เลือกตั้งและการเมือง

เลขาฯ กกต. แจงบัตรเลือกตั้งเขต มีแต่ตัวเลข เพื่อประหยัดงบประมาณ ไม่ต้องแยกพิมพ์ 400 เขต

โดย kanyapak_w

1 เม.ย. 2566

580 views

เลขา กกต. แจงรูปแบบบัตรเลือกตั้งเขต มีแต่ตัวเลข เพื่อประหยัดงบประมาณ ไม่ต้องแยกพิมพ์ 400 เขต



กรณีมีการวิพากษ์วิจารณ์ ถึงรูปแบบบัตรเลือกตั้งที่ใช้ในการเลือกตั้ง ส.ส. ในวันที่ 14 พ.ค. โดยเฉพาะบัตรแบบแบ่งเขตที่มีความแตกต่างกับบัตรแบบบัญชีรายชื่อ เนื่องจากบัตรแบบแบ่งเขตเป็นบัตรที่ระบุเพียง หมายเลขของผู้สมัครไม่มีโลโก้และชื่อของพรรค เป็นบัตรเลือกตั้งที่ถูกเรียกว่าบัตรโหลอย่างในอดีต ขณะที่บัตรแบบบัญชีรายชื่อกลับมีชื่อพรรค โลโก้พรรค และหมายเลขของพรรคครบถ้วน ทำให้ถูกตั้งข้อสังเกตว่า บัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขตที่มีเพียงหมายเลขผู้สมัครอาจส่งผล กระทบต่อประชาชนที่อ่าน หมายเลขไม่ออกหรือไม่ และ ไม่สามารถเลือกจากโลโก้พรรคได้



ล่าสุด นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต. โพสต์ Facebookชี้แจง ว่า



การเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วไป พ.ศ. 2566 ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ กล่าวคือ แบบบัญชีรายชื่อ และแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง แม้จะเป็นพรรคเดียวกันแต่เป็นคนละหมายเลข(เบอร์ ) ทั้งนี้ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กกต.เป็นเพียงผู้กำหนดรูปแบบบัตรให้เป็นไปตามกฎหมายเท่านั้น



รูปแบบบัตรเลือกตั้งนับแต่มีการเลือกตั้งในประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบัน มีรูปแบบบัตรที่ใช้เลือกตั้ง อยู่ 3 ประเภท คือ



1. บัตรมาตราฐานแบบแบ่งเขตเลือกตั้งรูปแบบบัตรมาตราฐานแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง คือ บัตรที่มีเฉพาะหมายเลข(เบอร์)ผู้สมัคร หรือที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่าบัตรโหล จะไม่มีรายชื่อผู้สมัครแต่อย่างใด "ทุกการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในประเทศไทยใช้บัตรเลือกตั้งแบบนี้มาโดยตลอด" ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งที่มีเฉพาะแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ก่อนรัฐธรรมนูญ ปี 2540 หรือมีการเลือกตั้งแบบบัญชีราบชื่อ หลังปี 2540 ก็ตาม นั้นหมายความว่า ไม่เคยมีชื่อผู้สมัครในบัตรเลือกตั้งแต่อย่างใด

2. บัตรมาตราฐานแบบบัญชีรายชื่อรูปแบบบัตรมาตราฐานแบบบัญชีรายชื่อ คือ บัตรที่มีหมายเลขผู้สมัคร(เบอร์) มีสัญญลักษณ์หรือเครื่องหมายของพรรคการเมือง และมีชื่อพรรคในบัตรเลือกตั้ง เริ่มใช้บัตรเลือกตั้งรูปแบบนี้นับแต่รัฐธรรมนูญ ปี 2540 เป็นต้นมา ทุกการเลือกตั้งก็จะใช้บัตรเลือกตั้งนี้มาตลอด

3. บัตรเลือกตั้งแบบเฉพาะ บัตรเลือกตั้งแบบเฉพาะ เกิดขึ้นใน ปี 2562 เพื่อรองรับระบบเลือกตั้งแบบคะแนนไม่ตกน้ำตามหลักการของรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดให้ทุกคะแนนมีความหมาย บัตรเลือกตั้งรูปแบบนี้ จึงผสมกันระหว่างบัตรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และแบบบัญชีรายชื่อ ใว้ด้วยกันในใบเดียว และมี 350 แบบ ตามจำนวนเขตเลือกตั้ง ในบัตรจะประกอบด้วยข้อมูล 1)หมายเลขผู้สมัคร(เบอร์)ของผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง(แบบแบ่งเขต) 2)สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายพรรคการเมือง(แบบบัญชีรายชื่อ) 3)ชื่อพรรคการเมือง(แบบบัญชีรายชื่อ) แต่ก็ไม่มีชื่อของผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในบัตรแต่อย่างใด



**สำหรับบัตรเลือกตั้งปี 2566



- แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ใช้บัตรมาตรฐานแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเหมือนการเลือกตั้งทุกครั้งที่ผ่านมา เว้น ปี 2562 ที่ใช้บัตรเฉพาะตามรัฐธรรมนูญ

- แบบบัญชีรายชื่อ ใช้บัตรมาตรฐานแบบบัญชีรายชื่อเหมือนการเลือกตั้งทุกครั้งที่ผ่านมา เว้น ปี 2562 ที่ใช้บัตรเฉพาะตามรัฐธรรมนูญ


ข้อดีของบัตรมาตราฐานแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง

- มีความชัดเจนแตกต่างจากบัตรแบบบัญชีรายชื่อ กล่าวคือ นอกจากสีจะต่างกันแล้ว องค์ประกอบภายในบัตรก็จะต่างกัน ทำให้ประชนสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน ไม่สับสน เพราะบัตรประเภทหนึ่งมีเพียงหมายเลข ไม่มีตัวหนังสือ และสัญลักษณ์ใด ต่างจากบัตรอีกประเภทหนึ่งมีครบทั้ง 3 อย่าง เป็นการป้องกันบัตรเสียอันเกิดจากความสับสนลักษณ์นี้อีกทางหนึ่งด้วย

- ประหยัดงบประมาณเป็นจำนวนมาก เพราะบัตรมาตรฐานพิมพ์พร้อมกันในครั้งเดียว แต่บัตรแบบเฉพาะเขต ต้องสั่งพิมพ์ 400 ครั้ง ตามจำนวนเขต เมื่อปริมาณพิมพ์ต่อครั้งมีจำนวนน้อย จะทำให้ค่าพิพ์ต่อครั้งใช้เงินจำนวนมากขึ้น

- สะดวกในการบริหารจัดการ นำเวลาที่ต้องมาทำงานธุรการ อาทิ การส่งให้ตรงกับเขต กรณีเป็นแบบเฉพาะ ถ้าส่งผิดเขตจะใช้แทนกันไม่ได้ การพิมพ์บัตรสำรองในแต่ละเขต ก็ต้องมีสำรองครบตามจำนวนเขต เพราะใช้แทนกันไม่ได้ เป็นต้น ทำให้สามารถนำเวลาที่เหลือจากงานธุรการไปทำงานอื่นให้เกิดประโยชน์คุ้มค่ามากกว่า




คุณอาจสนใจ

Related News