยเจ้ากระทรวง หรือรัฐมนตรีกระทรวงนั้น เป็นของพรรคร่วมรัฐบาล คำถามคือ แล้วจะสามารถดำเนินการต่อยอดไปด้วยได้หรือไม่


อย่างไรก็ตาม ก็มีคำถามกลับไปยังรัฐบาลว่า การที่มีโครงการรีสกิลอัพสกิลนั้น มีการตั้งงบประมาณไว้ 170 กว่าล้านบาท เท่านั้นโดยงบเหล่านี้ จะต้องใช้กับ 20,000,000 ครัวเรือน นั่นหมายถึงว่า การส่งตัวแทนหนึ่งคนต่อครอบครัว มาเข้าร่วมโครงการ ความเป็นจริงมองว่า จำนวนงบประมาณกับผู้เข้าร่วมมันไม่สัมพันธ์กัน แต่ในที่นี้ ก็อาจจะเป็นการออกแบบหลักสูตรของกระทรวงวัฒนธรรม  และมีการส่งต่อไปให้กระทรวงอื่น เป็นผู้รับผิดชอบไปก็ได้


ขณะที่ ประเด็นเรื่องนโยบายเพื่อศิลปะร่วมสมัยไทย thacca ซึ่งในหน่วยงานนี้รัฐบาลบอกว่า จะเป็นแม่งานของการทำเรื่องซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ เปรียบเสมือนเจ้าภาพรวมศูนย์กลางทุกอย่างอยู่ที่หน่วยงานนี้


ปัญหาที่เกิดขึ้นคือพระราชบัญญัติ ที่จะต้องมีการตราขึ้นมาเพื่อให้หน่วยงานนี้มีอำนาจสามารถทำภารกิจตามแผนยุทธศาสตร์ได้ ตามกรอบเวลาแล้ว พระบัญญัติฉบับนี้จะเสร็จประมาณกลางปีหน้า ในส่วนตัวก็ยังไม่มั่นใจว่า กลางปีหน้า พระราชบัญญัติตัวนี้จะเสร็จหรือแค่ผ่านสภา ดังนั้น เราอาจจะเห็นหน่วยงานที่ชื่อไทยทาก้าประมาณ ปี 68  


ส่วนหลายคนมองว่า พรรคเพื่อไทยคงจะไม่ให้เกิดปัญหา เพราะว่าคุณอุ๊งอิ๊ง ได้เป็นแม่งานในการจัดทำเรื่องซอฟต์พาวเวอร์ โดยช่อบอกว่า อุ๊งอิ๊งและตนเองจบคณะเดียวกัน และยังเป็นรุ่นพี่สองปี


ซึ่งสถานการณ์ทางการเมืองนั้นคือปี 2549 ทักษิณถูกเกลียดชังจากชนชั้นกลางอย่างมาก จนทำให้บรรยากาศภายในมหาวิทยาลัย มันทำให้เห็นว่าความเป็นลูกของ ทักษิณ ชินวัตร ทำให้คุณอุ๊งอิ๊งถูกกระทำแบบไหนบ้าง ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่แย่มาก ซึ่งตนเองรู้ว่าคนในคณะพูดอย่างไร อาจารย์พูดอย่างไร เพราะเพียงแค่เขาเป็นลูกของทักษิณ


พอมาเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในวันนี้ ใครก็ตามที่มาวิพากษ์วิจารณ์ ว่าแตะไม่ได้เลยเรื่องซอฟต์พาวเวอร์ เพราะเป็นโครงการของอุ๊งอิ๊ง ซึ่งความจริงไม่ใช่ เราวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงสาธารณะ ตนเองมองว่าการวิจารณ์มันคือโอกาสของประเทศไทย ดังนั้น สิ่งที่ตนเองออกมาพูด มันไม่ใช่การโจมตี แต่มันคือการป้องกันการสูญเสียโอกาสของประเทศชาติ และอยากให้รัฐบาลฟังเสียง และใช้โอกาสเหล่านี้อย่างมีคุณค่า


ดังนั้น สิ่งที่ตนพูด ตนไม่กลัวว่าจะหน้าแหก เพราะถึงแม้ว่ามันเกิดขึ้นจริง ๆ ในสังคม ก็ไม่มีใครสูญเสีย แต่กลับกัน ถ้ารัฐบาลทำให้โครงการเหล่านี้เกิดขึ้นไม่ได้ ประเทศไทยสูญเสีย เสียโอกาสการพัฒนา เสียงบประมาณโดยใช่เหตุ

------------


รับชมทางยูทูบที่ : https://youtu.be/wN5oH_SEv-0

คุณอาจสนใจ

Related News