เลือกตั้งและการเมือง

อ.เจษฎ์ มองถ้าบิ๊กตู่หลุดเก้าอี้ อนุทินเหมาะนั่งแคนดิเดตนายก

โดย taweelap_b

18 ก.ย. 2565

192 views

เมื่อวันที่ 18 ก.ย. 65 รองศาสตราจารย์เจษฎ์ โทณะวณิก นักกฎหมาย อดีตที่ปรึกษาคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึงความคาดหวังต่อการเข้าสู่ระบบพรรคการเมืองของคนรุ่นใหม่ ว่า ตนแค่ต้องการพูดถึงกฎเกณฑ์และกติกา หวังว่าหลายภาคส่วนในสังคม ไม่ว่าจะเป็น นักการเมือง หรือทหาร โดยเฉพาะทหารชั้นผู้ใหญ่ รวมถึงประชาชน จะตระหนักถึงหน้าที่ของตนเองในแต่ละส่วน ถ้าทหารชั้นผู้ใหญ่ตระหนักถึงหน้าที่ของตัวเอง และบ้านเมืองเกิดสถานการณ์ไม่สงบเรียบร้อย เกินการชุมนุมและออกนอกกรอบ ทำให้เกิดปัญหาอีกมาก ท่านเข้ามารักษาความสงบเรียบร้อยได้ แต่ไม่ใช่มาบริหารราชการแผ่นดิน ไม่เช่นนั้นจะเป็นการรบกับประชาชน


รองศาสตราจารย์เจษฎ์ กล่าวย้ำว่า ถ้าทหารคำนึงว่ากติกาคืออะไร ประชาชนก็คงไม่ออกมาชุมนุม บรรดาทหารก็รู้ว่า ปัญหาคือนักการเมือง ทำไมไม่ไปจัดการนักการเมือง ส่วนนักการเมืองก็ย่อมรู้อยู่ว่าประชาชนที่ลุกขึ้นมาต้องการอะไร ถ้าทุกคนรู้หน้าที่ ท้ายที่สุด ทุกฝ่ายตะแก้ปัญหาที่ใหญ่สุดในบ้านเมือง


“ทหารปฏิวัติทีไร ก็บอกว่านักการเมืองทุจริตนักการเมือง ประชาชนไล่ทหารออกไป ก็หาว่าทหารทุจริต แปลว่าประพฤติผิด ทุจริตมิชอบ เป็นปัญหาสำคัญของบ้านเมืองเรา ช่วยกันจับช่วยกันดู โดยเฉพาะคูหาเลือกตั้ง ใครเป็นคนทุจริต ใครเป็นคนโกงเลือกตั้ง ช่วยกันดูครับ” รองศาสตราจารย์เจษฎ์ กล่าว


เมื่อถามว่าหลังจากวันที่ 30 ก.ย. 65 ผลการตัดสินปม 8 ปี นายกฯ ประยุทธ์ การเมืองจะออกมาในรูปแบบใด รองศาสตราจารย์เจษฎ์ ระบุว่า ปัญหาไม่จบถ้าสมมติพล.อ.ประยุทธ์ เข้ามารับตำแหน่งในปี 57 และต้องออกไปวันที่ 24 ส.ค. ที่ผ่านมา แนวโน้มสูงมากที่ ส.ว. รวมกับเสียงข้างมากอาจจะไม่เลือก นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ซึ่งหากเลือก นายอนุทิน อาจจะดูไม่เหมาะสม แต่เหมาะในด้านของผู้ที่จะเป็นแคนดิเดตนายกฯ ได้ เพราะเป็น ส.ส. มีพรรคการเมือง และมาจากการเลือกตั้ง แต่หากไม่เลือกนายอนุทิน แต่ไปเลือกนายกฯ คนนอก เป็น พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ปัญหาไม่จบ เพราะยังอยู่ในอำนาจ 3 ป. เป็นการสืบทอดอำนาจ



“ท้ายที่สุด อำนาจอยู่ในรัฐสภา รัฐสภามาจากการแต่งตั้งและอีกส่วนเลือกตั้งมา แต่เป็นตัวแทนของประชาชนจริงหรือไม่ หรือเป็นตัวแทนของกลุ่มผู้มีผลประโยชน์ทางการเมือง เรื่องนี้ผมจึงมองว่าไม่จบ” รองศาสตราจารย์เจษฎ์ กล่าวย้ำ


สำหรับปลายทางของ 8 ปี นายกฯ ประยุทธ์ จะมีปลายทางอย่างไรนั้น ปลายทางถ้าพอจะเป็นได้ ประชาชนต้องพร้อมใจกันเรียกร้องการปฏิรูปประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขระบบรัฐสภาด้วยการยื่นร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่การยกร่างท่านสามารถเลือกมาในลักษณะของ สสร. ต้องหาผู้มาล่างและกำหนดโดยตัวแทนที่เลือกมาจากคนทั้งประเทศต้องถามประชาชนว่าต้องการแบบใด และต้องใช้เวลาเพื่อที่จะสอบถามว่าสิ่งที่เขียนมาประชาชนพอใจแล้วหรือยัง เมื่อเราได้เราจะธรรมนูญมาก็นำเป็นประชามติ แต่จะทำอย่างไรให้การเลือกตั้งอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน นี่ก็คือความหวัง


การที่ฝ่ายค้านเสนอญัตติให้ทำประชามติ ตั้ง สสร. ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่สภาล่ม ถือเป็นการแข็งขืนของ ส.ส. หรือไม่ รองศาสตราจารย์เจษฎ์ ย้ำว่า ใช่ นี่คือการแข็งขืน พลังของประชาชนในตอนนี้ ไม่สามารถที่จะมุ่งไปในทิศทางเป้าหมาย แตกออกไปแบบไร้ประโยชน์ ไม่เข้มแข็งที่จะกดดันสภา ต้องใช้พลังให้ถูกให้เป็นทิศทางเดียวกัน ท้ายที่สุดสภาก็ต้องยอม เพราะถ้าไม่ยอมก็จะเกิดเรื่อง ต้องขอให้คิดกันเยอะๆ พิจารณาให้มาก ตนเชื่อว่า พลังของประชาชนสามารถที่จะปรับเปลี่ยนและมีอำนาจมากกว่าพลัง ส.ส.

คุณอาจสนใจ

Related News