เลือกตั้งและการเมือง

“เรืองไกร” เตรียมร้อง กกต.สอบ ปม “พิธา” ถือหุ้นสื่อ- "ศรีสุวรรณ" ร้อง กกต. สอบบัตรส่วนลด เข้าข่ายซื้อเสียงเอื้อ “พรรคส้ม”

โดย kanyapak_w

9 พ.ค. 2566

5.6K views

“เรืองไกร” เตรียมร้อง กกต.สอบ ปม “พิธา” ถือหุ้นสื่อ ส่อขาดคุณสมบัติลงสมัคร ส.ส. ขณะที่ “ศรีสุวรรณ” ร้อง กกต. สอบบัตรส่วนลด เข้าข่ายซื้อเสียงเอื้อ “พรรคส้ม” ซ้ำพบข้อมูลร้านค้ากรอกข้อมูลชวนเลือก เข้าข่ายช่วยหาเสียง



(9 พ.ค.) นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ เปิดเผยว่า ได้ตรวจสอบพบข้อมูลที่น่าเชื่อว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ถือหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) จำนวน 42,000 หุ้น ซึ่งเป็นมูลเหตุที่ต้องทำการเสาะหาข้อมูลอยู่หลายวัน จนเพียงพอที่จะขอให้ กกต. ตรวจสอบต่อไป ดังนี้



เมื่อตรวจสอบปรากฏข้อเท็จจริงตามข้อมูลเมื่อวันที่ 7 เม.ย.2566 ที่ทำให้เข้าใจว่า นายพิธา ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) จำนวน 42,000 หุ้น



นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เข้ายื่นหนังสื่อร้องเรียนต่อกกต. เพื่อขอให้ไต่สวนในกรณีโค้ดบัตรส่วนลด ของกิจการร้านค้ำบางแห่งที่มอบให้กับลูกค้าที่ไปซื้อขายสินค้า และบางแห่งในสลิปการจ่ายเงินปรากฏข้อความการช่วยหาเสียงให้กับพรรคการเมืองหนึ่ง ซึ่งเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก



นายศรีสุวรรณ กล่าวว่า มีประชาชนส่งพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งเข้ามาที่ตนเป็นจำนวนมาก ซึ่งสมาคมฯ เห็นว่าเกี่ยวข้องกับการหาเสียงเลือกตั้ง ส.ส. ตามกฎหมายในหลายประเด็น ประเด็นแรกคือ การที่มีผู้ทำบัตรลดแรกแจกแถมให้กับพรรคการเมืองสีส้ม ซึ่งก็เป็นประเด็นว่าการที่ห้างร้าน สถานประกอบการ ทำบัตรลดให้กับพรรคการเมืองเพื่อจูงใจให้ไปเลือกตั้งพรรคดังกล่าว จะเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 73 (1) และ (5) ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 หรือไม่ เพราะกฎหมายกำหนดไว้ว่าห้ามบุคคลใด หรือผู้สมัคร ดำเนินการให้ จัดทำให้ หรือผลประโยชน์อื่นใดที่คำนวณเป็นเงินได้ ให้แก่บุคคลใด หรือใน (5) ห้ามมิให้บุคคลใดจูงใจให้บุคคลอื่นมาเลือกผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด การทำบัตรส่วนลดให้กับผู้ที่ซื้อขายสินค้า และบริการ อาจจะเข้าข่ายในความผิดนี้หรือไม่



ประเด็นที่ 2 พบว่ามีสถานบริการ กิจการขายของพิมพ์ข้อความลงในใบเสร็จรับเงินของร้านว่า วันที่ 14 พ.ค. ขอให้ช่วยไปกาเบอร์นี้ พรรคสีส้ม การกระทำดังกล่าวเป็นการช่วยหาเสียงโดยชัดเจน แต่การช่วยหาเสียงเป็นสิทธิที่ทำได้ แต่ในกรณีดังกล่าวต้องถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งด้วย ซึ่งเป็นหน้าที่ของพรรคการเมืองที่บุคคล หรือห้างร้านดังกล่าวต้องไปคิดคำนวณค่าใช้จ่าย เป็นค่าใช้จ่ายการเลือกตั้ง โดยหลังการเลือกตั้งในวันที่ 14 พ.ค. ไปแล้ว ต้องมารายงานกกต. ภายใน 90 วัน หากไม่ดำเนินการ หรือพรรคการเมืองดังกล่าวไม่นำหลักฐานมาชี้แจง หัวหน้าพรรคการเมืองการดังกล่าวก็จะมีความผิดตาม พ.ร.ป การเลือกตั้ง ซึ่งมีโทษปรับ 20,000-100,00 บาท จำคุก 1-10 ปี และอาจจะต้องเว้นวรรคทางการเมืองอย่างน้อย 20 ปี ซึ่งเป็นหน้าที่ของกกต. ที่ต้องไปสืบข้อเท็จจริง



เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่าจะมีความผิดและจะมีโทษถึงขั้นไหน นายศรีสุวรรณ กล่าวว่า เป็นโทษอาญาของกฎหมายเลือกตั้งปี 61 โดยทั่วไป กำหนดไว้ว่าถ้ามีการฝ่าฝืน ผู้ใดที่ฝ่าฝืนก็อาจมีความผิด มีโทษจำคุก 1-10 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท และเว้นวรรคทางการเมืองไม่เกิน 10 ปี แต่ถ้าพรรคการเมืองปฏิเสธว่าไม่รู้เห็นในกรณีดังกล่าว ก็เป็นเรื่องของผู้ที่จัดทำมาขึ้นมาต้องรับผิดชอบ





คุณอาจสนใจ

Related News